ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 4: | บรรทัด 4: | ||
==ช่วงต้นพระชนม์ชีพ== |
==ช่วงต้นพระชนม์ชีพ== |
||
โดโรเธียประสูติราว ค.ศ. 1430 หรือ ค.ศ. 1431 เป็นพระราชธิดาใน |
โดโรเธียประสูติราว ค.ศ. 1430 หรือ ค.ศ. 1431 เป็นพระราชธิดาในกับบาร์บาราแห่ง (1405 - 1465) พระนางทรงมีพระเชษฐภคินีสองพระองค์ ได้แก่ (1423 - 1481) ผู้ซึ่งกลายเป็นมาร์เชอเนสแห่งมันตัว และ (1425 - 1465) ผู้ซึ่งกลายเป็นดัชเชสแห่งพอเมอเรเนีย เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา ได้ประทับอยู่ที่ ซึ่งพระบิดาของพระนางเป็นผู้ปกครองอยู่ ในค.ศ. 1443 ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์ พระองค์ใหม่ ได้สืบทอดเขตโอเบิร์พฟัลทซ์ ซึ่งอยู่ใกล้ไบร็อยท์ และได้มีการแนะนำให้กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์เสกสมรสกับโดโรเธีย เพื่อรับการสนับสนุนของพระบิดาของโดโรเธียต่อฐานอำนาจของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ในดินแดนเยอรมัน การหมั้นได้มีการประกาศก่อนสมัยการประทานของพระสันตะปาปาในเรื่องความสัมพันธ์ที่เป็นญาติกัน เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1445 ซึ่งได้รับการอนุมัติในวันที่ 10 มีนาคม |
||
==การอภิเษกสมรสกับคริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรีย== |
==การอภิเษกสมรสกับคริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรีย== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:37, 27 พฤศจิกายน 2565
โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค (ค.ศ. 1430/1431 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1495) ทรงเป็นเจ้าหญิง ซึ่งได้เป็นสมเด็จพระราชินีสแกนดิเนเวียภายใต้ คือ สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก, และ จากการอภิเษกสมรสกับ ในค.ศ. 1445 จนกระทั่งกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์สวรรคต ค.ศ. 1448 และต่อมาทรงเป็นพระมเหสีใน พระนางทรงดำรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ในค.ศ. 1449 และสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ในค.ศ. 1450 จนกระทั่งกษัตริย์คริสเตียนสวรรคตในค.ศ. 1481 และยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน ตั้งแต่ค.ศ. 1457 - 1464 พระนางยังทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเดนมาร์กในช่วงสมัยไร้กษัตริย์ในค.ศ. 1448 และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงพระราชสวามีองค์ที่สองเสด็จออกจากราชอาณาจักร
พระนางยังทรงเป็นพระราชชนนีใน และ
ช่วงต้นพระชนม์ชีพ
โดโรเธียประสูติราว ค.ศ. 1430 หรือ ค.ศ. 1431 เป็นพระราชธิดาในกับบาร์บาราแห่ง (1405 - 1465) พระนางทรงมีพระเชษฐภคินีสองพระองค์ ได้แก่ (1423 - 1481) ผู้ซึ่งกลายเป็นมาร์เชอเนสแห่งมันตัว และ (1425 - 1465) ผู้ซึ่งกลายเป็นดัชเชสแห่งพอเมอเรเนีย เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา ได้ประทับอยู่ที่ ซึ่งพระบิดาของพระนางเป็นผู้ปกครองอยู่ ในค.ศ. 1443 ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์ พระองค์ใหม่ ได้สืบทอดเขตโอเบิร์พฟัลทซ์ ซึ่งอยู่ใกล้ไบร็อยท์ และได้มีการแนะนำให้กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์เสกสมรสกับโดโรเธีย เพื่อรับการสนับสนุนของพระบิดาของโดโรเธียต่อฐานอำนาจของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ในดินแดนเยอรมัน การหมั้นได้มีการประกาศก่อนสมัยการประทานของพระสันตะปาปาในเรื่องความสัมพันธ์ที่เป็นญาติกัน เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1445 ซึ่งได้รับการอนุมัติในวันที่ 10 มีนาคม
การอภิเษกสมรสกับคริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรีย
ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1445 พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์และโดโรเธียจัดขึ้นในโคเปนเฮเกน ตามมาด้วยพิธีสวมมงกุฎให้พระราชินีโดโรเธีย กษัตริย์ทรงพระราชทานเงินทุนพร้อมภาษีพิเศษแก่ทั้งสามราชอาณาจักร จึงถูกมองว่าเป็นวาระโอกาสที่พิถีพิถันที่สุดประวัติศาสตร์นอร์ดิกสมัยกลาง[1] พิธีเฉลิมฉลองดำเนินไป 8 วัน และร่วมพิธีโดยเหล่าเจ้าชายผู้ปกครองนครเบราน์ชไวค์ เฮ็สเซินและบาวาเรีย และคณะทูตจากสันนิบาตฮันซา รวมถึงคณะอัศวินท็อยโทและเหล่าขุนนางเดนมาร์ก สวีเดนและนอร์เวย์ พระนางโดโรเธียเสด็จเข้าเมืองโดยมีขุนนางจากทั้งสามราชอาณาจักรสวมชุดปักสีทองขี่ม้าคอยคุ้มกัน และสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก สวีเดนและนอร์เวย์ โดยบาทหลวงของทั้งสามอาณาจักรที่อารามวัดสเตนา[2] ในวันที่ 15 กันยายน พระราชินีทรงได้รับสินสมรสศักดินาจากทั้งสามอาณาจักร ได้แก่ รอสคิลด์ ริงสเต็ด ฮารัลด์บอร์กและสกอยเดนเซของเดนมาร์ก แยมต์ลันด์ของนอร์เวย์ และเออเรบรู นาร์กและแวร์มลันด์ของสวีเดน[3] หากพระนางเลือกที่จะประทับนอกสแกนดิเนเวียในฐานะตกพุ่มหม้าย พระนางจะได้รับทรัพย์จำนวน 45,000 ไรน์กิลเดอร์ ซึ่งเป็นจำนวนหนึ่งในสามของแต่ละอาณาจักร[4]
สมเด็จพระราชินีโดโรเธียเสด็จออกจากสวีเดนพร้อมกษัตริย์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1446 ทั้งสองพระองค์เสด็จเยือนอารามวัดสเตนา และที่ดินสินสมรสของพระนางที่เออเรบรู ในช่วงนี้พระนางทรงพระราชทานพระวโรกาสให้คาร์ล เจ้ากรมวังแห่งสวีเดนเข้าเฝ้า ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นศัตรูของพระนางในอนาคต ตามพงศาวดารคาร์ลสโคนนิคัน การพบปะครั้งนี้เป็นเรื่องดีและมีการถวายของกำนัลให้แก่พระนางและนางสนองพระโอษฐ์มากมาย ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับเดนมาร์กในเดือนกันยายน การอภิเษกสมรสระหว่างพระนางโดโรเธียและกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์เป็นเรื่องดีในทางการเมือง โดยพระบิดาของพระนางปกครองดินแดนเยอรมันของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ และเป็นทั้งผู้สนับสนุนตลอดจนที่ปรึกษาผู้ภักดี[5] แต่ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ทรงมีทายาท ตามบันทึกของอีริคัส โอไล ระบุว่าในความเป็นจริงแล้วการเสกสมรสครั้งนี้ไม่มีเรื่องของความสัมพันธ์ทางเพศเลย[6]
การอภิเษกสมรสกับกษัตริย์คริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียได้รับคำขอให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 แห่งโปแลนด์และอัลเบร็ชท์ที่ 6 อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย แต่พระนางทรงเลือกที่จะประทับในเดนมาร์กต่อไป และอภิเษกสมรสกับกษัตริย์เดนมาร์กพระองค์ใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้งคือ คริสเตียนแห่งอ็อลเดินบวร์ค หรือ กษัตริย์คริสเตียนที่ 1[7] พระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1449 ตามมาด้วยพระราชพิธีราชาภิเษกในฐานะกษัตริย์คริสเตียนและพระราชินีโดโรเธียแห่งเดนมาร์ก พระนางทรงสละสิทธิในการครอบครองที่ดินศักดินาจากการสมรสที่มีอยู่ในเดนมาร์กและนอร์เวย์ แทนที่ด้วยคาลุนด์บอร์กและแซมเซอในเดนมาร์ก และรอเมริเกในนอร์เวย์ แต่ทรงปฏิเสธที่จะสละที่ดินในสวีเดน[8] มีการเลือกตั้งให้คาร์ล คนุตสัน บอนเดอเป็นกษัตริย์สวีเดนและนอร์เวย์ ทำให้พระนางสูญเสียดินแดนในอาณาจักรเหล่านี้ และด้วยความทะเยอทะยานของพระนาง รวมถึงความทะเยอทะยานของกษัตริย์คริสเตียน ที่ต้องการให้กษัตริย์คริสเตียนสวมมงกุฎในสวีเดนและนอร์เวย์ และเพื่อรวมสหภาพคาลมาร์ที่แตกสลายให้รวมกันอีกครั้ง[9]
กษัตริย์คริสเตียนทรงสืบราชบัลลังก์ในนอร์เวย์เช่นกัน ค.ศ. 1450 แต่การเอาชนะสวีเดนนั้นทำได้ยากกว่า และสมเด็จพระราชินีโดโรเธียทรงยืนหยัดรณรงค์เป็นเวลาหลายปีในการสรรหาผู้สนับสนุนจากเหล่าบาทหลวงและขุนนางสวีเดน ซึ่งพระนางทรงกล่าวพาดพิงถึง กษัตริย์คาร์ลที่ 8 แห่งสวีเดน ทีได้รับเลือกเป็นกษัตริย์นั้น เป็นเพียงอดีตเจ้ากรมวังและข้าราชบริพารของพระนาง ดังนั้นจึงสมควรเรียกว่าเป็นผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์และเป็นผู้ทรยศที่ฝ่าฝืนคำปฏิญาณโดยการปล้นสิทธิที่ดินมรดกสมรสในสวีเดนของพระนาง ซึ่งเป็นอดีตพระราชินี[10] ในค.ศ. 1455 พระนางทรงยื่นคำร้องไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปา[11] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 การรณรงค์ของพระนางประสบความสำเร็จ เมื่อเกิดการกบฏโดยอาร์ชบิชอป จอน เบ็งก์สัน อ็อกเซนสแทร์นา ได้โค่นบัลลังก์ของกษัตริย์คาร์ลที่ 8 ซึ่งลี้ภัยไปยังดินแดนเยอรมัน และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1457 กษัตริย์คริสเตียนทรงได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์สวีเดน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรวมสามอาณาจักรนอร์ดิกเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง[12] สมเด็จพระราชินีโดโรเธียเสด็จเข้าสตอกโฮล์มอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม และที่ดินมรดกสมรสของพระนางได้รับการฟื้นคืนแก่พระนาง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1458 สภาสวีเดนได้อนุมัติตามพระราชประสงค์ของพระราชินีโดโรเธียและกษัตริย์คริสเตียนที่ว่าพระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ จะได้สืบราชบัลลังก์สวีเดน เช่นเดียวกับราชบัลลังก์นอร์เวย์และเดนมาร์กที่ได้มีการรับประกันอย่างมั่นคงแล้ว[13] กษัตริย์และพระราชินีเสด็จกลับเดนมาร์กในเดือนกรกฎาคม
ใน ค.ศ. 1460 กษัตริย์คริสเตียนทรงซื้อดัชชีชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ ซึ่งทำให้พระองค์มีหนี้สิ้น ทำให้ต้องทรงขึ้นภาษีและทำลายผู้สนับสนุนฝ่ายพระองค์ในสวีเดน พวกเขาเลือกกษัตริย์คาร์ลที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์อีกครั้งในค.ศ. 1464[14] การสูญเสียสวีเดนส่งผลกระทบต่อสมเด็จพระราชินีโดโรเธีย ที่ทรงรณรงค์มาตลอดพระชนม์ชีพเพื่อพระราชสวามี (และพระราชโอรสในรัชสมัยต่อมา) ในการได้รับราชบัลลังก์อีกครั้ง ส่งผลกระทบต่อสหภาพคาลมาร์แห่งสามราชอาณาจักรและการเรียกคืนดินแดนมรดกสมรสของพระนาง[15] การสูญเสียที่ดินส่วนพระองค์ทำให้พระนางสามารถผลักดันปัญหาสวรีเดนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีในศาลได้ และพระนางทรงฟ้องกษัตริย์คาร์ลที่ 8 ต่อสมเด็จพระสันตะปาปากรุงโรมในข้อหาช่วงชิงสิทธิในที่ดินของพระนาง[16] เมื่อผู้สืบตำแหน่งจากกษัตริย์คาร์ลที่ 8 เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสวีเดน คือ สเตียน สตูเร ผู้อาวุโส ซึ่งเป็นหลานลุงของกษัตริย์คาร์ลที่ 8 พระนางจึงทรงฟ้องเขาด้วย[17] ในค.ศ. 1475 พระนางเสด็จอิตาลี พระนางเสด็จเยี่ยมบาร์บาราแห่งบรันเดินบวร์ค พระเชษฐภคินีของพระนางที่มันตัว และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาซิกตุสที่ 4 ในโรม และผลักดันให้มีการปัพพาชนียกรรมสเตียน สตูเร อย่างเป็นทางการ[18] การที่พระนางใช้แผนการปัพพาชนียกรรม จะทำให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งสวีเดนไม่สามารถปกครองได้ และราชอาณาจักรสวีเดนจะถูกทำลายทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ผู้สำเร็จราชการสวีเดนพ่ายแพ้และมีการเลือกตั้งให้กษัตริย์เดนมาร์กเป็นกษัตริย์สวีเดน อันเป็นนโยบายทางการเมืองที่ถูกระงับและพระนางทรงต่อสู้มาเป็นเวลากว่า 20 ปี[19] การเสด็จเยือนโรมในพฤษภาคม ค.ศ. 1475 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกตุสที่ 4 ทรงออกสารตราอนุญาตให้กษัตริย์คริสเตียนจัดตั้งมหาวิทยาลัยในเดนมาร์ก เป็นผลให้มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้รับการสถาปนาในค.ศ. 1479
ในเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีโดโรเธียทรงได้รับ สล็อตสโลวึน (Slotsloven) เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่สมเด็จพระราชินีในการบังคับบัญชาปราสาท ป้อมปราการทั้งหมดในเดนมาร์ก และต้องทรงทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่พระมหากษัตริย์เสด็จนอกราชอาณาจักร[20] พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระนางมีส่วนในการสร้างอิทธิพลทางการเมือง เมื่อกษัตริย์คริสเตียนทรงได้รับฮ็อลชไตน์และชเลสวิช ในค.ศ. 1460 และไม่สามารถจ่ายได้ พระนางทรงให้พระราชสวามียืมพระราชทรัพย์ในจำนวนที่จำเป็นเพียงพอต่อการซื้อที่ดินเหล่านี้และรวมเข้าไว้กับเดนมาร์ก[21] ในค.ศ. 1470 พระนางทรงยึดอำนาจการควบคุมชเลสวิชและฮ็อลชไตน์โดยพฤตินัย เมื่อกษัตริย์คริสเตียนไม่ทรงสามารถหาทรัพย์มาคืนพระนางได้ พระนางปกครองฮ็อลชไตน์ (ค.ศ. 1479) และชเลสวิช (ค.ศ. 1480) ด้วยพระนางเองและทรงปกครองเหมือนสถานะที่ดินศักดินาของพระนาง[22] หลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาของพระนาง ในค.ศ. 1464 พระนางทรงต่อสู้กับฟรีดริชที่ 2 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค อาของพระนาง ในการแย่งชิงมรดกในแคว้นบรันเดินบวร์ค
สมเด็จพระราชินีโดโรเธียทรงได้รับการบรรยายว่า เป็นผู้มีความสามารถ ทะเยอทะยาน หยิ่งยะโสและประหยัด
สมเด็จพระพันปีหลวง
กษัตริย์คริสเตียนที่ 1 สวรรคตในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1481 และผู้สืบราชบัลลังก์คือ พระเจ้าฮันส์แห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสองค์ใหญ่ ขณะดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง พระนางโปรดที่จะประทับในปราสาทคาลุนด์บอร์ก พระนางยังทรงมีบทบาททางการเมืองในรัชสมัยพระราชโอรสตราบจนสิ้นพระชนม์ พระนางได้พระราชทานดัชชีชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ แก่เจ้าชายเฟรเดอริก พระราชโอรสองค์เล็ก ซึ่งทำให้พระนางเกิดความขัดแย้งกับพระราชโอรสองค์ใหญ่ และสุดท้ายทรงยุติด้วยการแบ่งดัชชีระหว่างพระราชโอรสทั้งสอง[23]
สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียยังทรงมีความทะเยอทะยานต่อไปในการรวมสหภาพคาลมาร์แห่งราชอาณาจักรนอร์ดิก โดยพระนางทรงโปรดให้พระราชโอรสครองราชย์เป็นกษัตริย์สวีเดนมากกว่าที่จะสนับสนุนพระราชสวามี ด้วยการขับไล่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งสวีเดนจากการปัพพาชนียกรรม ด้วยเขาทำการริบที่ดินสิทธิมรดกของพระนาง[24] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1482 พระนางทรงตรัสแผนการนี้แก่กษัตริย์ พระราชโอรส และในค.ศ. 1488 พระนางเสด็จไปเยือนบาร์บารา พระเชษฐภคินีที่มันตัวเป็นครั้งที่สอง ระหว่างทางพระนางทรงเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่อินส์บรุค และเสด็จเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 8 ที่กรุงโรม ซึ่งพระนางทรงกดดันให้มีการคว่ำบาตรผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งสวีเดนอีกครั้งและให้ราชอาณาจักรสวีเดนอยู่ในโทษต้องห้าม[25] เฮ็มมิง กาห์ เอกอัครราชทูตสวีเดนพยายามอย่างยากลำบากที่ไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น[26] สมเด็จพระพันปีหลวงทรงดำเนินการตามแผนการนี้ต่อไปจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เรื่องนี้ก็ไม่ยุติจนกระทั่งหลังพระนางสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามปี เมื่อพระราชโอรสของพระนางได้รับเลือกเป็นกษัตริย์สวีเดน และพระองค์ทรงยืนยันว่าจะไม่ดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป แม้ว่าพระนางจะสิ้นพระชนม์ก่อนที่พระราชโอรสจะได้เป็นกษัตริย์สวีเดนสองปี แต่ก็ถือว่าความพยายามของพระนางส่งผลให้เกิดผลประโยชน์ดังกล่าว[27]
สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียสิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1495 และทรงได้รับการฝังพระศพเคียงข้างพระราชสวามี ณ มหาวิหารรอสกิลด์
พระโอรส-ธิดา
พระราชินีโดโรเธียกับพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 ทรงมีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่
ดูเพิ่ม
- รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก
- รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สวีเดน
- รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์นอร์เวย์
อ้างอิง
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dansk kvindebiografisk leksikon
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dansk kvindebiografisk leksikon
- ↑ Dansk kvindebiografisk leksikon
- ↑ Dansk kvindebiografisk leksikon
- ↑ Dansk kvindebiografisk leksikon
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- ↑ Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
- โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค ที่ไฟน์อะเกรฟ
- Åke Ohlmarks: Alla Sveriges drottningar (All the queens of Sweden) (Swedish)
- Herman Lindvist: Historien om alla Sveriges drottningar (History of all the queens of Sweden) (Swedish) (2006)
- http://www.kvinfo.dk/side/597/bio/498/origin/170/ (in Danish)
ดูเพิ่ม
- Anne J. Duggan: Queens and queenship in medieval Europe
ก่อนหน้า | โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ | สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ครั้งที่ 1 (ราชวงศ์พาราทิเนต-เนามาร์ทก์) (12 กันยายน ค.ศ. 1445 – 6 มกราคม ค.ศ. 1448) |
ว่าง | ||
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ครั้งที่ 1 (ราชวงศ์พาราทิเนต-เนามาร์ทก์) (12 กันยายน ค.ศ. 1445 – 6 มกราคม ค.ศ. 1448) |
คาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์ | |||
ว่าง | สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ครั้งที่ 2 (ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก) (28 ตุลาคม ค.ศ. 1449 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1481) |
คริสตินาแห่งซัคเซิน | ||
คาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์ | สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ครั้งที่ 2 (ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก) (28 ตุลาคม ค.ศ. 1449 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1481)
| |||
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน ครั้งที่ 2 (ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก) (23 มิถุนายน ค.ศ. 1457 – 23 มิถุนายน ค.ศ. 1464) |
คริสตินา อับราฮัมสด็อทเทอร์ |