[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศโครเอเชีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 251: บรรทัด 251:


=== ภาษา ===
=== ภาษา ===
จิ๋ม
{{บทความหลัก|ภาษาในโครเอเชีย}}


=== กีฬา ===
=== กีฬา ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:32, 14 กันยายน 2562

สาธารณรัฐโครเอเชียheiriri

Republika Hrvatska (โครเอเชีย)
คำขวัญไม่มี
ที่ตั้งของโครเอเชีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซาเกร็บ
ภาษาราชการภาษาโครเอเชีย1
การปกครองสาธารณรัฐ
โคลินดา กราเบอร์-คีตาโรวิก[1]
อันเดรจ เพลนโควิค
ได้รับเอกราช
25 มิถุนายน พ.ศ. 2534
พื้นที่
• รวม
56,542 ตารางกิโลเมตร (21,831 ตารางไมล์) (124)
0.01
ประชากร
• ก.ค. 2560 ประมาณ
4,154,200 (117)
• สำมะโนประชากร 2544
4,437,460
83 ต่อตารางกิโลเมตร (215.0 ต่อตารางไมล์) (116)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2562 (ประมาณ)
• รวม
$ 113 พันล้าน (84th)
$ 27,664 (56th)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2562 (ประมาณ)
• รวม
$ 61.586 พันล้าน (81st)
$ 15,137 (57th)
จีนี (2560)29.6[2]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2560)เพิ่มขึ้น 0.831
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 46th
สกุลเงินคูนา  (HRK)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์385
โดเมนบนสุด.hr

โครเอเชีย (อังกฤษ: Croatia; โครเอเชีย: Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (อังกฤษ: Republic of Croatia; โครเอเชีย: Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต

ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28

ภูมิศาสตร์

โครเอเชียตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคยุโรปกลาง ภูมิภาคยุโรปใต้ และภูมิภาคยุโรปตะวันออก รูปร่างของประเทศคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยวหรือเกือกม้า ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ได้แก่ สโลวีเนีย ฮังการี เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และอิตาลี (อีกฟากหนึ่งของทะเลเอเดรียติก) โดยแผ่นดินใหญ่ของโครเอเชียถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนไม่ติดต่อกันโดยชายฝั่งทะเลสั้น ๆ ของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รอบ ๆ เมืองเนอุม (Neum)

ภูมิประเทศของโครเอเชียมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • ที่ราบ ทะเลสาบ และเนินเขา ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ภูมิภาคเซนทรัลโครเอเชียและสลาโวเนีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบพันโนเนีย)
  • ภูเขาที่มีป่าไม้หนาแน่นในภูมิภาคลีคาและกอร์สกีคอตาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดินาริกแอลป์
  • ชายฝั่งทะเลเอเดรียติกที่เต็มไปด้วยโขดหิน (ภูมิภาคอิสเตรีย นอร์เทิร์นซีโคสต์ และแดลเมเชีย)

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

พื้นที่ที่รู้จักกันในปัจจุบันในนามโครเอเชียได้ดำรงอยู่ตลอดตั้งแต่ช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ฟอสซิลของมนุษย์ยุคหินในยุคพาเลโอลิธิคถูกขุดค้นพบในที่ตั้งเมืองที่โด่งดังและเป็นที่ถูกนำเสนอมากที่สุดอยู่ที่เมืองคราปินาในทางตอนเหนือของประเทศโครเอเชีย เศษซากของวัฒนธรรมนีโอลิธิคและคัลโคลิธิคมากมายถูกค้นพบในทุกบริเวณของประเทศ สัดส่วนที่ใหญ่สุดของที่เมืองคราปินาคือหุบเขาแม่น้ำของทางตอนเหนือของประเทศโครเอเชีย และวัฒนธรรมสำคัญที่ถูกค้นพบในบริเวณนั้น ได้แก่ วัฒนธรรมสตาร์เชโว วูเชดอล และบาเดน ต่อมาช่วงยุคเหล็กได้เหลือร่องรอยวัฒนธรรมฮัลชตัตต์อิลลิเรียและวัฒนธรรมเซลติกลาเทน

ยุคกรีก และ โรมัน

หลังจากนั้น ชาวอิลลิเรียและชาวลิบูร์เนียได้ตั้งรกรากในบริเวณนี้ ในขณะที่อาณานิคมกรีกแห่งแรกถูกก่อตั้งขึ้นในเกาะฮวาร์ เกาะคอร์ชูลา และเกาะวิส  ในคริสต์ศักราชที่ 9 อาณาเขตของประเทศโครเอเชียในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน จักรพรรดิดีโอเคลเตียนมีปราสาทใหญ่ที่สร้างขึ้นในเมืองสปลิต ซึ่งพระองค์ได้ถอนตัวหลังจากสละราชสมบัติในคริสต์ศักราชที่ 309

ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5  จักรพรรดิจูเลียส เนโปสปกครองดินแดนเล็กๆ จากปราสาท หลังจากอพยพจากประเทศอิตาลี เนื่องจากการถูกเนรเทศในปี 475 ภายหลังได้ถูกลอบปลงพระชนม์ในปีค.ศ. 480 ในช่วงยุคนี้ได้จบลงที่ชาวอวาร์และชาวโครแอตได้บุกรุกในครึ่งปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และการล่มสลายของเมืองโรมัน ชาวโรมันที่รอดชีวิตได้หนีไปยังในที่ที่เหมาะสม อย่างในชายฝั่ง เกาะ และภูเขา เมืองดูบรอฟนิกถูกตั้งขึ้นโดยผู้รอดชีวิตจากเอปิดาอูรุม (Epidaurum)

แหล่งกำเนิดชนกลุ่มชาวโครแอตยังไม่แน่นอน และมีหลากหลายทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ชนชาติสลาฟและอิเรเนียนเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงบ่อยที่สุด ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางคือทฤษฎีชาวสลาฟ เสนอการอพยพของชาวไวต์โครแอตจากอาณาเขตของไวต์โครเอเชียระหว่างในยุคการอพยพ โดยทางตรงกันข้าม ทฤษฎีชาวอิเรเนียน เสนอที่มาของชาวอิเรเนียน โดยมีพื้นฐานจากแผ่นจารึกทานาย ซึ่งมีข้อความที่จารึกชื่อเป็นภาษากรีก Χορούαθ[ος], Χοροάθος, and Χορόαθος (Khoroúathos, Khoroáthos, and Khoróathos) และตีความได้เป็นชื่อของชาวโครเอเชีย

ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก และ ออสเตรีย-ฮังการี (ค.ศ. 1538–1918)

หลังจากชัยชนะที่เด็ดขาดของออตโตมัน โครเอเชียได้แยกเป็นอาณาเขตพลเมืองและอาณาเขตทางทหาร ซึ่งแบ่งแยกในปีค.ศ. 1538 อาณาเขตทางทหารกลายเป็นที่รู้จักกันใน "แนวหน้ากองทหารโครเอเชีย" (Croatian Military Frontier) และอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิโดยตรง ออตโตมันได้รุดหน้าไปในอาณาเขตของโครเอเชียต่อไปจนถึงปีค.ศ. 1593 ศึกของซีซีค เป็นการพ่ายแพ้ของชาวออตโตมันครั้งแรก และการรักษาเสถียรภาพของเขตแดน ในระหว่างสงครามเติร์กครั้งยิ่งใหญ่ (ปีค.ศ. 1683-1698) เขตสลาโวเนียได้ถูกยึดคืนมา แต่ทางตะวันตกของบอสเนีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชียมาตลอด ก่อนที่ออตโตมันจะพิชิตได้ ยังคงอยู่นอกการปกครองของโครเอเชีย เขตแดนในปัจจุบันระหว่างสองประเทศนี้เป็นเศษซากของผลการพิชิตนี้ ดัลมาเชีย ชายแดนทางตอนใต้ของประเทศถูกนิยามใกล้เคียงกัน โดยสงครามออตโตมัน-เวเนเชียนครั้งที่ห้าและครั้งที่เจ็ด

สงครามออตโตมันกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางประชาการอย่างมาก ชาวโครแอตอพยพไปยังออสเตรีย และรัฐเบอร์เกนแลนด์ในปัจจุบัน ซึ่งชาวโครแอตเป็นลูกหลานโดยตรงของผู้ที่ไปอาศัยเหล่านั้น เพื่อแทนที่การอพยพของประชากร ราชวงศ์ฮับส์บูร์กโน้มน้าวประชาชนชาวคริสเตียนของบอสเนียและเซอร์เบียเข้าร่วมรับราชการทางทหารในแนวหน้าทางทหารของโครเอเชีย การอพยพของชาวเซิร์บไปยังแถบนี้ถึงขั้นขีดสุดในระหว่างช่วงการอพยพของชาวเซิร์บครั้งยิ่งใหญ่ในปีค.ศ. 1690 และ ปีค.ศ. 1737-1739

รัฐสภาของโครเอเชียสนับสนุนกฎการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 และเซ็นสัญญากฎการสืบราชบังลังก์ของพวกเขาในปีค.ศ. 1712 ต่อมาจักรพรรดิปฏิญาณที่จะพิจารณาสิทธิพิเศษและสิทธิทางการเมืองของราชอาณาจักรโครเอเชีย และพระราชินีมาเรีย เทเรซา สร้างคุณูปการที่สำคัญในเรื่องของโครเอเชีย

ระหว่างในปีค.ศ. 1797 และ ปีค.ศ. 1809 จักรวรรดิฝรั่งเศสแห่งแรกค่อยๆ ยึดครองทางตะวันออกของชายฝั่งเอเดรียติกทั้งหมด และส่วนใหญ่ของพื้นที่ชนบท สิ้นสุดที่บริเวณสาธารณรัฐเวเนเชียนและสาธารณรัฐรากูซัน และก่อตั้งมลรัฐอิลลิเรีย เพื่อตอบสนองราชนาวีที่เริ่มการปิดล้อมทะเลเอเดรียติก นำไปสู่ศึกวิส (Battle of Vis) ในปี 1811 มลรัฐอิลลิเรียถูกยึดครองโดยชาวออสเตรียในปี 1813 และถูกรวมโดยจักรวรรดิออสเตรีย ตามด้วยรัฐสภาของเวียนนาในปี 1815 การถูกรวมนี้นำไปสู่การก่อตั้งอาณาจักรดัลมาเชียและการบูรณะบบบริเวณชายฝั่งของโครเอเชียให้แก่ราชอาณาจักรโครเอเชีย ในตอนนี้ทั้งสองได้อยู่ภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน ในช่วงปี 1830 และช่วงปี 1840 มีลัทธิรักชาติแบบโรแมนติกกระตุ้นการฟื้นฟูโครเอเชียระดับชาติ การรณรงค์ทางการเมืองและทางวัฒนธรรมสนับสนุนการเป็นหนึ่งเดียวของชาวสลาฟใต้ในจักรวรรดิ จุดสนใจพื้นฐานของทางจักรวรรดิคือ การกำหนดภาษามาตรฐาน รวมไปถึงการส่งเสริมวรรณกรรมโครเอเชียและวัฒนธรรมโครเอเชีย ในระหว่างการปฏิวัติฮังการี ในปีค.ศ. 1848 โครเอเชียได้อยู่ฝ่ายออสเตรีย ยอซิป เยลาชิช ช่วยในการต่อสู้รบกับกองกำลังฮังการีในปีค.ศ. 1849 และนำไปสู่ยุคนโยบายการทำให้เป็นเยอรมัน (Germanization) ในเวลาต่อไปมา

ในปีค.ศ. 1860 ความล้มเหลวของนโยบายเริ่มชัดเจนขึ้น นำไปสู่การประนีประนอมของออสโตร-ฮังการีของปีค.ศ. 1867 และการสร้างการรวมตัวระหว่างบุคคลระหว่างจุดสูงสุดของจักรวรรดิออสเตรียและราชอาณาจักรฮังการี สนธิสัญญาทิ้งสถานะของโครเอเชียให้กับฮังการี และสถานะเปลี่ยนโดยข้อยุติโครเอเชีย-ฮังการี ในปีค.ศ. 1868 เมื่อราชอาณาจักรโครเอเชียและสลาโวเนียได้รวมเป็นหนึ่งเดียว ราชอาณาจักรดัลมาเชียยังคงเป็นอยู่ในการปกครองของออสเตรียทางพฤตินัย ขณะที่รีเยกา (Rijeka) ได้รับสถานะเมืองแยกตัว (Corpus separatum) ในปีค.ศ. 1779

หลังจากออสเตรีย-ฮังการียึดครองบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จากสนธิสัญญาเบอร์ลิน 1878 (1878 Trety of Berlin) แนวหน้าทางทหารโครเอเชียถูกโค่นล้ม และอาณาเขตได้กลับคืนเป็นของโครเอเชียในปีค.ศ. 1881 ตามบทบัญญัติข้อยุติของโครเอเชีย-ฮังการี ความพยายามในการรื้อฟื้นออสเตรีย-ฮังการีที่นำมาซึ่งไปสู่การรวมโครเอเชียในฐานะหน่วยสหพันธรัฐ หยุดโดยการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1

ยูโกลสลาเวีย (ค.ศ. 1918–1991)

วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1918 รัฐสภาโครเอเชีย (Sabor) ประกาศเอกราชและตัดสินใจที่จะเข้าร่วมรัฐสโลวีน โครแอตและเซิร์บที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ ซึ่งภายหลังได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรเซอร์เบียในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1918 จึงได้ชื่อใหม่ว่า ราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีน   ทางสภาโครเอเชียไม่เคยยื่นข้อเสนอในการรวมกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกร รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1921 กำหนดให้ประเทศเป็นรัฐเดี่ยว แล้วยกเลิกระบบสภาของโครเอเชียและเขตการปกครองทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้การปกครองตนเองของโครเอเชียได้สิ้นสุดไป

รัฐธรรมนูญใหม่ขัดแย้งกับพรรคการเมืองแห่งชาติที่มีการสนับสนุนโดยกว้าง คือพรรค Croatian Peasant Party (HSS) นำโดย สเตปาน ราดิช

สถานการณ์ทางการเมืองย่ำแย่ลงเมื่อราดิชถูกลอบสังหารในสมัชชาแห่งชาติในปีค.ศ. 1928 นำไปสู่ยุคเผด็จการของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปีค.ศ. 1929   ต่อมายุคเผด็จการได้สิ้นสุดลงอย่างทางการในปีค.ศ. 1931 เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กำหนดรัฐธรรมนูญที่รวมศูนย์กลางไว้แห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศยูโกสลาเวีย     พรรค Croatian Peasant (HSS) สนับสนุนการรวมสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย ทำให้เป็นผลของข้อตกลง Cvetković–Maček ของเดือนสิงหาคม ปี 1939 และการก่อตั้งเขตการปกครองตนเองบาโนวีนา (Banovina) ในโครเอเชีย    รัฐบาลยูโกสลาเวียยังคงควบคุมการป้องกันตัวเอง สวัสดิการภายใน การค้า และการขนส่ง ขณะที่ปัญหาอื่นๆ  เหลือให้ทางสภาโครเอเชียจัดการ

ในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1941 ยูโกสลาเวียอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศเยอรมนีและประเทศอิตาลี  ตามด้วยการบุกรุกอาณาเขตของประเทศโครเอเชีย ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และพื้นที่ Syrmia ถูกผนวกรวมเป็นรัฐเอกราชโครเอเชีย (Independent State of Croatia – NDH) ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี  พื้นที่ฝั่งดัลมาเชียถูกผนวกรวมกับประเทศอิตาลี  และพื้นที่บารันยา (Baranja) และเมจิมูเรีย (Međimurje) ในทางตอนเหนือของโครเอเชีย ได้ถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศฮังการี   รัฐเอกราชโครเอเชียปกครองโดย อันเต ปาเลวิช (Ante Pavelić) และกลุ่มคลั่งชาติอุสตาเช่ (Ustaše)

ร่วมสมัย

การเมืองการปกครอง

บริหาร

นิติบัญญัติ

ตุลาการ

การแบ่งเขตการปกครอง

โครเอเชียแบ่งออกเป็น 20 เทศมณฑล (counties - županija) กับ 1 เขตเมืองหลวง* จัดกลุ่มรายชื่อโดยแบ่งตามภูมิภาคทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์: แม่แบบ:Croatian counties

เทศมณฑล Seat พื้นที่ (km²) ประชากร
2011 Census
ภูมิภาคเซนทรัลโครเอเชีย (Central Croatia)
City of Zagreb ซาเกร็บ 641 792,875
เทศมณฑลซาเกร็บ ซาเกร็บ 3,078 317,642
บีเยลอวาร์-บีลอกอรา บีลอกอรา 2,652 119,743
คาร์โลวัตส์ คาร์โลวัตส์ 3,622 128,749
วาราชดีน วาราชดีน 1,261 176,046
คอพรีฟนีตซา-ครีเชฟต์ซี คอพรีฟนีตซา 1,746 115,582
คราพีนา-ซากอเรีย คราพีนา 1,224 133,064
ซีซาค-มอสลาวีนา ซีซาค 4,463 172,977
เมดจีมูเรีย Čakovec 730 114,414
ภูมิภาคอิสเตรีย นอร์เทิร์นซีโคสต์ และ เมาน์เทนัสโครเอเชีย
ลีคา-เซนย์ Gospić 5,350 51,022
พรีมอเรีย-กอร์สกีคอตาร์ รีเยกา 3,582 296,123
อิสเตรีย Pazin 2,820 208,440
ภูมิภาคสลาโวเนีย (Slavonia)
วีรอวีตีตซา-พอดราวีนา พอดราวีนา 2,068 84,586
พอเชกา-สลาโวเนีย พอเชกา 1,845 78,031
บรอด-พอซาวีนา Slavonski Brod 2,043 158,559
โอซีเยก-บารานยา โอซีเยก 4,152 304,899
ซีร์เมีย วูคอวาร์ 2,448 180,117
ภูมิภาคดัลเมเชีย (Dalmatia)
ซาดาร์ ซาดาร์ 3,642 170,398
ชีเบนิค-คนีน ชิเบนีก 2,939 109,320
สปลิต-ดัลเมเชีย สปลิต 4,534 455,242
ดูบรอฟนิก-เนเรตวา ดูบรอฟนิก 1,783 122,783

นโยบายต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย

ความสัมพันธ์โครเอเชีย – ไทย
Map indicating location of โครเอเชีย and ไทย

โครเอเชีย

ไทย
  • ด้านการทูต
  • การค้าและเศรษฐกิจ
  • การท่องเที่ยว

กองทัพ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

  • สำหรับนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้แก่ การปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ โดยได้ประกาศนโยบายที่มุ่งสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค รักษาเสถียรภาพของค่าเงินสกุลคูน่า (Kuna) คงระดับอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ใช้มาตรการดึงดูดคู่ค้าและนักลงทุนมากขึ้น รวมถึงการเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคม และ โทรคมนาคม

การคมนาคม

  • รัฐบาลโครเอเชียยังมีโครงการสนับสนุนการลงทุนด้านท่าเรือ ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว เนื่องจากเห็นว่า การลงทุนด้านนี้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโครเอเชีย ช่วยให้เกิดการขนส่ง การก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และธุรกิจบริการเกี่ยวกับบริษัทขนส่งสินค้าต่างๆ โดยรัฐบาลได้สนับสนุนเงินกู้จำนวนหนึ่งเพื่อสร้างถนนเชื่อมโยงกับเส้นทางของฮังการี ปรับปรุงทางรถไฟและสาธารณูปโภคอื่นๆ ทั้งนี้ โครเอเชียมีชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า 5,000 กิโลเมตร และเต็มไปด้วยเกาะแก่งต่างๆ ถึง 1,185 เกาะ จึงมีความจำเป็นต้องจัดการคมนาคมขนส่งทางน้ำเพื่อเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งดูแลชายฝั่งทะเลซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และการก่อสร้างถนนหนทางภาคพื้นดินภายในประเทศเพื่อรองรับการคมนาคมทางน้ำ โครเอเชียมีท่าเรือ Rijeka ใช้ขนถ่ายและกระจายสินค้าได้ มีโครงการปรับปรุงเส้นทางขนส่ง โดยเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2549 ซึ่งจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกที่รวดเร็วที่สุดระหว่างเอเชียและยุโรปกลาง

โทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

การศึกษา

สาธารณสุข

สวัสดิการสังคม

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

4.5 ล้านคน ประกอบด้วยชาวโครอัท (89.6%) ชาวเซิร์บ (4.54%) และอื่นๆ ได้แก่ ชาวบอสเนีย ฮังกาเรียน สโลวีน เช็ก (5.9%)

ศาสนา

Religion in Croatia[3]
religion percent
โรมันคาทอลิก
  
86.3%
ออร์ทอดอกซ์
  
6.7%
Atheism or Agnosticism
  
4.4%
โปรเตสแตนต์
  
1.5%
อิสลาม
  
0.3%
อื่นๆ และ ไม่นับถือศาสนา
  
0.4%

ภาษา

จิ๋ม

กีฬา

ฟุตบอล

วอลเลย์บอล

วัฒนธรรม

สถาปัตยกรรม

วรรณกรรม

อาหาร

อาหารพื้นเมืองของชาวโครแอตไม่ต่างจากอาหารแบบยุโรปโดยทั่วไป ในกรุงชาเกร็บมีร้านอาหารให้เลือกมากมาย ที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือร้านกาแฟในสไตล์ Side-Walk Cafe ที่เน้นการเสพบรรยากาศดี ๆ เคล้ากาแฟรสละมุนลิ้น ส่วนเมนูอร่อยที่ควรชิมก็คือไส้กรอก Spek และ Kulen ซึ่งเป็นอาหารเฉพาะถิ่น ในขณะที่ขนมหวานขึ้นชื่อของโครเอเชียก็คือคุกกี้รูปหัวใจเคลือบน้ำตาลสีแดงที่มีรสชาติหวานมันลงตัว

ดนตรี

สื่อสารมวลชน

วันหยุด

อ้างอิง

  1. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU1UQTFOekEyTVE9PQ==&subcatid=
  2. "Croatia". World Bank.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Census2011-religion

แหล่งข้อมูลอื่น