สุลต่านอะฮ์มัดแห่งบรูไน
อะฮ์มัด أحمد | |
---|---|
สุลต่านบรูไน | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1408–1425[1] |
ก่อนหน้า | อับดุล มาจิด ฮัซซัน |
ถัดไป | ชารีฟ อาลี |
ประสูติ | อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ |
สวรรคต | ป. ค.ศ. 1425 |
คู่อภิเษก | ปูตรี กีนาบาตางัน |
พระราชบุตร | ปูเตอรี รัตนา เกอซูมา |
พระราชบิดา | เดวา อามัซ กายางัน |
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี |
อะฮ์มัด (มลายู: Ahmad, พระนามพระราชสมภพ อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ (Awang Pateh Berbai); สวรรคต ป. ค.ศ. 1425)[2] รู้จักกันในพระนาม ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ (Pateh Berbai เป็นสุลต่านบรูไนองค์ที่ 3 ผู้ครองราชย์ใน ค.ศ. 1408 ถึง 1425[3] โดยเป็นพระราชโอรสองค์โตในเดวา อามัซ กายางันกับพระเชษฐา/อนุชาของอาวัง อาลัก เบอตาตาร์ (มีอีกพระนามว่าสุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์แห่งบรูไน) ราชอาณาจักรได้รับชื่อบรูไนในรัชสมัยของพระองค์[4] ทำให้พระองค์ได้เป็นผู้ก่อตั้งประเทศบรูไนตามที่ปรากฏใน ชาอีร์อาวังเซอเมาน์ (Syair Awang Semaun; กวีของอาวัง เซอเมาน์)[5] การศึกษาอิสลามคาดว่าเริ่มในประเทศในช่วงที่พระองค์ครองราชย์อยู่และสืบต่อมาภายใต้การปกครองของพระองค์[6]
ภูมิหลัง
[แก้]ในบรรดาพี่น้อง 14 พระองค์นั้น ผู้ทรงพระราชสมภพจากเดวา เออมัซ กายางัน พระราชบิดา กับสตรีชาวมูรุตจากลิมบัง ได้แก่ อาวัง อาลัก เบอตาตาร์, อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ และอาวัง เซอเมาน์[7] เพื่อตอบสนองพระมเหสีที่กำลังตั้งครรภ์ เดวา เออมัซ กายางันจึงออกเดินทางเพื่อค้นหาโคประเภทหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ เติมบาเดา[8] พระองค์สมรสกับสตรีใน 4 หมู่บ้านระหว่างทางและมีบุตรด้วยกัน ท้ายที่สุดจึงให้กำเนิดพี่น้อง 14 พระองค์ที่กล่าวไว้ก่อนหน้า หลังพบเติมบาเดาแล้ว เดวา เออมัซ กายางันจึงตัดสินใจขึ้นสวรรค์ แล้วพระองค์ก็เป็นที่รู้จักในพระนาม บาตารากาลาดีกายางัน[9]
พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชสมัย
[แก้]ปาเตะฮ์ เบอร์ไบทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังการสวรรคตของสุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน พระราชนัดดา เมื่อ ค.ศ. 1408[10]
สวรรคต
[แก้]สุลต่านอะฮ์มัดเสด็จสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1425 ทำให้ชารีฟ อาลี พระชามาดา ขึ้นครองราชย์ต่อ[3]
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]สุลต่านอะฮ์มัดทรงอภิเษกสมรสกับปูเตอรี กีนาบาตางัน[11] ทั้งคู่ให้กำเนิดพระราชธิดานาม ปูเตอรี รัตนา เกอซูมา ผู้ภายหลังกลายเป็นสมเด็จพระราชินีแก่สุลต่านชารีฟ อาลี[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sultan - Sultan Brunei". Brunei History Centre. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
- ↑ "eBuana :: Portal eBorneo". eborneo.dbp.gov.my. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
- ↑ 3.0 3.1 "Sultan - Sultan Brunei". Brunei History Centre. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
- ↑ "GENEALOGICAL TREE". www.geocities.ws. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
- ↑ Ooi, Keat Gin; King, Victor T. (2022-07-29). Routledge Handbook of Contemporary Brunei (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-1-000-56864-6.
- ↑ Haji Ahmad, Siti Sara. "PENDIDIKAN ISLAM DI ALAM MELAYU: MENELUSURI SUMBANGAN SULTAN- SULTAN BRUNEI DALAM PENGEMBANGAN PENDIDIKAN ISLAM" (PDF). Universiti Islam Sultan Sharif Ali. p. 200.
- ↑ Traditional Literature of ASEAN (ภาษาอังกฤษ). ASEAN Committee on Culture and Information. 2000. p. 37. ISBN 978-99917-0-196-7.
- ↑ Barrington, Brook (1997). Empires, Imperialism and Southeast Asia: Essays in Honour of Nicholas Tarling (ภาษาอังกฤษ). Monash Asia Institute. p. 204. ISBN 978-0-7326-1153-8.
- ↑ Schulze, Fritz (2004). Abstammung und Islamisierung als Motive der Herrschaftslegitimation in der traditionellen malaiischen Geschichtsschreibung (ภาษาเยอรมัน). Otto Harrassowitz Verlag. p. 59. ISBN 978-3-447-05011-1.
- ↑ Sidhu, Jatswan S. (2009-12-22). Historical Dictionary of Brunei Darussalam (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. pp. xxviii. ISBN 978-0-8108-7078-9.
- ↑ Mohd Jamil Al-Sufri (Pehin Orang Kaya Amar Diraja Dato Seri Utama Haji Awang.) (2005). Rampai sejarah: meniti sejarah silam (ภาษามาเลย์). Pusat Sejarah Brunei, Kementerian Kebudayaan, Belia dan Sukan. p. 30. ISBN 978-99917-34-44-6.
- ↑ Mohd Jamil Al-Sufri (Pehin Orang Kaya Amar Diraja Dato Seri Utama Haji Awang.) (2000). Tarsilah Brunei: The Early History of Brunei Up to 1432 AD (ภาษาอังกฤษ). Brunei History Centre, Ministry of Culture, Youth and Sports. p. 77. ISBN 978-99917-34-03-3.
ก่อนหน้า | สุลต่านอะฮ์มัดแห่งบรูไน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัสซัน | สุลต่านบรูไน (ค.ศ. 1408–1425) |
สุลต่านชารีฟ อาลี |