ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม"
ล Tikmok ย้ายหน้า BBIBP-CorV ไปยัง วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม: เปลี่ยนชื่อตามวิกิอังกฤษ ใช้การสะกดชื่อบริษัทตามที่คนไทยคุ้นเคย |
เติมข้อมูลเร็ว ๆ นี้ของไทย |
||
บรรทัด 31: | บรรทัด 31: | ||
เป็น[[เทคโนโลยี]]ที่ประยุกต์ใช้อย่างสำเร็จในในวัคซีนทั่ว{{nbsp}}ๆ ไปเช่น [[วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า]]<ref name="bbc._Covi"/> |
เป็น[[เทคโนโลยี]]ที่ประยุกต์ใช้อย่างสำเร็จในในวัคซีนทั่ว{{nbsp}}ๆ ไปเช่น [[วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า]]<ref name="bbc._Covi"/> |
||
แต่การมีข้อมูลที่ตีพิมพ์น้อยอาจจำกัดการแจกจำหน่ายวัคซีนนี้ไปยังประเทศต่าง{{nbsp}}ๆ<ref name="natu_Arab"/> |
แต่การมีข้อมูลที่ตีพิมพ์น้อยอาจจำกัดการแจกจำหน่ายวัคซีนนี้ไปยังประเทศต่าง{{nbsp}}ๆ<ref name="natu_Arab"/> |
||
ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2021 [[คณะกรรมการอาหารและยา]]ไทย (อย.) รายงานว่าได้รับเอกสารขอขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว วัคซีนนี้จึงอยู่ในระหว่างการประเมินขึ้นทะเบียน<ref> |
|||
{{cite news | title = อย. เผยความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิดในไทยล่าสุด "ซิโนฟาร์ม" ยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว รอการขึ้นทะเบียน และยังมี อีก 2 วัคซีนคือ โควัคซีน และ สปุตนิค วี อยู่ระหว่างยื่นเอกสาร | date = 2021-05-25 | url = https://twitter.com/nnthotnews/status/1397035543616131074/photo/2 | work = NNT }}</ref><ref> |
|||
{{cite news | title = วัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ยื่นเอกสารขึ้นทะเบียน อย. ครบแล้ว อีก 2 ยี่ห้อกำลังตามมา | date = 2021-05-25 | url = https://www.sanook.com/news/8386830/ | work = sanook | archiveurl = https://web.archive.org/web/20210525064934/https://twitter.com/nnthotnews/status/1397035543616131074/photo/2 | archivedate = 2021-05-25 | url-status = live }}</ref> |
|||
รัฐบาลอาจให้เอกชนจำหน่ายวัคซีนนี้โดยเป็นวัคซีนทางเลือกที่ไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชน<ref>{{cite news | title = ดีล "วัคซีนไฟเซอร์" ผ่าน 20 ล้านโดส จ่อเข้าไทย "อนุทิน" คุยได้ "ไตรมาส 3" | date = 2021-05-08 | url = https://www.thairath.co.th/news/local/2086836 | work = ไทยรัฐออนไลน์ | archiveurl = https://web.archive.org/web/20210515060633/https://www.thairath.co.th/news/local/2086836 | archivedate = 2021-05-15 | url-status = live}}</ref> |
|||
== งานวิจัยทางคลินิก == |
== งานวิจัยทางคลินิก == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:37, 26 พฤษภาคม 2564
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | โควิด-19 |
ชนิด | ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว (inactivated, vero cell) |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดในกล้ามเนื้อ |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
BBIBP-CorV เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว (inactivated) อย่างหนึ่งในสองอย่างที่บริษัทจีนคือไซโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นผู้พัฒนา จนถึงเดือนธันวาคม 2020 วัคซีนยังอยู่ในการทดลองระยะที่ 3 ในประเทศอาร์เจนตินา บาห์เรน อียิปต์ โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยมีอาสาสมัครเกินหกหมื่นคน[1] จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020 ประชาชนชาวจีนเกือบล้านคนได้รับวัคซีนผ่านโปรแกรมให้ใช้เป็นการฉุกเฉินของประเทศ[1] จนถึงเดือนธันวาคม 2020 คนเกือบแสนคนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้รับวัคซีนเช่นกัน[2]
ในวันที่ 9 ธันวาคม 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศอนุญาตให้ใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการหลังจากการวิเคราะห์ในระหว่าง (interim) การทดลองระยะที่ 3 ได้ระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ (efficacy) ร้อยละ 86 ป้องกันโรค[3] โดยต่อมาบาห์เรนก็อนุมัติให้ใช้เช่นกัน[4][5] แต่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ยังไม่ได้แจ้งว่าจะเริ่มฉีดให้ประชากรทั่วไปอย่างไร[6]
วัคซีนนี้ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วเหมือนกับวัคซีน CoronaVac (จีน) และ BBV152 (อินเดีย) ซึ่งเป็นวัคซีนแบบไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้วและกำลังทดลองในระยะที่ 3 เช่นกัน[7][6] เป็นเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้อย่างสำเร็จในในวัคซีนทั่ว ๆ ไปเช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า[6] แต่การมีข้อมูลที่ตีพิมพ์น้อยอาจจำกัดการแจกจำหน่ายวัคซีนนี้ไปยังประเทศต่าง ๆ[8]
ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยาไทย (อย.) รายงานว่าได้รับเอกสารขอขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว วัคซีนนี้จึงอยู่ในระหว่างการประเมินขึ้นทะเบียน[9][10] รัฐบาลอาจให้เอกชนจำหน่ายวัคซีนนี้โดยเป็นวัคซีนทางเลือกที่ไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชน[11]
งานวิจัยทางคลินิก
ระยะที่ 1 และ 2
ในเดือนเมษายน 2020 จีนได้อนุมัติให้ทำการทดลองทางคลินิกกับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products)[12] และสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่น (Wuhan Institute of Biological Products) โดยทั้งสองเป็นส่วนของบริษัทไซโนฟาร์ม[13] วัคซีนทั้งสองเป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าด้วยสารเคมี (chemically inactivated)
ในวันที่ 15 ตุลาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่งได้ตีพิมพ์ผลที่ได้ในงานวิจัยระยะที่ 1 (มีอาสาสมัครผู้ใหญ่ 192 คน) และระยะที่ 2 (448 คน) สำหรับวัคซีน BBIBP-CorV โดยแสดงว่าปลอดภัยและคนไข้อดทนต่อผลต่าง ๆ ได้ดีสำหรับยาทุก ๆ ขนาดที่ใช้ในกลุ่มการทดลองแบ่งโดยอายุเป็น 2 กลุ่ม ผู้รับวัคซีนทั้งหมดเกิดสารภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในวันที่ 42 การทดลองเหล่านี้รวมผู้สูงอายุกว่า 60 ปี[12]
ในวันที่ 13 สิงหาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่นตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่าง (interim) การทดลองระยะที่ 1 (ผู้ใหญ่ 96 คน) แลระยะที่ 2 (224 คน) รายงานนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่า วัคซีนแบบไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้วมีผลไม่พึงประสงค์ในอัตราต่ำ และแสดงว่าก่อปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทาน (immunogenicity) แต่ความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ก็ยังต้องประเมินด้วยการทดลองระยะที่ 3[13] วัคซีนนี้อาจมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่สามารถให้แก่ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาได้ดี เช่น สามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นปกติ เทียบกับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น Tozinameran ซึ่งแม้จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก[14] บริษัทไฟเซอร์และโมเดิร์นาเป็นผู้พัฒนาหนึ่ง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเออันใหม่เอี่ยม แต่ผู้ผลิตอื่น ๆ ก็มีประสบการณ์เป็นสิบ ๆ ปีกับเทคโนโลยีแบบไวรัสฆ่าแล้วเช่นของไซโนฟาร์ม[14]
การทดลองระยะที่ 3
แอฟริกาและเอเชีย
ในวันที่ 16 กรกฎาคม ไซโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนในระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 31,000 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยร่วมมือกับบริษัท G42 Healthcare ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองอาบูดาบี[15] ในเดือนสิงหาคม อาสาสมัครทุกคนก็ได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว และจะได้รับโดสที่สองในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา[16] ในวันที่ 9 ธันวาคม กระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Health and Prevention) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศอนุญาตให้ใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ หลังจากผลการวิเคราะห์การทดลองระยะที่ 3 ในระหว่าง (interim) แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 86 ในการต้านโรค[4] วัคซีนมีอัตราสร้างสารภูมิต้านทานกำจัดฤทธิ์ (sero-conversion, neutralizing antibodies) ที่ร้อยละ 99 และมีประสิทธิภาพเต็มร้อยในการป้องกันการเป็นโรคในระดับรุนแรงและปานกลาง[3]
ในวันที่ 2 กันยายน บริษัทเริ่มทำการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสามัคร 600 คนในเมืองกาซาบล็องกาและราบัต (ทั้งสองในประเทศโมร็อกโก)[17][18] ในเดือนกันยายน ประเทศอียิปต์เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งจะดำเนินอยู่ปีหนึ่งและรับอาสาสมัคร 6,000 คน[19]
ในเดือนสิงหาคม 2020 ไซโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 6,000 คนในประเทศบาห์เรน[20][21] จนถึงเดือนพฤศจิกายน ได้รับอาสาสมัครในการทดลองนี้แล้ว 7,700 คนโดยทั้งหมดได้วัคซีนโดสที่สองแล้ว[22] ในปลายเดือนสิงหาคม บริษัทก็ได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศจอร์แดนกับอาสาสมัคร 500 คนด้วย[23][24]
อนึ่ง บริษัทยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยการาจีเพื่อทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัคร 3,000 คน[25] ซึ่งถ้าสำเร็จ ปากีสถานจะได้รับวัคซีนต้น ๆ สำหรับประชาชนประมาณ 1/5 ของประเทศ[26] โดยในเดือนพฤศจิกายน รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้แจ้งว่า วัคซีนจะมีใช้ในปากีสถานใน 6-8 สัปดาห์[25]
อเมริกาใต้
วันที่ 10 กันยายน ไซโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 ในประเทศเปรูโดยมีแผนให้วัคซีนแก่คน 6,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-75 ปี[27] ในเดือนตุลาคม นักวิจัยประกาศว่าจะขยายการทดลองเพิ่มอาสาสมัครอีก 6,000 คน[28] ในวันที่ 12 ธันวาคม เปรูหยุดการทดลองวัคซีนชั่วคราวหลังจากมีอาสาสมัครคนหนึ่งอ่อนล้าที่ขาก่อนจะดำเนินการต่อในวันที่ 16[29]
ในวันที่ 16 กันยายน ประเทศอาร์เจนตินาได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 3,000 คน[30]
การผลิต
โรงงานไซโนฟาร์มในนครปักกิ่งจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 120 ล้านโดสต่อปีในขณะที่โรงงานในอู่ฮั่นจะผลิตได้อีก 100 ล้านโดสต่อปี[31] ในอัปเดตเดือนตุลาคม บริษัทกล่าวว่าอาจผลิตวัคซีนได้เกิน 1,000 ล้านโดสในปี 2021[32]
ในเดือนตุลาคม บริษัท G42 Healthcare ในดูไบได้ตกลงกับไซโนฟาร์มเพื่อผลิตวัคซีน 75-100 ล้านโดสสำหรับดูไบและประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง[33]
ในเดือนธันวาคม อียิปต์ประกาศข้อตกลงระหว่างไซโนฟาร์มกับบริษัทอียิปต์เพื่อผลิตวัคซีนในประเทศ[34]
การอนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน
จีน
ไซโนฟาร์มได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 อย่างหนึ่งของบริษัทเป็นการฉุกเฉินในเดือนกรกฎาคม แต่แม้ในเดือนมิถุนายนก่อนจะได้ พนักงานของรัฐวิสาหกิจผู้เดินทางไปต่างประเทศก็ได้รับอนุญาตให้ฉีดวัคซีนหนึ่งในสองอย่างที่บริษัทผลิต[35] ในเดือนตุลาคม บริษัทเริ่มให้วัคซีนฟรีแก่นักศึกษาจีนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อการศึกษา[36]
ในเดือนตุลาคม มณฑลเจ้อเจียงที่มีประชากร 58.5 ล้านคนใกล้กรุงเซี่ยงไฮ้ได้ประกาศว่า ประชาชนที่เสี่ยงสูงจะเริ่มได้รับวัคซีนในปลายเดือนพฤศจิกายน วัคซีนต้น ๆ ที่ไม่เปิดเผยจำนวนจะเก็บสำรองไว้ให้สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงรวมบุคลากรทางการแพทย์และผู้ทำการที่จำเป็น เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ผู้ขับรถแท็กซี่ พนักงานขนส่ง พนักงานเก็บเงินซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งพนักงานขนส่งผู้ทำงานในสายต่างประเทศต่าง ๆ[37]
บาห์เรน
วันที่ 3 พฤศจิกายน ตามสำนักข่าวของรัฐ ประเทศบาห์เรนได้อนุญาตให้ใช้วัคซีนโควิดของไซโนฟาร์มเป็นการฉุกเฉิน (emergency use authorization, EUA) สำหรับพนักงานหน่วยหน้า รัฐมนตรีและข้าราชการอาวุโสก็ได้รับวัคซีนแล้ว รวมทั้งเจ้าชายซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน[22]
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
วันที่ 14 กันยายน 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของไซโนฟาร์มสำหรับพนักงานหน่วยหน้าหลังจากได้ผลวิเคราะห์บวกในระหว่างการทดลองวัคซีนระยะที่ 3 รัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศแจ้งว่า "ผลงานศึกษาในขั้นสุดท้าย ๆ ของการทดลองระยะที่ 3 แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพและให้ผลเป็นการตอบสนองและการสร้างสารภูมิต้านทานต่อไวรัสอย่างเข้มแข็ง"[15] ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 นายกรัฐตรีของประเทศและเจ้าผู้ครองนครดูไบมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูมก็ได้รับวัคซีน[22]
ในเดือนธันวาคม 2020 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า คนเกือบแสนคนในประเทศได้รับวัคซีนอย่างสมัครใจ[2] แต่รัฐบาลก็ไม่ได้แจ้งว่าจะจัดหาวัคซีนเพื่อแจกจำหน่ายกับประชาชนทั่วไปอย่างไร[6]
ตลาดและการแจกจำหน่าย
บาห์เรน
วันที่ 12 ธันวาคม สำนักงานควบคุมสุขภาพแห่งชาติบาห์เรน (National Health Regulatory Authority, NHRA) อนุมัติให้ใช้วัคซีนของไซโนฟาร์ม โดยอ้างข้อมูลจากการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งแสดงประสิทธิศักย์ในอัตราร้อยละ 86 ซึ่งบาห์เรนมีส่วนร่วมทดลอง[5]
จีน
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ไซโนฟาร์มได้ขออนุมัติให้ใช้วัคซีนในประเทศจีนเพื่อเริ่มขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทั่วไป คำขอน่าจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ที่ได้ทำในตะวันออกกลางและอเมริกาใต้[38] จนถึงเดือนพฤศจิกายน คนเกือบล้านคนในประเทศก็ได้รับวัคซีนผ่านโปรแกรมให้ใช้เป็นการฉุกเฉินของจีน[1]
อียิปต์
ในวันที่ 10 ธันวาคม วัคซีน BBIBP-CorV 50,000 โดสแรกได้ส่งมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติไคโรตามรัฐมนตรีสาธารณสุข (Ministry of Health and Population) ของอียิปต์ บุคลากรทางแพทย์ผู้ทำการใน รพ. ที่กักตัวคนไข้และคนไข้ที่มีปัญหาทางไต หัวใจ และโรคเรื้อรังเป็นบุคคลแรก ๆ ที่จะได้วัคซีน[39] ภายในปลายเดือนธันวาคม อียิปต์จะได้วัคซีนทั้งหมด 500,000 โดส[40]
อินโดนีเซีย
ในเดือนตุลาคม ไซโนฟาร์มได้ตกลงส่งวัคซีน 30 ล้านโดสให้แก่อินโดนีเซียในปี 2020 โดย 10 ล้านโดสจะส่งถึงในเดือนพฤศจิกายน[41] ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด แจ้งว่า ประเทศจะเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนในเดือนธันวาคม โดยจะใช้วัคซีนของไซโนฟาร์มและวัคซีน CoronaVac ของบริษัทไซโนแว็ก (จีน) ในตอนต้น ๆ ของการรณรงค์ ในปี 2020-21 บริษัททั้งสองจะส่งวัคซีน 18 ล้านโดส โดยรวม 15 ล้านโดสที่บริษัทรัฐวิสาหกิจไบโอฟาร์มาเป็นผู้ผลิตเอง[42]
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หลังจากวิเคราะห์ผลการทดลองในระหว่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม[4] ในวันที่ 14 ธันวาคม เมืองหลวงคืออาบูดาบีก็เริ่มให้วัคซีนนี้เป็นจำนวนมากแก่ประชาชนโดยให้สมัครใจเอง[43][44]
โมร็อกโก
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโกได้ทรงมีพระราชบัญชาให้เริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนในกลางเดือนธันวาคม บุคคลที่ได้ก่อนรวมผู้ทำงานหน่วยหน้า คือ บุคลากรทางแพทย์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำลังรักษาความมั่นคงและปลอดภัย เจ้าหน้าที่การศึกษาระดับชาติ คนชราและคนที่อ่อนแอต่อไวรัส[45] โมร็อกโกมีแผนการบิน 10 สายตลอดเดือนธันวาคมเพื่อนำเอาวัคซีน 10 ล้านโดสมาโดยเบื้องต้นพอให้แก่คน 5 ล้านคน[46] ในวันที่ 28 พฤศจิกายน มีรายงานว่า วัคซีนล้านโดสแรกได้มาถึงเมื่อกาซาบล็องกา[47] ในเดือนพฤศจิกายนเช่นกัน รัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศแจ้งว่า โมร็อกโกจะได้รับวัคซีนของไซโนฟาร์ม 10 ล้านโดสเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม[45]
ประเด็นขัดแย้ง
การไร้ข้อมูลที่เปิดเผยและความไม่เชื่อใจ
การประกาศให้อนุมัติวัคซีน BBIBP-CorV ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ[48] ไม่เหมือนกับวัคซีนที่พัฒนาในประเทศตะวันตกบางประเทศ วัคซีนจีนมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิศักย์น้อย[43] แม้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะระบุว่า ได้ทบทวนงานวิเคราะห์ในระหว่างของบริษัท แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า ได้วิเคราะห์ข้อมูลดิบเองอย่างเป็นอิสระ และก็ไม่ชัดเจนว่า บริษัทได้สรุปข้อมูลอย่างไร เพราะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ระบุรายละเอียดการวิเคราะห์ที่สำคัญ เช่น จำนวนคนติดเชื้อและอายุของอาสาสมัคร[48]
นักวิทยาการระบาดชาวจีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกล่าวว่า "ยากที่จะรู้ว่าวัคซีนได้ผลดีขนาดไหน ผมหวังว่ามันคงเป็นจริง"[8] การไม่ทำข้อมูลให้เป็นสาธารณะอาจจำกัดบริษัทจากการแจกจำหน่ายวัคซีนไปยังประเทศบางประเทศ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีน นักวิทยาการคนเดียวกันระบุว่า การโน้มน้าวให้ประเทศอื่น ๆ คล้อยตามจะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นและข้อมูลที่ดีซึ่งสามารถให้ตรวจดูได้ ส่วนนักวิทยาไวรัสที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงอีกคนหนึ่งเป็นห่วงว่า ประเทศต่าง ๆ อาจต้องเลือกยอมรับวัคซีนโดยไม่มีการวิเคราะห์ที่เป็นอิสระ หรือเลือกไม่ใช้วัคซีนนี้เลย[8]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Reuters Staff (2020-11-19). "China Sinopharm's coronavirus vaccine taken by about a million people in emergency use". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 2.0 2.1 CNN, Mostafa Salem and Yong Xiong. "China's Sinopharm vaccine has 86% efficacy against Covid-19, says UAE". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
- ↑ 3.0 3.1 "UAE: Ministry of Health announces 86 per cent vaccine efficacy". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "UAE says Sinopharm vaccine has 86% efficacy against COVID-19". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 5.0 5.1 "Bahrain approves Chinese COVID-19 vaccine for use". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Tan, Y (2020-12-16). "Covid: What do we know about China's coronavirus vaccines?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ Cohen, J (December 2020). "China's vaccine gambit". Science. 370 (6522): 1263–1267. doi:10.1126/science.370.6522.1263. PMID 33303601.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Cyranoski, David (2020-12-14). "Arab nations first to approve Chinese COVID vaccine — despite lack of public data". Nature. doi:10.1038/d41586-020-03563-z. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
- ↑ "อย. เผยความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิดในไทยล่าสุด "ซิโนฟาร์ม" ยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว รอการขึ้นทะเบียน และยังมี อีก 2 วัคซีนคือ โควัคซีน และ สปุตนิค วี อยู่ระหว่างยื่นเอกสาร". NNT. 2021-05-25.
- ↑ "วัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ยื่นเอกสารขึ้นทะเบียน อย. ครบแล้ว อีก 2 ยี่ห้อกำลังตามมา". sanook. 2021-05-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ "ดีล "วัคซีนไฟเซอร์" ผ่าน 20 ล้านโดส จ่อเข้าไทย "อนุทิน" คุยได้ "ไตรมาส 3"". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-05-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-15.
- ↑ 12.0 12.1 Xia, S; Zhang, Y; Wang, Y; Wang, H; Yang, Y; Gao, GF; และคณะ (October 2020). "Safety and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine, BBIBP-CorV: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 trial". The Lancet. Infectious Diseases. doi:10.1016/s1473-3099(20)30831-8. PMID 33069281.
- ↑ 13.0 13.1 Xia, S; Duan, K; Zhang, Y; Zhao, D; Zhang, H; Xie, Z; และคณะ (September 2020). "Effect of an Inactivated Vaccine Against SARS-CoV-2 on Safety and Immunogenicity Outcomes: Interim Analysis of 2 Randomized Clinical Trials". Jama. 324 (10): 951–960. doi:10.1001/jama.2020.15543. PMID 32789505.
- ↑ 14.0 14.1 "China State-Backed Covid Vaccine Has 86% Efficacy, UAE Says". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 15.0 15.1 Maxwell, C. "Coronavirus: UAE authorises emergency use of vaccine for frontline workers" (ภาษาอังกฤษ). The National. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
- ↑ "Coronavirus: 15,000 register as volunteers for Covid-19 vaccine trial in UAE". The National (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
- ↑ "Morocco orders R-Pharm Covid-19 vaccine | The North Africa Post". northafricapost.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ "Chinese Clinical Trial Register (ChiCTR) - The world health organization international clinical trials registered organization registered platform". www.chictr.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ "Egypt to start receiving volunteers for COVID-19 vaccine trials". Egypt Independent (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
- ↑ "Bahrain starts Phase III trial of Sinopharm's Covid-19 vaccine". Clinical Trials Arena. 2020-08-24.
- ↑ Manama, TD. "Vaccine trial continues | THE DAILY TRIBUNE | KINGDOM OF BAHRAIN". DT News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Barrington, L (2020-11-03). "Bahrain allows Sinopharm COVID-19 vaccine candidate use in frontline workers". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
- ↑ Liu, R (2020-09-05). "China's CNBG, Sinovac find more countries to test coronavirus vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
- ↑ "Jordan starts phase 3 trial of China's COVID-19 vaccine". Jordan Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
- ↑ 25.0 25.1 "Coronavirus vaccine should be available in Pakistan 'within 6-8 weeks'". www.geo.tv (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-14.
- ↑ "China to supply potential coronavirus vaccine to Pakistan: WSJ report". Dawn (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
- ↑ "Third Phase of Human Trials for Coronavirus Vaccine Underway in Peru | Voice of America - English". www.voanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
- ↑ "6,000 additional volunteers required for trials of Sinopharm's COVID-19 vaccine" (ภาษาสเปน). Andina. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
- ↑ "Peru says China's Sinopharm may resume coronavirus vaccine trial after volunteer's illness". Reuters. 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ "Clinical Trial to Evaluate the Efficacy, Immunogenicity and Safety of the Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine (COVID-19) - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
- ↑ Majumder, BG (2020-08-24). "Herculean Task Ahead to Produce Coronavirus Vaccines For All; Will It Ever Cover 7 Billion People?" (ภาษาอังกฤษ). International Business Times. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
- ↑ Liu, R (2020-10-20). "Sinopharm says may be able to make over one billion coronavirus vaccine doses in 2021". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ Greaves, J (2020-10-08). "UAE company nears end of Chinese Covid-19 vaccine trial". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-10.
- ↑ "Chinese COVID-19 vaccine effective: Egypt's MoH". EgyptToday. 2020-12-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "Sinovac's coronavirus vaccine candidate approved for emergency use in China - source". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
- ↑ Vivek, V (2020-10-15). "China's Sinopharm offers experimental COVID-19 vaccines to students: WSJ" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
- ↑ Chen, F (2020-10-20). "Chinese province set to roll out jabs against Covid". Asia Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ hermesauto (2020-11-25). "China Covid-19 vaccine maker seeks approval for public use". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-25.
- ↑ "Egypt Receives First 50,000 Batch of Chinese COVID-19 Vaccine". Egyptian Streets (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.
- ↑ "Egypt to obtain 0.5 M COVID-19 doses by end of December: Cabinet Spox". EgyptToday. 2020-12-17. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ Taufiqurrahman, M. "Indonesia can be manufacturing hub for COVID-19 vaccine, says Chinese foreign minister". Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ Suroyo, TA; Gayatri, SW (2020-11-13). "Exclusive: Indonesia to start mass COVID-19 vaccination this year - President". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
- ↑ 43.0 43.1 "Abu Dhabi starts COVID-19 vaccinations". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ Kumar, A (2020-12-12). "UAE Covid-19 vaccine: Private hospitals start giving the jab". Khaleej Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ 45.0 45.1 Guerraoui, S (2020-10-11). "Morocco king orders massive anti-COVID 19 vaccination Op in coming weeks | Saad Guerraoui". MEO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ Hekking, M (2020-11-16). "Morocco Reportedly to Receive COVID-19 Vaccine From China". Morocco World News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
- ↑ "A Chinese delegation visits Casablanca to discuss Sinopharm vaccine manufacturing in Morocco | The North Africa Post". northafricapost.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
- ↑ 48.0 48.1 Wee, Sui-Lee (2020-12-09). "Chinese Covid-19 Vaccine Gets Key Push, but Doubts Swirl". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.