เกมกลคนอัจฉริยะ
เกมกลคนอัจฉริยะ | |
遊☆戯☆王 | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Yu-Gi-Oh! |
แนว | แอ็กชัน, ผจญภัย, จินตนิมิต, บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์, เหนือธรรมชาติ |
มังงะ | |
เขียนโดย | คาซูกิ ทากาฮาชิ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษ | Viz Media |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | ฮิโรยูกิ คาคุโด |
เขียนบทโดย | โทชิกิ อิโนอุเอะ |
ดนตรีโดย | บีเอ็มเอฟ |
สตูดิโอ | โทเอแอนิเมชัน |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮิ,ทีวีโตเกียว |
เครือข่ายภาษาอังกฤษ | ช่อง 3, ยูบีซี |
ฉาย | 4 เมษายน พ.ศ. 2541 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 |
ตอน | 27 |
ภาพยนตร์อนิเมะ | |
กำกับโดย | จุนจิ ชิมิซุ |
เขียนบทโดย | โคบายาชิ ยาสุโกะ |
ดนตรีโดย | บีเอ็มเอฟ |
สตูดิโอ | โทเอแอนิเมชัน |
ความยาว | 30 นาที |
นวนิยาย | |
เขียนโดย | คัทซึฮิโกะ ชิบะ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
วางจำหน่าย | 3 กันยายน พ.ศ. 2542 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
ภาพยนตร์ | |
ภาคแยก | |
เกมกลคนอัจฉริยะ หรือ ยูกิโอ (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王; โรมาจิ: Yū-Gi-Ō!; อังกฤษ: Yu-Gi-Oh!) เป็นมังงะชุดสัญชาติญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเล่นเกมที่แต่งเรื่องและวาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ส่วนในประเทศไทยตีพิมพ์ลงในนิตยสารซีคิดส์ ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เนื้อเรื่องจะติดตามเรื่องราวของเด็กหนุ่มมัธปลายที่ชื่อมุโต้ ยูกิ วันหนึ่งเขาได้ไขปริศนาอียิปต์โบราณที่รู้จักกันในชื่อตัวต่อพันปีได้สำเร็จ ทำให้ร่างกายถูกสิงร่างโดยวิญญาณฟาโรห์ไร้นาม
มังงะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะนั้นได้มีการดัดแปลงเป็นอนิเมะถึงสองครั้งซึ่งครั้งที่หนึ่งโดยโทเอแอนิเมชัน ที่มีชื่อว่า เกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541[1] และครั้งที่สองที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ และแอนิเมชันโดยแกลลอป ที่มีชื่อว่า ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
หลังจากที่มังงะและอนิเมะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะประสบความสำเร็จก็ได้ให้กำเนิดแฟรนไชส์สื่อมากมายเช่น ภาคแยกของอนิเมะและมังงะ, เทรดดิงการ์ดเกม, และวิดีโอเกมจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ของแฟรนไชส์จะเกี่ยวโยงกับเกมสะสมการ์ดที่รู้จักกันในชื่อ ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องใช้การ์ดมอนสเตอร์, เวทมนตร์, หรือกับดัก ในการ ดูเอล ซึ่งในระบบการแพ้ชนะนั้นถ้าทำให้ผู้เล่นอีกฝ่ายไลฟ์พอยท์เป็นศูนย์หรือการ์ดในเด็คอีกฝ่ายหมดก็เป็นฝ่ายชนะ และในปี พ.ศ. 2561 เกมกลคนอัจฉริยะ ได้เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์สื่อที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล[2]
ชื่อ
[แก้]ในภาษาญี่ปุ่นคำว่ายูกิโอ 遊戯王 (yugiō) ซึ่งมีลักษณะเป็น 遊☆戯☆王 หมายถึง "ราชาแห่งเกม" เป็นการเล่นคำของตัวเอก ยูกิ ซึ่งหมายถึง "เกม" (遊戯) ในชื่อภาษาอังกฤษใช้ "Oh!" แทนที่จะเป็น "ō" เพื่อสะท้อนถึงเสียงที่ยูกิเปล่งเสียงออกมาเมื่อเปลี่ยนเป็น ยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) คาซูกิ ทากาฮาชิ ได้ระบุไว้ว่าชื่อตัวละครของ "ยูกิ" และ "โจวโนะอุจิ" ทั้งสองนั้นมีพื้นฐานมาจากคำว่ายูโจว yūjō (友情) ซึ่งหมายถึง "มิตรภาพ"
โครงเรื่อง
[แก้]มุโต้ ยูกิ เด็กหนุ่มมัธยมปลายที่ชอบเล่นเกมทุกชนิด และมีนิสัยที่ขี้อายจึงมักจะถูกแกล้งอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งยูกิได้ไขปริศนาอียิปต์โบราณที่รู้จักกันในชื่อตัวต่อพันปี (ญี่ปุ่น: 千年パズル; โรมาจิ: Sennen Pazuru; อังกฤษ: Millennium Puzzle) ได้สำเร็จทำให้ร่างกายถูกสิงโดนวิญญาณลึกลับที่มีนิสัยชอบเผชิญหน้ากับความท้าทายและการพนันไม่ว่าจะเป็น การ์ด, ลูกเต๋า, หรือเกมกระดานสวมบทบาท นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมือใดที่ยูกิหรือเพื่อนพ้องถูกคุกคามโดยผู้ที่มีความมืดอยู่ในจิตใจยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) จะปรากฏตัวออกมาและจะท้าดวลด้วยเกมแห่งความมืด (ญี่ปุ่น: 闇のゲーム; โรมาจิ: Yami no Gēmu; อังกฤษ: Shadow Games) ผู้ที่แพ้การดวลจะถูกลงโทษอย่างแรงที่สุดด้วยเกมลงทัณฑ์ (ญี่ปุ่น: 罰ゲーム; โรมาจิ: Batsu Gēmu; อังกฤษ: Penalty Game) ซึ่งจะเปิดเผยแก่นแท้ในจิตใจของผู้คน ในเวลาผ่านไปในเรื่องยูกิและเพื่อนพ้องได้รู้ว่าวิญญาณที่สิงในตัวต่อพันปีคือวิญญาณฟาโรห์ไร้นามจากยุคอียิปต์โบราณที่สูญเสียความทรงจำ ในขณะที่ยูกิและเพื่อนพ้องได้พยายามช่วยฟาโรห์นำความทรงจำที่หายไปกลับคืนมา ได้รู้ว่าจะต้องผ่านบททดสอบที่ต้องเดิมพันด้วยชีวิต พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่มีไอเทมพันปี (ญี่ปุ่น: 千年アイテム; โรมาจิ: Sennen Aitemu; อังกฤษ: Millennium Items) และพลังของเกมแห่งความมืด[3]
ความสำคัญของดูเอลมอนสเตอร์
[แก้]บทแรก ๆ ของ เกมกลคนอัจฉริยะ จะได้เห็นเกมในรูปแบบต่าง ๆ โดยตั้งแต่บทที่ 60 (เล่มที่ 7) เป็นต้นไปเกมที่พบบ่อยที่สุดคือเกมการ์ดที่มีชื่อว่า ดูเอลมอนสเตอร์ (เคยมีชื่อว่า เมจิกแอนด์วิซาร์ด) ที่จะโผล่มาให้เห็นผ่านบทเรื่องราวดูเอลลิสคิงดอมและแบตเทิลซิตี ซึ่งต่อมาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงเรื่องเพิ่มขึ้นผ่านบทเรื่องราวในภายหลัง เกมอื่น ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นในช่วงดราก้อน ไดซ์ แอนด์ ดันเจียนส์และบางส่วนในศึกดูเอลท้าฟาโรห์
นิฮงเอดีซิสเตมส์และแกลลอปของอนิเมะ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ได้ส่งเสริมให้เกม ดูเอลมอนสเตอร์ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับในเนื้อเรื่องหลักและตอนเสริมมากขึ้น ทำให้จักรวาลเกมกลคนอัจฉริยะเปลี่ยนไปสู่จักรวาลที่มีดูเอลมอนสเตอร์เป็นศูนย์กลาง ดูเอลมอนสเตอร์เป็นเกมที่เล่นด้วยระบบภาพฮอโลกราฟีที่สร้างขึ้นโดยไคบะ เซโตะ (ตามครั้งแรกที่ไคบะดวลกับยูกิในเกมแห่งความมืด) ซึ่งจะสามารถฉายภาพมอนสเตอร์ลงไปในฟีลด์ ในมังงะและอนิเมะของโทเอแอนิเมชัน เกมกลคนอัจฉริยะ จะใช้โต๊ะแสดงภาพฮอโลกราฟีทีเรียกว่าแบตเทิลบ็อกซ์ และในขณะที่ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ใช้สนามฮอโลกราฟีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าดูเอลริง หลังจากนั้นเริ่มตั้งแต่บทเรื่องราวแบตเทิลซิตีเป็นต้นไป การดวลจะเปลี่ยนไปเป็นแบบพกพาที่เรียกว่าดูเอลดิสก์ ที่คิดค้นโดยไคบะ เซโตะประธานไคบะคอร์ปอเรชันโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าโซลิดวิชันซึ่งทำให้สามารถดูเอลมอนสเตอร์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา [ต้องการอ้างอิง]
การพัฒนา
[แก้]คาซูกิ ทากาฮาชิ เคยทำงานอยู่บริษัทสร้างเกมแต่เพราะอยากเขียนการ์ตูนก็เลยวาดต้นฉบับเอาไว้ 100 หน้าแล้วเอาไปส่งที่สำนักพิมพ์ พอบรรณาธิการของสำนักพิมพ์เห็นจำนวนหน้าก็ตกใจแต่พอได้อ่านทั้งหมดก็เข้าก็เข้าใจว่าอยากจะเขียนเรื่องราวการต่อสู้แต่ในท้ายที่สุดก็ได้ถูกปฏิเสธ[4] ก่อนที่จะเขียนเรื่อง เกมกลคนอัจฉริยะ ทากาฮาชิเคยเดินทางไปเก็บข้อมูลที่อียิปต์[5]
ในช่วงการออกแบบของมังงะทากาฮาชิอยากจะวาดมังงะแนวสยองขวัญ[6] ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นมังงะเกี่ยวกับเกม แต่ก็ยังมีองค์ประกอบของสยองขวัญที่มีอิทธิผลต่อบางแง่มุมของเนื้อเรื่อง ทากาฮาชิตัดสินใจที่จะใช้ "การดวล" เป็นแก่นเรื่องหลักสำคัญ เนื่องจากมีมังงะเกี่ยวกับ "การต่อสู้" เยอะมากจึงทำให้ยากที่จะคิดค้นสิ่งที่ไม่เหมือนใคร สุดท้ายก็กำหนดลงไปว่า "การต่อสู้ที่ตัวละครหลักจะไม่โจมตีใคร" แต่ก็ต้องดิ้นรนกับข้อจำกัดดังกล่าว เมื่อคำว่า เกม เข้าไปในความคิดของทากาฮาชิและพบว่าหนทางข้างหน้าเปิดขว้างขึ้นทันที และนี้คือเหตุผลที่เขียน เกมกลคนอัจฉริยะ[7]
เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามทากาฮาชิว่าเขาพยายามแนะนำผู้อ่านที่อายุน้อยกว่าให้กับเกมการเล่นที่อ้างอิงอยู่ในมังงะ ทากาฮาชิตอบว่าเขาเพียงรวบรวมเกมที่ "เคยเล่นและสนุก" และอาจจะทำให้ผู้อ่านรู้จักกับเกมสวมบทบาทและเกมอื่น ๆ ทากาฮาชิเสริมว่าเขาสร้างบางเกมที่เห็นอยู่ในมังงะ[8]
ทากาฮาชิได้ให้ความสนใจในเกมมาโดยตลอด โดยอ้างว่าเป็นเด็กที่ติดเกมและยังคงสนใจเกมในขณะที่ผู้ใหญ่ เขาชอบเล่นเกมที่มีผู้เล่นกลายเป็นฮีโร่ โดยตัดสินใจให้ เกมกลคนอัจฉริยะ เป็นเหมือนเกมดังกล่าวที่มี ยูกิเป็นเด็กที่อ่อนแอเมื่อเล่นเกมจะกลายเป็นฮีโร่ ทากาฮาชิคิดว่าเด็กทุกคนใฝ่ฝันที่จะอยากแปลงร่างได้ (変身) ซึ่งทำให้ยูกิแปลงร่างเป็นยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) ทำให้นิสัยเปลี่ยนไปเป็นผู้เล่นเกมที่ฉลาดและไร้เทียมทาน เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดสำหรับเด็ก[9] ตัวละครของไคบะ เซโตะนั้นอิงมาจากผู้เล่นสะสมการ์ดในชีวิตจริงที่มีนิสัยหยิ่งผยองซึ่งเอามาจากบุคคลที่อยู่ในเรื่องราวที่เพื่อนของทากาฮาชิเคยเล่าให้ฟัง[10]
สื่อ
[แก้]มังงะ
[แก้]- ภาพรวมมังงะ
ลำดับ | ชื่อ | เล่ม | ตีพิมพ์ครั้งแรก | ตีพิมพ์ครั้งสุดท้าย | นักเขียน | นิตยสาร | สำนักพิมพ์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เกมกลคนอัจฉริยะ | 38 | 30 กันยายน 2539 | 8 มีนาคม 2547 | คาซูกิ ทากาฮาชิ | ชูเอชะ | โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ | |
2 | เกมกลคนอัจฉริยะ R | 5 | มิถุนายน 2547 | มกราคม 2551 | อากิระ อิโต | วีจัมป์ | ||
3 | เกมกลคนอัจฉริยะ GX | 9 | 17 ธันวาคม 2548 | 19 มีนาคม 2554 | นาโอยูกิ คาเงยามะ | วีจัมป์ | ||
4 | เกมกลคนอัจฉริยะ 5D's | 9 | 21 สิงหาคม 2552 | 21 มกราคม 2558 | มาซาฮิโระ ฮิโกคุโบะ | โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ | ||
5 | ยูกิโอ ZEXAL | 9 | 18 ธันวาคม 2553 | 21 มิถุนายน 2558 | ชิน โยชิดะ | วีจัมป์ | ||
6 | ยูกิโอ D ทีมเซอัล [11] | 24[12] | 3 เมษายน 2555 | 3 เมษายน 2557 | อากิฮิโระ โทโมนากะ | ไซเคียวจัมป์ | ||
7 | ยูกิโอ อาร์คไฟว์ | 7 | สิงหาคม 2558 | เมษายน 2562 | ชิน โยชิดะ | วีจัมป์ | ||
8 | ยูกิโอ ARC-V สุดยอดดูเอลลิสต์ยูยะ | 2 | 3 เมษายน 2558 | 3 สิงหาคม 2560 | อากิฮิโระ โทโมนากะ | ไซเคียวจัมป์ | ||
9 | ยูกิโอ OCG สตรัคเจอร์ส[13] | 21 มิถุนายน 2562 | ปัจจุบัน | วีจัมป์ | ||||
รวมทั้งหมด | 80 | 30 กันยายน 2539 | ปัจจุบัน | - |
เกมกลคนอัจฉริยะ
[แก้]มังงะต้นฉบับของ เกมกลคนอัจฉริยะ ที่เขียนและวาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ในระหว่างวันที่ 30 กันยายน ปี พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 8 มีนาคม ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งจะไม่เหมื่อนสืออื่น ๆ ในเกมกลคนอัจฉริยะ มังงะต้นฉบับนั้นจะมีเกมหลากหลายรูปแบบ เนื้อเรื่องจะออกมาเป็นฉาก ๆ พอสมควรและเจ็ดเล่มแรกนั้นจะมี ดูเอล มอสเตอร์ อยู่เพียงสามเล่ม ในบทที่เจ็ดสิบบทเรื่องราว ดูเอลลิสคิงดอม ได้เริ่มขึ้นและดูเอลมอนสเตอร์เริ่มจะเป็นบทบาทสำคัญในเรื่อง และหลังจากบทเรื่องราวของ ดราก้อน ไดซ์ แอนด์ ดันเจียนส์ ดูเอลมอนสเตอร์ได้ปรากฏให้เห็นอีกครั้งและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องที่สำคัญในบทเรื่องราวของ แบตเทิลซิตี และในบทเรื่องราวสุดท้ายของมังงะจะมุ่งเน้นไปยังเกมสมบทบาทบนโต๊ะ ที่จะเป็นการจำลองความทรงจำที่หายไปของฟาโรห์โดยถูกเรียกว่า เกมสวมบทบาทแห่งความมืด บรรณาธิการคือโยชิฮิสะ เฮชิและฮิซาโอ ชิมาดะ คาซูกิ ทากาฮาชิให้เครดิตกับโยชิมาสะ ทากาฮาชิ ในส่วน "ขอขอบคุณเป็นพิเศษ"[14]
เกมกลคนอัจฉริยะ R
[แก้]มังงะภาคแยกที่เขียนและวาดภาพประกอบโดยอากิระ อิโต ภายใต้การควบคุมดูแลของคาซูกิ ทากาฮาชิ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในจักรวาลต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะในระหว่างบทเรื่องราว แบตเทิลซิตี และ ศึกดูเอลท้าฟาโรห์ โดยในเรื่องยูกิและเพื่อนพ้องพยายามที่จะหยุดชายที่ชื่อยาโกะ เทนมะ เพราะเขาวางแผนที่จะใช้ร่างของมาซากิ อันซุ เพื่อคืนชีพเปกาซัส เจ ครอว์ฟอร์ด ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ในระหว่างวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยตีพิมพ์เป็นหนังสือรวมเล่มทั้งหมด 5 เล่ม ส่วนที่ประเทศไทยตีพิมพ์ลงนิตยสารซีคิดส์ ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์
อนิเมะ
[แก้]- ภาพรวมอนิเมะและภาพยนตร์
ลำดับ | ชื่อ | ตอน | ฉายครั้งแรก | ฉายครั้งสุดท้าย | ผู้กำกับ | สตูดิโอ | ออกอากาศ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เกมกลคนอัจฉริยะ | 27 | 4 เมษายน 2541 | 10 ตุลาคม 2541 | ฮิโรยูกิ คาคุโด | โทเอแอนิเมชัน | ทีวีอาซาฮิ | |
ภาพยนตร์ | ยูกิโอ | 6 มีนาคม 2542 | จุนจิ ชิมิซุ | - | ||||
2 | ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ | 224 | 18 เมษายน 2543 | 29 กันยายน 2547 | คุนิฮิสะ ซุกิชิมะ | แกลลอป | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | |
ภาพยนตร์ | เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ บทพีระมิดแห่งแสง | 3 พฤศจิกายน 2547 | ฮัตซุกิ ทสึจิ | 4คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ | - | |||
3 | เกมกลคนอัจฉริยะ GX | 180 | 6 ตุลาคม 2547 | 26 มีนาคม 2551 | แกลลอป | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | ||
4 | ยูกิโอ แคปซูลมอนสเตอร์ | 12 | 9 กันยายน 2549 | 25 พฤศจิกายน 2549 | อีริก สจวต | 4คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ | 4คิดส์ทีวี | |
5 | ยูกิโอ 5D's | 154 + 1 | 2 เมษายน 2551 | 30 มีนาคม 2554 | คัทซึมิ โอโนะ | แกลลอป | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | |
ภาพยนตร์ | ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ แมตช์มรณะข้ามเวลาพลิกอนาคต | 23 มกราคม 2553 | เคนอิจิ ทาเคชิตะ | - | ||||
6 | ยูกิโอ ZEXAL | 146 + 1 | 11 เมษายน 2554 | 24 กันยายน 2555 | ซาโตชิ คุวาบาระ | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | ||
7 | ยูกิโอ ZEXAL II | 7 ตุลาคม 2555 | 23 มีนาคม 2557 | ทีวีโตเกียว | ||||
8 | ยูกิโอ ARC-V | 148 | 6 เมษายน 2557 | 26 มีนาคม 2560 | คัทซึมิ โอโนะ | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | ||
ภาพยนตร์ | ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ ศึกปริศนาด้านมืด | 23 เมษายน 2559 | ซาโตชิ คุวาบาระ | |||||
9 | ยูกิโอ VRAINS | 120 | 10 พฤษภาคม 2560 | 25 กันยายน 2562 | มาซาฮิโระ โฮโซดะ (#1–13) คัตสึยะ อาซาโนะ (#14–120) |
ทีวีโตเกียว | ||
10 | ยูกิโอ SEVENS | 92 | 4 เมษายน 2563 | 27 มีนาคม 2565 | คนโด โนบุฮิโระ | บริดจ์ | ||
11 | ยูกิโอ โกรัช!! | 3 เมษายน 2565 | ||||||
รวมทั้งหมด | 1103 + 7 | 4 เมษายน 2541 | ปัจจุบัน | - |
เกมกลคนอัจฉริยะ
[แก้]เป็นครั้งแรกของ เกมกลคนอัจฉริยะ ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอนิเมะซึ่งผลิตขึ้นโดยโทเอแอนิเมชัน ได้ออกอากาศทางทีวีอาซาฮิ ในระหว่างวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 โดยออกฉายทั้งหมด 27 ตอน อนิเมะเรื่องนี้จะตัดเนื้อหาบางส่วนที่มาจากมังงะต้นฉบับออกโดยข้ามหลายบทและมักจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของมังงะ นอกจากนี้ในเนื้อเรื่องจะมีตัวละครที่ชื่อมิโฮะ โนซากะ เข้าร่วมกลุ่มของยูกิ ซึ่งเดิมทีเป็นตัวละครรองที่ปรากฏอยู่ในมังงะเกมกลคนอัจฉริยะแค่บทเดียวเท่านั้น การดัดแปลงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับงานอื่น ๆ ในแฟรนไชส์
ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์
[แก้]ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ หรือรู้จักในชื่อสั้น ๆ ว่า ยูกิโอ เป็นการดัดแปลงเป็นอนิเมะครั้งที่สองของแฟรนไชส์ที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ และแอนิมชันโดยสตูดิโอแกลลอป ในการดัดแปลงครั้งนี้จะมีเนื้อหาจากมังงะต้นฉบับในบทที่หกสิบเป็นต้นไปเท่านั้น ดังนั้นจะแตกต่างจากมังงะต้นฉบับหรืออนิเมะของโทเอแอนิเมชัน ตรงที่เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่เกม ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นเกมสะสมการ์ดที่เล่นในชีวิตจริงในชื่อ ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม ออกอากาศทางทีวีโตเกียว ในระหว่างวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยออกฉายทั้งหมด 244 ตอน ฉบับรีมาสเตอร์ของอนิเมะที่จะเน้นไปที่การดวลโดยเฉพาะได้ออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[15]
ยูกิโอ แคปซูลมอนสเตอร์
[แก้]ยูกิโอ แคปซูลมอนสเตอร์ เป็นอนิเมะภาคแยกที่มี 12 ตอน ผลิตและแก้ไขโดย4คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ออกอากาศที่ทวีปอเมริกาเหนือในระหว่างวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 อนิเมะเรื่องนี้ไม่ได้ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นแต่จะมีชื่ออยู่ในเว็บไซต์ของแกลลอปที่มีชื่อว่า ยูกิโอ ALEX[16][17]
นิยาย
[แก้]นวนิยายดัดแปลงที่มุ่งเน้นไปยังจุดเริ่มต้นของมังงะและบทเรื่องราว Death-T ที่เขียนเรื่องโดยคัทซึฮิโกะ ชิบะ ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยสำนักพิมพ์ชูเอชะ[18]
หนังสือเล่มอื่น
[แก้]ยูกิโอ คู่มือแนะนำตัวละคร: กอสเปลแห่งความจริง (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王キャラクターズガイドブック―真理の福音―; โรมาจิ: Yūgiō Kyarakutāzu Gaido Bukku Shinri no Fukuin) เป็นหนังสือแนะนำที่เกี่ยวข้องกับตัวละครจากจักรวาลต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะ ที่เขียนโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเผยแพร่ที่ประเทศฝรั่งเศสโดยสำนักพิมพ์คานาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549[19] ในหนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลส่วนตัวของตัวละครเช่น วันเดือนปีเกิด, ความสูง, น้ำหนัก, หมู่โลหิต, อาหารที่ชอบและอาหารที่ชอบน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังรวบรวมรายชื่อเกมที่ปรากฏอยู่ในมังงะต้นฉบับและอื่น ๆ อีกมากมาย
ดูเอลอาร์ต (ญี่ปุ่น: デュエルアート; โรมาจิ: Dyueruāt) เป็นหนังสือภาพที่วาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ในหนังสือภาพเล่มนี้จะมี รูปภาพการ์ดที่ใช้ในกรอบการ์ดครบรอบ[20], รูปภาพที่ทากาฮาชิโพสต์ลงเว็บไซต์, และรูปภาพต้นฉบับอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งที่เป็นรูปตัวละครหรือมอนสเตอร์[21][22]
ภาพยนตร์ & โทรทัศน์อนิเมะ ยูกิโอ ซูเปอร์คอมพลีตบุ๊ค (ญี่ปุ่น: 劇場&TVアニメ『遊☆戯☆王』スーパー・コンプリートブック; โรมาจิ: Gekijō & TV Anime Yūgiō Sūpā Konpurītobukku) เป็นหนังสือรวบรวมข้อมูลและรูปภาพเกี่ยวกับภาพยนตร์และอนิเมะเรื่องแรกของ เกมกลคนอัจฉริยะ เผยแพร่เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2542 หลังจากการเผยแพร่ภาพยนตร์ ยูกิโอ ของโทเอแอนิเมชัน[23]
ยูกิโอหนังสือภาพเคลือนไหวครบรอบ 10 ปี (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王 テンス アニバーサリー アニメーション ブック; โรมาจิ: Yūgiō! Tensu Anivāsarī Animēshon Bukku) เป็นหนังสือที่ทำออกมาเพื่อฉลองครบรอบสิบปีสำหรับการดัดแปลงเป็นอนิเมะเกมกลคนอัจฉริยะของนิฮงเอดีซิสเตมส์ ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 หนังสือเล่มนี้จะมีฉากจากภาพยนตร์ ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ แมตช์มรณะข้ามเวลาพลิกอนาคต, ข้อมูลตัวละคร, การดวลและบทสัมภาษณ์[24]
ภาพยนตร์
[แก้]ยูกิโอ (พ.ศ. 2542)
[แก้]อิงเรื่องมาจากเกมกลคนอัจฉริยะของโทเอแอนิเมชัน เป็นภาพยนตร์ที่ยาว 30 นาที ในเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่อาโอยามะ โชโกะ ซึ่งถูกเป็นเป้าหมายของไคบะ เซโตะ หลังจากที่ได้รับการ์ดหายาก เรดอายส์ แบล็คดราก้อน ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโทเอแอนิเมชันและบนวีเอชเอสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 [25]
เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ บทพีระมิดแห่งแสง
[แก้]เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ บทพีระมิดแห่งแสง หรือมักจะเรียกกันว่า ยูกิโอ เดอะมูฟวี่ ได้ออกฉายครั้งแรกที่ทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการพัฒนาสำหรับผู้ชมชาวตะวันตกโดยเฉพาะ โดยมีบริษัทสัญชาติอเมริกา4คิดส์ร่วมผลิตด้วยกันกับนิฮงเอดิซิสเตมส์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เป็นผลตอบรับมาจากความสำเร็จของแฟรนไชส์เกมกลคนอัจฉริยะในสหรัฐอเมริกา
ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ แมตช์มรณะข้ามเวลาพลิกอนาคต
[แก้]เป็นภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 10 ปีสำหรับอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ ในเนื้อเรื่องจะมีการรวบรวมเหล่าตัวละครหลักจากทั้ง 3 เรื่องได้แก่ มุโต้ ยูกิจากเกมกลคนอัจฉริยะ, ยูกิ จูไดจากเกมกลคนอัจฉริยะ GX และฟุโด ยูเชย์จากยูกิโอ 5D's เพื่อที่จะดวลกับศัตรูที่มีชื่อว่า พาราด็อกซ์ ออกฉายครั้งแรกในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553[26]
ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ ศึกปริศนาด้านมืด
[แก้]เป็นภาพยนตร์เฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของแฟรนไชส์ ที่เขียนบทโดยผู้สร้างคาซูกิ ทากาฮาชิ เรื่องราวในเรื่องจะต่อจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมังงะต้นฉบับเกมกลคนอัจฉริยะ 6 ปีให้หลัง โดยในเรื่องไคบะ เซโตะพยายามที่จะนำยูกิอีกคนกลับมาจึงได้ทำการดวลกับไอกามิที่เป็นตัวร้ายของเรื่องและมุโต้ ยูกิที่เป็นตัวเอก ออกฉายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 และได้ออกฉายที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 เมษายน ปี พ.ศ. 2560 ณ โรงภาพยนตร์ในเครือซินีเพล็กซ์[27][28] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดตัววิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่เรียกว่าอัญเชิญต่างมิติ (ญี่ปุ่น: 次元召喚; โรมาจิ: Jigen Shōkan; อังกฤษ: Dimension Summon) แต่ไม่ได้ถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกมแต่อย่างใด
ภาพแยก
[แก้]เกมกลคนอัจฉริยะ GX
[แก้]เกมกลคนอัจฉริยะ GX รู้จักในประเทศญี่ปุ่นว่า ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ GX เป็นภาคแยกลำดับที่หนึ่งของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 ออกฉายทั้งหมด 180 ตอน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่กี่ปีหลังจากเหตุการณ์ของยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ซึ่งจะติดตามตัวละครที่มีชื่อว่ายูกิ จูได ที่เพิ่งจะเข้าไปเรียนที่ดูเอลอคาเดเมีย โดยหวังที่จะเป็นดูเอลคิงคนต่อไป และดูเอลลิสต์ส่วนมากจะใช้วิธีเรียกมอนสเตอร์ที่อยู่ในต้นฉบับที่เรียกว่าอัญเชิญฟิวชัน (ญี่ปุ่น: ゆうごうしょうかん; โรมาจิ: Yūgō Shōkan; อังกฤษ: Fusion Summon)
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะโดยนาโอยูกิ คาเงยามะ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ในระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 มังงะนั้นจะไม่เหมือนกันกับอนิเมะ ดังนั้นจะเป็นเรื่องราวใหม่ที่มีมอนสเตอร์ใหม่และบุคลิกภาพของตัวละครที่แตกต่างกัน
ยูกิโอ 5D's
[แก้]ยูกิโอ 5D's เป็นภาคแยกลำดับที่สองของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศในระหว่างวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยออกฉายทั้งหมด 154 ตอน เนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่ดูเอลลิสต์นักขับรถจักรยานยนต์ชื่อฟุโด ยูเซย์ และเป็นการเปิดตัวแนวคิดใหม่ ๆ เช่น ไรด์ดิงดูเอล, การดวลที่จะเกิดขึ้นบนมอเตอร์ไซค์ที่เรียกว่า ดีวีล, และได้เปิดตัวซิงโครมอนสเตอร์กับวิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่มีชื่อว่าอัญเชิญซิงโคร (ญี่ปุ่น: シンクロしょうかん; โรมาจิ: Shinkuro Shōkan; อังกฤษ: Synchro Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะที่เขียนเรื่องโดยมาซาฮิโระ ฮิโกคุโบะ และวาดภาพประกอบโดยซาโต มาซาชิ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552
ยูกิโอ ZEXAL
[แก้]ยูกิโอ ZEXAL เป็นภาคแยกลำดับที่สามของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศในระหว่างวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 ออกฉายทั้งหมด 146 ตอน ฤดูกาลแรกออกอากาศเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 เนื้อเรื่องจะติดตามเด็กหนุ่มที่ชื่อว่าสึคุโมะ ยูมะ และบุคคลจากต่างโลกที่ชื่อว่าแอสทรัล ซึ่งเพื่อช่วยแอสทรัลนำความทรงจำที่หายกลับคืนมาจึงต้องรวบรวมการ์ดนัมเบอร์สทั้งหมด 100 ใบที่จะมีความทรงจำของแอสทรัลอยู่ และจะเหมือนกับ 5D's ตรงที่เพิ่มมอนสเตอร์แบบใหม่และวิธีอัญเชิญแบบใหม่ที่เรียกว่าอัญเชิญเอกซ์ซีส (ญี่ปุ่น: エクシーズしょうかん; โรมาจิ: Ekushīzu Shōkan; อังกฤษ: Xyz Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะที่เขียนเรื่องโดยชิน โยชิดะ และวาดภาพประกอบโดยนาโอโตะ มิยาชิ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553[29]
ยูกิโอ ARC-V
[แก้]ยูกิโอ ARC-V เป็นภาคแยกลำดับที่สี่ของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศในระหว่างวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 ออกฉายทั้งหมด 148 ตอน เนื้อเรื่องมุ่งเน้นไปที่ตัวเอกที่มีชื่อว่าซาคากิ ยูยะ ผู้มีเป้าหมายที่จะเป็นนักเอนเตอร์เทนเหมือนกับพ่อในโลกของแอคชันดูเอลที่ระบบโซลิดวิชันวิวัฒนาการไปอีกขั้น ซึ่งทำให้มอนสเตอร์กับดูเอลลิสต์ผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน และได้เปิดตัวเพนดูลัมมอนสเตอร์กับวิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่มีชื่อว่าอัญเชิญเพนดูลัม (ญี่ปุ่น: ペンデュラムしょうかん; โรมาจิ: Pendyuramu Shōkan; อังกฤษ: Pendulum Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม[30]
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะโดยนาโอฮิโตะ มิโยชิ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558
ยูกิโอ VRAINS
[แก้]ยูกิโอ VRAINS เป็นภาคแยกลำดับที่ห้าของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกประกาศครั้งแรกที่งาน ชูเอชะจัมป์เฟสต้า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และได้เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เนื้อเรื่องจะติดตามดูเอลลิสต์ที่ชื่อว่าฟูจิกิ ยูซาคุ ผู้มีเป้าหมายที่จะทำลายกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชื่อว่า อัศวินแห่งฮานอย โดยใช้นามแฝงในโลกไซเบอร์ว่า "เพลย์เมกเกอร์" และได้เปิดตัวลิงก์มอนสเตอร์กับวิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่มีชื่อว่าอัญเชิญลิงก์ (ญี่ปุ่น: リンクしょうかん; โรมาจิ: Rinku Shōkan; อังกฤษ: Link Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม[31][32]
ยูกิโอ SEVENS
[แก้]ยูกิโอ โกรัช!!
[แก้]เทรดดิงการ์ดเกม
[แก้]เกมกลคนอัจฉริยะ เทรดดิงการ์ดเกม เป็นเกมสะสมการ์ดสัญชาติญี่ปุ่นแบบหนึ่งต่อหนึ่งที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยโคนามิ ดัดแปลงมาจากแนวคิดของเกม ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ปรากฏอยู่ในมังงะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะ ซึ่งจะคล้ายกับเกมสะสมการ์ดอื่น ๆ ที่ผู้เล่นจะต้องใช้ความสามารถในการอ่าน, การคำนวณ, และหัวคิดในการใช้การ์ดเช่นใช้คอมโบระหว่างการ์ด มอนสเตอร์, เวทมนตร์, หรือกับดัก และในระบบการแพ้ชนะนั้นถ้าทำให้ผู้เล่นอีกฝ่ายไลฟ์พอยท์เหลือศูนย์หรือทำให้การ์ดในเด็คอีกฝ่ายหมดก็เป็นฝ่ายชนะ เปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2542 เกมจะมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ปีเช่นเพิ่มวิธีเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่และเพิ่มประเภทมอนสเตอร์แบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่าเป็นเกมสะสมการ์ดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมียอดขายการ์ดทั่วโลกประมาณ 25.2 พ้นล้านใบ[33]
วิดีโอเกม
[แก้]มีหลายวิดีโอเกมของแฟรนไชส์เกมกลคนอัจฉริยะที่จะถูกสร้างขึ้นโดยโคนามิ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากเกมสะสมการ์ดและเกมอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในมังงะ ส่วนใหญ่จะออกวางจำหน่ายบนเครื่องเล่นเกมและเครื่องเล่นเกมพกพา โคนามิยังได้สร้างเกมอาร์เคดที่ชื่อว่าดูเอลเทอร์มินอล ภายนอกเหนือเกมจากโคนามิ ยูกิได้ปรากฏตัวเป็นตัวละครที่สามารถเล่นได้ในเกมต่อสู้เช่น จัมป์ซูเปอร์สตาส์, จัมป์อัลทิเมตสตาส์ และจัมป์ฟอร์ซ[34][35]
การตอบรับ
[แก้]มังงะมียอดขายประมาณ 40 ล้านเล่ม[36] ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2545 นิตยสารโซเน็งจัมป์ได้รับรางวัล ICv2 สาขา "ผลิตภัณฑ์คอมิกแห่งปี" เนื่องจากมียอดขายที่ไม่เคยมีมาก่อนและประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงคอมิกส์กับสื่อโทรทัศน์ และยูกิโอเกมสะสมการ์ดเป็นหนึ่งในเกมสะสมการ์ดอันดับต้น ๆ ของปี[37] ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2551 ทีวีโตเกียว ได้รายงานว่ายูกิโอการ์ดมากกว่า 18 พ้นล้านใบได้ถูกขายทั่วโลก[38] และเมื่อปี พ.ศ. 2554 การ์ดมากกว่า 25.2 พ้นล้านใบ ได้ถูกขายทั่วโลก[33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "番組表". TV Asahi. May 23, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 1998. สืบค้นเมื่อ June 1, 2009.
- ↑ Peters, Megan (June 23, 2018). "'Pokemon' Is The Highest-Grossing Franchise Of All-Time". ComicBook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ August 13, 2018.
- ↑ "Yu-Gi-Oh! Series synopsis from the official Yu-Gi-Oh! Site". www.yugioh.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2017.
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 10 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 2 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 36 (ฉบับญี่ปุ่น) คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 16 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Shonen Jump. Volume 2, Issue 8. August 2004. VIZ Media. 140.
- ↑ Takeuchi Cullen, Lisa. "'I've Always Been Obsessed With Games'". Time Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-07-02. สืบค้นเมื่อ November 13, 2018.
In a game, the player becomes the hero. [...] The main character, Yugi, is a weak and childish boy who becomes a hero when he plays games. [...] As far as the manga story goes, I think all kids dream of henshin [...] if you combine the "yu" in Yugi and the "jo" in Jounouchi [...] Yujo translates to friendship in English, [...]
{{cite magazine}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 17 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! D Team ZEXAL
- ↑ เป็นบท
- ↑ Yu-Gi-Oh! OCG Structures
- ↑ Yu-Gi-Oh! Millennium World Volume 7. VIZ Media. 218.
- ↑ "2016 Yu-Gi-Oh! Film Teaser Recaps 20 Years of Manga, Anime". Anime News Network. December 22, 2014. สืบค้นเมื่อ August 22, 2016.
- ↑ "4KidsTV Fall Lineup". Anime News Network. May 16, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2006.
- ↑ "遊戯王 ALEX". สตูดิโอแกลลอป. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2562.
- ↑ "遊・戯・王 [Yu-Gi-Oh]". Shueisha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2017. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Shueisha - ↑ https://yugioh.fandom.com/wiki/Card_layout#Anniversary_layout
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Duel Art Kazuki Takahashi Yu-Gi-Oh! illustrations - ↑ https://www.youtube.com/watch?v=JySO8iMOVy0
- ↑ https://www.amazon.co.jp/劇場-TVアニメ『遊☆戯☆王』スーパー・コンプリートブック-週刊少年ジャンプ編集部/dp/4087827658[ลิงก์เสีย] Amazon Japan. Retrieved Feb 2013.
- ↑ https://www.amazon.co.jp/dp/408779542X Amazon Japan. Retrieved Feb 2013.
- ↑ "TOEI VIDEO RENTAL VIDEO INDEX". Toei Video. November 21, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2000. สืบค้นเมื่อ October 26, 2015.
- ↑ "News" (ภาษาญี่ปุ่น). Yugioh10th.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ December 17, 2013.
- ↑ "ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ ศึกปริศนาด้านมืด". Majorcineplex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "SDCC 2015 Yu-Gi-Oh! COVERAGE (+ ALL new poster)". Yu-Gi-Oh!. 4K Media Inc. July 12, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2015. สืบค้นเมื่อ July 21, 2015.
- ↑ "Yu-Gi-Oh! Zexal TV Anime's Promo Video Streamed". Anime News Network. December 17, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2015.
- ↑ "Yu-Gi-Oh! Gets New Arc-V TV Anime Next Spring". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2014. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
- ↑ "[Jump Festa 2017] Latest Information Stage: 6th Yu-Gi-Oh! Anime - The Organization". December 17, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2018.
- ↑ "New Yu-Gi-Oh! Anime Series Premieres in Japan in Spring 2017". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2016.
- ↑ 33.0 33.1 "Best-selling trading card game company - cumulative". Guinness World Records. March 31, 2011. สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
- ↑ "Jump Force Roster Now Includes Yu-Gi-Oh's Yami Yugi". PlayStation LifeStyle (ภาษาอังกฤษ). September 14, 2018. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ "DS / DSi - Jump Ultimate Stars". www.spriters-resource.com. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ 歴代発行部数ランキング (ภาษาญี่ปุ่น). Manga Zenkan. สืบค้นเมื่อ November 9, 2014.
- ↑ "ICv2 2002 Comic Awards, Part 1". ICv2. December 29, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2008. สืบค้นเมื่อ July 1, 2008.
- ↑ "18.1 Billion 'Yu-Gi-Oh!' Cards". ICv2. August 14, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2008. สืบค้นเมื่อ November 26, 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เกมกลคนอัจฉริยะ ที่โคนามิ
- เกมกลคนอัจฉริยะ ที่วิเกีย
- เกมกลคนอัจฉริยะ เก็บถาวร 2018-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ยูกิพีเดีย