ออก
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ออก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | ɔ̀ɔk |
ราชบัณฑิตยสภา | ok | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /ʔɔːk̚˨˩/(สัมผัส) | |
ไฟล์เสียง |
รากศัพท์ 1
แก้ไขคำนาม
แก้ไขออก
- (โบราณ)คำนำหน้าบรรดาศักดิ์
- ออกพระ
- ออกหลวง
- ออกขุน
- (ภาษาถิ่น) เรียกพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดว่า พ่อออก แม่ออก
- เรียกเมืองที่สวามิภักดิ์ว่า เมืองออก
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำนาม
แก้ไขออก
- ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Haliaeetus leucogaster ในวงศ์Accipitridae หัวและด้านล่างของลำตัวสีขาว ปีกสีเทา กินปลาและงูทะเล
รากศัพท์ 3
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʔoːkᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອອກ (ออก), ภาษาคำเมือง ᩋᩬᨠ (ออก), ภาษาไทลื้อ ᦀᦸᧅᧈ (อ่อ̂ก), ภาษาไทดำ ꪮꪮꪀ (ออก), ภาษาไทใหญ่ ဢွၵ်ႇ (อ่อ̂ก), ภาษาพ่าเก ဢွက် (ออ̂ก์), ภาษาอาหม 𑜒𑜨𑜀𑜫 (ออ̂ก์), ภาษาจ้วง ok
คำกริยา
แก้ไขออก (คำอาการนาม การออก)
- อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง
- เลือดออก
- แดดออก
- เคลื่อนจากที่
- รถออก
- ทำให้ปรากฏ
- ออกภาพทางโทรทัศน์
- ทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น
- ออกกฎหมาย
- พ้นภาวะ
- ออกจากงาน
- แตก, ผลิ, งอก
- ออกกิ่ง
- ออกใบอ่อน
- ออกราก
- ผุดขึ้น
- ออกหัด
- จ่าย
- ออกเงิน
- แสดง
- ออกท่า
- นำ
- ออกหน้า
- เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง
- ออกเพลงเรือ
- ออกลูกหมด
- (คำกริยานุเคราะห์) เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า
- ใจออกจะโกรธ
- ออกฉุน
คำคุณศัพท์
แก้ไขออก
- ตรงข้ามกับ เข้า
- ทางออก
คำกริยาวิเศษณ์
แก้ไขออก
- ขยาย
- คลี่ออก
- แยกเป็นคนละส่วน
- แบ่งออก
- หลุดไปได้, สำเร็จไปได้
- ร้องออก
- ถอนออก
- ได้, ทำได้
- อ่านออก
- นึกออก
- คิดออก
- คำประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น
- ดำออกอย่างนี้