[go: nahoru, domu]

อำเภอเขาฉกรรจ์

อำเภอในจังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย

เขาฉกรรจ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว เป็นที่ตั้งของเขาฉกรรจ์ เป็นจุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยที่ทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ได้ทรงรวบรวมคนไทยจากชุมนุมต่างๆ เพื่อกอบกู้เอกราชตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้ทรงกระทำพิธี ฉอ-กัณฑ์ และกอบกู้เอกราชสำเร็จ และเคยเป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปราจีนบุรี ภายหลังได้แยกพื้นที่การปกครองออกเป็นอำเภอวังน้ำเย็น[1][2]ทั้งหมด อำเภอวังสมบูรณ์[1]ทั้งหมด

อำเภอเขาฉกรรจ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khao Chakan
คำขวัญ: 
เขาหินแกร่ง แหล่งอารยธรรม ถ้ำเขาทะลุ กรุโครงกระดูก เพาะปลูกพืชไร่ ลิงไพรนับหมื่น ค้างคาวตื่นนับล้าน
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภอเขาฉกรรจ์
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภอเขาฉกรรจ์
พิกัด: 13°39′6″N 102°5′48″E / 13.65167°N 102.09667°E / 13.65167; 102.09667
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระแก้ว
พื้นที่
 • ทั้งหมด374.31 ตร.กม. (144.52 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,899 คน
 • ความหนาแน่น149.34 คน/ตร.กม. (386.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 27000
รหัสภูมิศาสตร์2707
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขาฉกรรจ์ หมู่ที่ 6 ถนนเขาฉกรรจ์-หนองใหญ่ ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 27000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเขาฉกรรจ์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

เดิมอำเภอเขาฉกกรรจ์เป็นส่วนหนึ่งของตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี เนื่องจากพื้นที่ตำบลเขาฉกรรจ์มีพื้นที่กว่า 1,082.8 ตารางกิโลเมตร ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลเขาฉกรรจ์ ได้แก่ พื้นที่หมู่ 8–9, 16–17 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลวังน้ำเย็น พื้นที่หมู่ 12, 18–19 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลวังสมบูรณ์ กับพื้นที่หมู่ 5, 13–14 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลตาหลังใน[1] และย้าย 3 ตำบลที่แยกขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอวังน้ำเย็นในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน[2][3]

ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2526 ได้ตั้งตำบลหนองหว้า โดยแยกพื้นที่หมู่ 4, 7–8, 10–11, 13–14 (ในขณะนั้น) ของตำบลเขาฉกรรจ์[4] และแยกพื้นที่หมู่ 1, 4, 7–8, 10, 17–19 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลพระเพลิง ในปี พ.ศ. 2527[5] ในปี พ.ศ. 2536 ทางราชการยังเห็นว่าตำบลเขาฉกรรจ์มีพื้นที่กว้างใหญ่ จึงแยกพื้นที่หมู่ 1–2, 4–5, 13–15, 17–18 (ในขณะนั้น) รวม 9 หมู่บ้านตั้งขึ้นเป็นตำบลเขาสามสิบ[6] ตำบลเขาฉกรรจ์จึงเหลือพื้นที่การปกครอง 9 หมู่บ้าน

ต่อมาจังหวัดปราจีนบุรีได้แยกพื้นที่อำเภอสระแก้วที่เป็นสระน้ำโบราณอยู่ 2 สระ ได้แก่ "สระแก้ว" และ "สระขวัญ" ซึ่งตามประวัติของจังหวัดสระแก้ว สระน้ำทั้งสองนี้ถือว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากได้นำน้ำจากสระไปใช้ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำทั้งสองสระนี้เรียกกันติดปากว่า สระแก้ว-สระขวัญ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระจายอํานาจมายังส่วนภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การให้บริการของรัฐ การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน การส่งเสริมให้ท้องที่เจริญยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อความมั่นคงของชาติ ประกอบกับจังหวัดปราจีนบุรีมีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก จึงเห็นสมควรแยกอําเภอต่าง ๆ บางอําเภอ ตั้งขึ้นเป็นจังหวัด จึงแยกอำเภอสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอตาพระยา อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น ตั้งเป็น จังหวัดสระแก้ว[7] เขาฉกรรจ์จึงมีฐานะเป็นตำบลในจังหวัดสระแก้ว

ในปี พ.ศ. 2537 ราษฎรในพื้นที่ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ให้ตั้งกิ่งอำเภอที่ตำบลเขาฉกรรจ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้ง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาฉกรรจ์ ตำบลหนองหว้า ตำบลพระเพลิง และตำบลเขาสามสิบ เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร ห่างไกลจากตัวอำเภอ จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอเมืองสระแก้ว รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย และเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 จึงตั้งกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์[8] ที่มาของชื่ออำเภอมาจากเขาฉกรรจ์ เป็นจุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรวบรวมคนไทยจากชุมนุมต่างๆ เพื่อกอบกู้เอกราชตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้ทรงกระทำพิธี ฉอ-กัณฑ์ และกอบกู้เอกราชสำเร็จ และปี พ.ศ. 2540 หลังจากตั้งเป็นกิ่งอำเภอเพียง 2 ปี ก็ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเขาฉกรรจ์[9] เนื่องจากพื้นที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเขาฉกรรจ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[10]
1. เขาฉกรรจ์ Khao Chakan
11
8,903
2. หนองหว้า Nong Wa
28
22,484
3. พระเพลิง Phra Phloeng
19
16,154
4. เขาสามสิบ Khao Sam Sip
13
8,402

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเขาฉกรรจ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเขาฉกรรจ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขาฉกรรจ์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาฉกรรจ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาฉกรรจ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเขาฉกรรจ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหว้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระเพลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระเพลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาสามสิบทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (137 ง): 3016–3023. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเย็น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (148 ง): 3598. วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเทพสถิต อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเนินมะปราง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอเสนางคนิคม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (50 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2526
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (141 ง): 3071–3074. วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2526
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้วและอำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3949–3955. วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2527
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  7. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (125 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 16. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
  9. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.