[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอาโทบาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ยังไม่ได้แปล}}
{{กล่องข้อมูล ระบบทางหลวง
{{กล่องข้อมูล ระบบทางหลวง
| title = ''บุนเดิสเอาโทบาเนิน''<br>(''Bundesautobahnen'')<br>{{small|แปล: ยนตรมารคสหพันธ์}}
| title = ''บุนเดิสเอาโทบาเนิน''<br>(''Bundesautobahnen'')<br>{{small|แปล: ยนตรมารคสหพันธ์}}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 02:02, 6 กรกฎาคม 2567

บุนเดิสเอาโทบาเนิน
(Bundesautobahnen)
แปล: ยนตรมารคสหพันธ์
ป้ายสัญลักษณ์เอาโทบาน
Autobahnen in Deutschland.svg
แผนที่โครงข่ายบุนเดซเอาโทบาเนินในประเทศเยอรมนี
ข้อมูลของระบบ
บำรุงรักษาโดย กระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
ระยะทาง13,183 กิโลเมตร (ค.ศ. 2020) (8,192 ไมล์)
ชื่อของทางหลวง
เอาโทบาน:Bundesautobahn X
(BAB X หรือ A X)
เอาโทบานสาย 3 ตัดกับสาย 5 บริเวณแฟรงเฟิร์ต

เอาโทบาน (เยอรมัน: Autobahn, พหุพจน์: Autobahnen แปลว่า ยนตรมารค) เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันหมายถึงทางด่วนระหว่างเมือง ซึ่งเป็นทางคู่และมีทางยกระดับข้ามทางแยก ศัพท์คำนี้ใช้เรียกทางด่วนในเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ [1] แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปมักหมายถึงทางหลวงพิเศษในเยอรมนี เอาโทบานในเยอรมนีใช้งานฟรี ส่วนออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์เก็บค่าธรรมเนียมการใช้ทางในอัตราเหมาจ่าย

พาหนะที่ใช้งานได้; เยอรมนีและออสเตรียกำหนดให้พาหนะที่ใช้งานเอาโทบานได้จะต้องเป็นพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และทำความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กม/ชั่วโมง ส่วนสวิตเซอร์แลนด์กำหนดไว้ที่ 80 กม/ชั่วโมง

ข้อจำกัดความเร็ว; ออสเตรียกำหนดให้พาหนะใช้ความเร็วบนเอาโทบานได้ไม่เกิน 130 กม/ชั่วโมง สวิตเซอร์แลนด์กำหนดไว้ไม่เกิน 120 กม/ชั่วโมง ขณะที่เอาโทบานในเยอรมนีไม่มีข้อจำกัดความเร็วสูงสุด[2] แต่มีการกำหนดความเร็วแนะนำที่ 130 กม/ชั่วโมง[3] อย่างไรก็ตาม บางรัฐในเยอรมนีเช่นรัฐเบรเมินเริ่มออกกฎจำกัดความเร็วเพื่อควบคุมระดับเสียงและลดมลภาวะ [4]

ประวัติ[แก้]

ทางหลวงในลักษณะเดียวกับเอาโทบานนี้ เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1929 เชื่อมระหว่างนครโคโลญกับบ็อน โดยเป็นเส้นทางคู่ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะรถยนต์ ห้ามคนเดินเท้าและรถม้า ในสมัยนั้นใช้ชื่อเรียกว่า ครัฟท์ฟาร์ทชตรัสเซอ (Kraftfahrtstraße) เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1932 [5] ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1940 ในยุคของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้มีการเร่งสร้างอย่างขนานใหญ่เป็นระยะทาง 3,736 กิโลเมตร นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังยกเลิกภาษีรถยนต์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตลอดจนสั่งสร้างรถยนต์ ฟ็อลคส์วาเกิน ที่ราคาถูกเท่าจักรยานยนต์ นโยบายดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันเติบโตอย่างก้าวกระโดด เกิดการจ้างแรงงานนับล้านอัตรา [6] และมีนัยทางทหารเพื่อการลำเลียงกำลังที่รวดเร็วขึ้นด้วย ทางด่วนนี้ในช่วงแรกใช้ชื่อว่า ไรชส์เอาโทบาน (ยนตรมารคไรช์) และมีสมญาว่า ถนนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (die Straßen Adolf Hitlers)

ปัจจุบันโครงข่ายของเอาโทบานในเยอรมนีมีความยาวทั้งสิ้น 13,183 กิโลเมตร (ข้อมูลปี 2020) เป็นโครงข่ายถนนขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก (2012) รองจากระบบทางหลวงอินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา และระบบทางหลวงในประเทศจีน ระบบทางหลวงในประเทศแคนาดา และ มอเตอร์เวย์ของประเทศสเปน ตามลำดับ เอาโทบานในเยอรมนีได้ชื่อว่าเป็นทางหลวงสายหนึ่งที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่ำที่สุด [7] การบำรุงรักษาเอาโทบานใช้งบประมาณสูงถึง 512,000 ยูโร/กิโลเมตร/ปี (ราว 20 ล้านบาท/กิโลเมตร/ปี)[8]

ความยาวเอาโทบาน[แก้]

ลำดับ เอาโทบาน ยาว เอาโทบานที่ตัดผ่าน
01 962 km 1,2,4,5,3,6,8
02 769 km 2,1,4,5,7,9,6
03 749 km (แผนงาน: 774 km) 7,2,3,4,8,6
04 583 km 1,3,7,9
05 533 km 4,3,6,8
06 505 km 1,6,5,7,9
07 484 km 1,8,5,7,9,3
08 473 km 3,1,7,9
09 440 km 7,3,6,8
10 345 km (แผนงาน: 541 km) 1

สถิติความเร็วขับขี่[แก้]

ตัวบ่งชี้ ค.ศ.
(รถยนต์ส่วนบุคคล) 1982 1987 1992
ความเร็วโดยเฉลี่ย 112.3 km/h (70 mph) 117.2 km/h (73 mph) 120.4 km/h (75 mph)
ความเร็วของรถที่ขับขี่เร็วสุด 15% แรก ≥ 139.2 km/h (86 mph) ≥ 145.1 km/h (90 mph) ≥ 148.2 km/h (92 mph)
รถที่ขับเร็วกว่า 130 กม/ชม. 25.0% 31.3% 35.9%

ที่มา: Kellermann, G: Geschwindigkeitsverhalten im Autobahnnetz 1992. Straße+Autobahn,[9] Issue 5/1995.[10]

สถิติอุบัติเหตุ[แก้]

ปี ทางหลวงเอาโทบาน ทางหลวงอื่น ภาพรวมจราจรทางบก
ผู้เสียชีวิต[11] สัดส่วน[12] ผู้เสียชีวิต สัดส่วน * ผู้เสียชีวิต สัดส่วน *
1970 945 27.0 18,248 84.5 19,193 76.5
1980 804 10.0 12,237 42.6 13,041 35.4
1985 669 07.1 7,731 26.7 8,400 21.9
1990 936 6.9 6.970 19.8 07,906 16.2
1995 978 5.5 8,476 19.0 9,454 15.1
2000 907 4.5 6,596 14.3 7,503 11.3
2005 662 3.1 4,699 10.0 5,361 07.8
2010 430 2.0 3,218 6.6 3,648 5.2

หมายเหตุ * สัดส่วน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตต่อระยะทางที่มีรถวิ่งครบหนึ่งพันล้านกิโลเมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. ในสวิสใช้คำศัพท์ภาษาเยอรมันว่า Autobahnen, ภาษาฝรั่งเศสว่า Autoroutes และภาษาอิตาลีว่า Autostrade
  2. "Driving in Germany". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-18. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  3. German State Introduces Autobahn Speed Limit
  4. Germany Gets First Ever Autobahn Speed Limit
  5. Biography and Timeline of Konrad Adenauer (1876-1967)
  6. The German Autobahn
  7. Autobahn Safety Vs. Interstate Safety
  8. Eight things you never knew about the German Autobahn thelocal.de 6 เมษายน 2016
  9. "Straße und Autobahn die Zeitschrift / Fachzeitschrift – Wegebau Straßenplanung Straßenentwässerung Flüsterasphalt Reparaturasphalt Geokunststoffe Straßenfertiger Straßenerhaltung Straßenwalzen". Strasse-und-autobahn.de. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
  10. Gunnar Gohlisch & Marion Malow (June 1999). "Umweltauswirkungen von Geschwindigkeitsbeschränkungen [Environmental Impacts of Speed Limits]" (PDF). Umweltbundesamt[Federal Environmental Office]. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28. Auf Autobahnabschnittten, die eine weitgehend freie Geschwindigkeitswahl zulassen, lag die mittlere Pkw-Geschwindigkeit 1992 bei 132 km/h. Mehr als die Hälfte der Pkw-Fahrer (51 %) überschreitet auf derartigen Abschnitten die Richtgeschwindigkeit.
  11. แม่แบบ:Webarchiv bast.de
  12. แม่แบบ:Webarchiv bast.de

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Autobahn