อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ | |
---|---|
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ ที่มีตัวสีดำ | |
ชนิดย่อย Salamandra atra aurorae | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Caudata |
วงศ์: | Salamandridae |
สกุล: | Salamandra |
สปีชีส์: | S. atra |
ชื่อทวินาม | |
Salamandra atra Laurenti, 1768 | |
ชนิดย่อย[1] | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
ระวังสับสนกับ: อัลไพน์ นิวต์
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ หรือ ซาลาแมนเดอร์ แอททร้า[2] (อังกฤษ: Alpine salamander, Golden salamander; ชื่อวิทยาศาสตร์: Salamandra atra)[1] สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกซาลาแมนเดอร์ จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก หรือนิวต์ (Salamandridae)
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือ มีสีดำตลอดทั้งตัว มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บ มีหัวใจทั้งหมด 3 ห้อง ผิวหนังเปียกชื้นไม่มีเกล็ด เหมือนซาลาแมนเดอร์ทั่วไป
พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,800 เมตร พบได้ในประเทศแอลเบเนีย, ออสเตรีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ลิกเตนสไตน์, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และสวิสเซอร์แลนด์ ในลำธารที่สภาพอากาศหนาวเย็น โดยปกติทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์ จะไม่ค่อยพบในที่ ๆ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 900 เมตร และมีรายงานว่าพบในที่ ๆ สูงที่สุด คือ 2,430 เมตร ในฝรั่งเศส และ 2,800 เมตร ที่ออสเตรีย คาเรนทันนี
กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ได้แก่ แมลง, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ และหอยขนาดเล็ก อัลไพน์ ซาลาแมนเดอร์ ในช่วงฤดูหนาวจะขุดรูเพื่อจำศีล ในโพรงดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นของผิวหนัง โดยสภาพร่างกายในช่วงนี้จะอยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว อัตราเมแทบอลิซึมต่ำ อัตราการใช้ออกซิเจนจะลดลงอย่างมาก อาจเป็น 1/3 หรือ 1/100 ของอัตราปกติ หัวใจเต้นนาทีละไม่กี่ครั้ง ซึ่งอาจจะอยู่ในภาวะเช่นนี้ได้หลายเดือน จนกระทั่งเมื่ออุณหภูมิขึ้นสูงในระดับ 12-14 องศาเซลเซียส จึงจะขยับตัวออกมา
ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง ของอัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ คือ ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2-3 ปี โดยตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มทิ้งไว้ตามใบไม้ริมน้ำหรือไม้น้ำ หรือก้อนหินที่เปียกชื้นริมน้ำ แล้วจะเปลี่ยนตัวเองให้มีสีที่สวยขึ้น คือ สีทอง เพื่อดึงดูดใจตัวเมีย เมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่จะพัฒนาตัวเองเป็นตัวอ่อนอยู่ในร่างกายของแม่ก่อนที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ทั้งนี้เป็นเพราะการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นที่ ๆ หนาวเย็น จนบางครั้งแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่แข็งเป็นน้ำแข็ง
อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง[2]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Salamandra atra ที่วิกิสปีชีส์