วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม
ขวดวัคซีนของซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | SARS-CoV-2 |
ชนิด | เชื้อตาย |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่ออื่น | Zhong'aikewei (จีน: 众爱可维), Hayat-Vax |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
DrugBank | |
BBIBP-CorV หรือ วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม[2] หรือ วัคซีน BIBP[2][3][4] เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (inactivated) อย่างหนึ่งในสองอย่างที่หน่วยงานของซิโนฟาร์ม คือสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products) เป็นผู้พัฒนา[5] เนื่องจากหน่วยงานมีชื่อภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งว่า Beijing Bio-Institute of Biological Products[6] จึงมีตัวย่อเป็นชื่อวัคซีนสองอย่าง คือ BBIBP และ BIBP แม้จะเป็นวัคซีนเดียวกัน วัคซีนได้ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศอาร์เจนตินา บาห์เรน โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรวม ๆ มีอาสาสมัครเกิน 60,000 คน[7] วัคซีนใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับโคโรนาแว็ก (ซิโนแวค) และโคแว็กซิน (ภารัตไบโอเทค) ซึ่งเป็นวัคซีนไวรัสเชื้อตายที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้สำหรับโควิด-19 เช่นกัน[8] ผลิตภัณฑ์มีป้ายชื่อว่า SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell)[9][10][11] จึงไม่ควรสับสนกับป้ายชื่อของซิโนแวค[12][13] วัคซีนเชื้อตายอีกอย่างที่บริษัทพัฒนาขึ้นมีรหัสว่า WIBP-CorV
ในเดือนพฤษภาคม 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารแพทย์ JAMA ซึ่งทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ผลแสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ต้านการติดเชื้อแบบมีอาการที่ร้อยละ 78.1 และการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงเต็มร้อย[14] ก่อนหน้านั้นในเดือนธันวาคม 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลการทดลองในระหว่างที่แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 86[15]
แม้วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่นวัคซีนของไฟเซอร์และของโมเดอร์นา จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก วัคซีนของซิโนฟาร์มจึงอาจใช้ในประเทศกำลังพัฒนาได้ดีเพราะสามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นแช่ยาปกติ[16]
วัคซีนได้นำไปฉีดให้แก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย[17][18] แอฟริกา[19][20][21] อเมริกาใต้[22][23][24] และยุโรป[25][26][27] บริษัทคาดว่าจะผลิตวัคซีนได้ 1,000 ล้านโดสในปี 2021[28] จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทได้จัดส่งวัคซีนประมาณ 200 ล้านโดสแล้ว[29]
ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในโปรแกรมโคแวกซ์[30][31] และโคแวกซ์ก็ได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อวัคซีน 170 ล้านโดสในกลางเดือนกรกฎาคม[32]
สำหรับประเทศไทย ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉิน[33][34] ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นผู้นำเข้าวัคซีนนี้โดยเป็นวัคซีนทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายและไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชนฟรี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถซื้อต่อจากราชวิทยาลัยไปฉีดให้บุคคลเป้าหมายต่าง ๆ ได้[35][36] ในกลางเดือนมิถุนายน ราชวิทยาลัยได้เปิดให้องค์กร/หน่วยงานลงทะเบียนจองวัคซีนโดยมีราคาเข็มละ 888 บาท และรวมค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา กับการประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว[37] แล้วต่อมาปลายเดือน จึงเริ่มให้ฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ[38] ในกลางเดือนกรกฎาคม ราชวิทยาลัยได้ให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบแรกจำนวน 40,000 รายโดยมีค่าใช้จ่าย 1,554 บาท (โดสละ 777 บาท) โดยรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วแต่ไม่รวมค่าบริการของ รพ. ที่ฉีดให้[39][38] ในวันที่ 1 สิงหาคม ราชวิทยาลัยเปิดเผยว่า ได้จัดสรรวัคซีนแล้ว 8.9 ล้านโดสรวมทั้งให้แก่บุคคลธรรมดาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[40] ในวันที่ 4 ต่อมา จึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 2 จำนวน 75,000 รายโดยมีค่าใช้จ่ายเท่ากับที่ให้บุคคลธรรมดาจองในรอบแรก[41] ในวันที่ 27 ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จะได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มปีนี้ทั้งหมด 11 ล้านโดส โดย 9 ล้านโดสจะส่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และอีก 2 ล้านโดสจะมาในเดือนต่อไป[42][43]
การแพทย์
[แก้]วัคซีนใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดลทอยด์ ฉีดสองเข็มโดยเว้นระยะ และยังไม่มีหลักฐานให้ฉีดเป็นเข็มที่สาม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะ 3-4 สัปดาห์ระหว่างโดส[44]
ประสิทธิภาพ
[แก้]งานศึกษาสถานการณ์จริงโดยวิธี test-negative analysis[A] ในประเทศบาห์เรน (14 วันหลังได้โดสที่สอง) ระบุว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ 90% (95% CI, 88–91%) สำหรับผู้หใญ่อายุระหว่าง 18-59 ปี และที่ 91% (87–94%) สำหรับผู้ใหญ่อายุ 60 ปีและยิ่งกว่า[46] แม้จะมั่นใจในประสิทธิศักย์ทั่วไปของวัคซีน แต่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกก็มั่นใจน้อยเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนสำหรับบุคคลที่มีโรคเกิดร่วมกัน (เช่นโรคประจำตัว) หญิงมีครรภ์ และคนชราเพราะมีอาสาสมัครเช่นนั้นน้อยในงานศึกษา[47]
ในเดือนเมษายน 2021 งานศึกษาที่ศูนย์สาธารณสุขอาบูดาบีในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคที่ต้องเข้า รพ. 93% ป้องกันการเข้าห้องไอซียู 95%
งานศึกษานี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพราะโควิดสำหรับผู้ที่ได้วัคซีนทั้งสองโดส
แต่ก็ไม่ชัดเจนว่ามีอาสาสมัครเป็นจำนวนเท่าไรในงานศึกษา[48]
ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขอาร์เจนตินารายงานว่าวัคซีนลดการเสียชีวิตประมาณ 62% หลังจากได้โดสแรก และ 84% หลังจากได้โดสที่สอง[49]
วันที่ 22 กรกฎาคม 2021 สถาบันสาธารณสุขแห่ชาติของเปรูรายงานว่า วัคซีนลดการเสียชีวิต 94% โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของคน 361,000 คน[50]
ในวันที่ 29 กรกฎาคม ผลเบื้องต้นจากงานศึกษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่มระบุว่า ระดับแอนติบอดีที่วัดได้จะลดลงตามอายุ คือ จากประมาณ 90% สำหรับผู้มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จนถึง 50% สำหรับผู้มีอายุเกิน 80 ปี ซึ่งแสดงนัยว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลงสำหรับคนสูงอายุ[51]
ประสิทธิศักย์
[แก้][[|thumb| คู่มือวัคซีนเป็นภาษาจีน ]] ในเดือนพฤษภาคม 2021 ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและตีพิมพ์ในวารสารแพทย์ JAMA แสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อโควิดทั้งแบบไม่แสดงอาการและแบบแสดงอาการ 74% (61–82%) มีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อที่แสดงอาการ 78% (95% CI, 65–86%) และต่อต้านการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงเกือบเต็มร้อย (ไม่พบในกลุ่มที่ได้วัคซีน พบ 2 รายในกรณีที่ได้ยาหลอก) มีอาสาสมัคร 12,726 คนที่ได้วัคซีน และ 12,737 คนที่ได้ยาหลอกในการทดลองนี้[14] ในเดือนธันวาคมปีก่อน กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองที่แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ 86% ต่อต้านโรคโควิด-19 และมีประสิทธิศักย์เกือบเต็มร้อยในการป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการปานกลางและรุนแรง[52]
สายพันธุ์ของโรค
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ งานศึกษาในแหล็บกับเซรุ่ม 12 ตัวอย่างที่ได้มาจากผู้ที่ฉีดวัคซีนนี้กับวัคซีน ZF2001 ปรากฏว่ายังคงระดับการลบล้างฤทธิ์ไวรัสสายพันธุ์เบตาได้ แม้จะลดลงเมื่อเทียบกับไวรัสดั้งเดิมบ้าง[53] ค่าเฉลี่ยของภูมิคุ้มกัน (geometric mean titers) ของวัคซีนลดลง 1.6 เท่า คือจาก 110.9 เหลือ 70.9 ซึ่งน้อยกว่าของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอที่ลดลงเป็น 6 เท่า[54] ข้อมูลการทดลองทางคลินิกเบื้องต้นแสดงว่าวัคซีนโนวาแวกซ์และจอนห์สันก็มีประสิทธิภาพการป้องกันโควิดลดลงในประเทศแอฟริกาใต้ที่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้ระบาดไปทั่ว[53]
ในเดือนมิถุนายน งานศึกษากับผู้รับวัคซีน 282 คนในศรีลังกา เป็นงานที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน พบว่า[55][56][57]
- 95% เกิด seroconversion หลังจากได้วัคซีน 2 โดส ซึ่งเป็นอัตราใกล้กับที่พบเมื่อติดเชื้อตามธรรมชาติ คนอายุมากกว่า 60 ปีจะเกิด seroconversion น้อยกว่าที่ 93% เทียบกับคนอายุ 20-39 ปีที่เกิดในอัตราสูงสุดคือ 99%
- 81% มีแอนติบอดีที่ลบล้างฤทธิ์ไวรัสได้ในสัปดาห์ที่ 6 โดยมีความเข้นข้นของแอนติบอดี (antibody titre) ในระดับเดียวกับที่พบเมื่อติดเชื้อตามธรรมชาติ
- ระดับแอนติบอดีต่อต้านสายพันธุ์เดลตาและเบตาอยู่ในระดับเดียวกับที่พบในการติดเชื้อตามธรรมชาติ แต่สำหรับสายพันธุ์อัลฟาจะอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก
- ความเข้มข้นของแอนติบอดี (antibody titre) ลบล้างฤทธิ์สายพันธุ์เดลตาจะลดลง 1.38 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สายพันธุ์เบตาจะลดลงถึง 10 เท่า
- วัคซีนยังก่อการตอบสนองของ T cell และ memory B cell ด้วยแม้จะในระดับที่อ่อนกว่าวัคซีนบางชนิดอื่น ๆ
การผลิต
[แก้]BBIBP-CorV เป็นวัคซีนเชื้อตายเหมือนกับซิโนแว็คและโคแว็กซิน ซึ่งใช้เทคโนโลยีผลิตวัคซีนเดิมที่มีอยู่แล้วเช่นดังที่พบในวัคซีนโปลิโอเชื้อตาย การผลิตวัคซีนเริ่มต้นที่การเพาะเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ 19nCoV-CDC-Tan-HB02 (HB02) ซึ่งสามารถแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็ว[58] โดยเพาะให้ได้เป็นจำนวนมาก ๆ ในวีโรเซลล์ แล้วจึงชุบไวรัสลงในสารประกอบอินทรีย์คือเบตาโพรพิโอแล็กโทน (β-Propiolactone) ซึ่งฆ่าเชื้อโดยเข้าเชื่อมกับยีนของไวรัสแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับอนุภาคไวรัส ผลิตภัณฑ์ไวรัสที่ได้ก็จะเติมตัวเสริม (adjuvant) ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงอะลูมิเนียม คือ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์[8][46]
ในอัปเดตเดือนตุลาคม 2020 บริษัทกล่าวว่าอาจผลิตวัคซีนได้เกิน 1,000 ล้านโดสในปี 2021[59]
ในเดือนธันวาคม อียิปต์ประกาศข้อตกลงระหว่างไซโนฟาร์มกับบริษัทอียิปต์เพื่อผลิตวัคซีนในประเทศ[60]
ในเดือนมีนาคม 2021 บริษัท G42 Healthcare ในดูไบได้ตกลงกับไซโนฟาร์มเพื่อผลิตวัคซีนมากจนถึง 200 ล้านโดสต่อปีสำหรับดูไบและประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง โดยจะมีตราสินค้าว่า Hayat-Vax[61]
ในเดือนมีนาคม เซอร์เบียประกาศแผนการผลิตวัคซีน 24 ล้านโดสต่อปีโดยจะเริ่มในเดือนตุลาคม[62]
ในเดือนเมษายน บังกลาเทศได้อนุมัติให้ผลิตวัคซีนนี้ในประเทศ[63]
ในเดือนกรกฎาคม บริษัท Sothema ของโมร็อกโกประกาศว่าจะผลิตวัคซีน 5 ล้านโดสต่อเดือน[64]
ประวัติ
[แก้]งานวิจัยทางคลินิก
[แก้]ระยะที่ 1 และ 2
[แก้]ในเดือนเมษายน 2020 จีนได้อนุมัติให้ทำการทดลองทางคลินิกกับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products)[65] และสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่น (Wuhan Institute of Biological Products) โดยทั้งสองเป็นส่วนของบริษัทไซโนฟาร์ม[66] วัคซีนทั้งสองเป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าด้วยสารเคมี (chemically inactivated)
ในวันที่ 15 ตุลาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่งได้ตีพิมพ์ผลที่ได้ในงานวิจัยระยะที่ 1 (มีอาสาสมัครผู้ใหญ่ 192 คน) และระยะที่ 2 (448 คน) สำหรับวัคซีน BBIBP-CorV โดยแสดงว่าปลอดภัยและคนไข้อดทนต่อผลต่าง ๆ ได้ดีสำหรับยาทุก ๆ ขนาดที่ใช้ในกลุ่มการทดลองแบ่งโดยอายุเป็น 2 กลุ่ม ผู้รับวัคซีนทั้งหมดเกิดสารภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในวันที่ 42 การทดลองเหล่านี้รวมผู้สูงอายุกว่า 60 ปี[65]
ในวันที่ 13 สิงหาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่นตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่าง (interim) การทดลองระยะที่ 1 (ผู้ใหญ่ 96 คน) แลระยะที่ 2 (224 คน) รายงานนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่า วัคซีนแบบไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้วมีผลไม่พึงประสงค์ในอัตราต่ำ และแสดงว่าก่อปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทาน (immunogenicity) แต่ความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ก็ยังต้องประเมินด้วยการทดลองระยะที่ 3[66] วัคซีนนี้อาจมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่สามารถให้แก่ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาได้ดี เช่น สามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นปกติ เทียบกับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น วัคซีนของไฟเซอร์ ซึ่งแม้จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก[67] บริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นาเป็นผู้พัฒนาหนึ่ง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเออันใหม่เอี่ยม แต่ผู้ผลิตอื่น ๆ ก็มีประสบการณ์เป็นสิบ ๆ ปีกับเทคโนโลยีแบบไวรัสเชื้อตายเช่นของซิโนฟาร์ม[67]
การทดลองระยะที่ 3
[แก้]แอฟริกาและเอเชีย
[แก้]ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2020 ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนในระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 31,000 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยร่วมมือกับบริษัท G42 Healthcare ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองอาบูดาบี[68] ในเดือนสิงหาคม อาสาสมัครทุกคนก็ได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว และจะได้รับโดสที่สองในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา[69] ในวันที่ 9 ธันวาคม กระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Health and Prevention) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศอนุญาตให้ใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ หลังจากผลการวิเคราะห์การทดลองระยะที่ 3 ในระหว่าง (interim) แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 86 ในการต้านโรค[52] วัคซีนมีอัตราสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ (sero-conversion, neutralizing antibodies) ที่ร้อยละ 99 และมีประสิทธิภาพเต็มร้อยในการป้องกันการเป็นโรคในระดับรุนแรงและปานกลาง[70] ในเดือนมิถุนายนปีต่อมา ซิโนฟาร์มเริ่มทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 กับเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปีโดยมีอาสาสมัคร 1,800 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[71]
ในวันที่ 2 กันยายน 2020 บริษัทเริ่มทำการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสามัคร 600 คนในเมืองกาซาบล็องกาและราบัต (ทั้งสองในประเทศโมร็อกโก)[72][73] ในเดือนกันยายน ประเทศอียิปต์เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งจะดำเนินอยู่ปีหนึ่งและรับอาสาสมัคร 6,000 คน[74]
ในเดือนสิงหาคม 2020 ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 6,000 คนในประเทศบาห์เรน[75][76] จนถึงเดือนพฤศจิกายน ได้รับอาสาสมัครในการทดลองนี้แล้ว 7,700 คนโดยทั้งหมดได้วัคซีนโดสที่สองแล้ว[77] ในปลายเดือนสิงหาคม บริษัทก็ได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศจอร์แดนกับอาสาสมัคร 500 คนด้วย[78][79]
อนึ่ง บริษัทยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยการาจีเพื่อทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัคร 3,000 คน[80] ซึ่งถ้าสำเร็จ ปากีสถานจะได้รับวัคซีนต้น ๆ สำหรับประชาชนประมาณ 1/5 ของประเทศ[81] โดยในเดือนพฤศจิกายน รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้แจ้งว่า วัคซีนจะมีใช้ในปากีสถานใน 6-8 สัปดาห์[80]
อเมริกาใต้
[แก้]วันที่ 10 กันยายน ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 ในประเทศเปรูโดยมีแผนให้วัคซีนแก่คน 6,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-75 ปี[82] ในเดือนตุลาคม นักวิจัยประกาศว่าจะขยายการทดลองเพิ่มอาสาสมัครอีก 6,000 คน[83] ในวันที่ 12 ธันวาคม เปรูหยุดการทดลองวัคซีนชั่วคราวหลังจากมีอาสาสมัครคนหนึ่งอ่อนล้าที่ขาก่อนจะดำเนินการต่อในวันที่ 16[84] ในวันที่ 26 มกราคมปีต่อมา อาสาสมัครที่ได้รับยาหลอกคนหนึ่งในการทดลองได้เสียชีวิตจากปอดบวมเนื่องกับโควิด[85]
ในวันที่ 16 กันยายน 2020 ประเทศอาร์เจนตินาได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 3,000 คน[86]
ดูรายชื่อประเทศที่อนุมัติวัคซีนโควิด-19 |
การขึ้นทะเบียนในเบื้องต้น
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2020 วัคซีนนี้ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีน[88] ในปลายเดือนธันวาคม จีนจึงได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้โดยทั่วไป[17]
ในต้นเดือนพฤศจิกายน บาห์เรนขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับบุคลากรด่านหน้า[77]
ในกลางเดือนธันวาคม ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของซิโนฟาร์ม โดยอ้างข้อมูลจากการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งแสดงประสิทธิศักย์ในอัตราร้อยละ 86 ซึ่งบาห์เรนมีส่วนร่วมทดลอง[89]
ในต้นเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับโปรแกรมโคแวกซ์[30][31]
ในเดือนมิถุนายน ฟิลิปปินส์ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[70]
วัน | จำนวน (โดส) |
รวม (โดส) |
รายเดือน (โดส) |
ส่งจริงรายเดือน (โดส) |
ส่งจริงรวม (โดส) |
---|---|---|---|---|---|
20 มิ.ย. | 1 ล้าน | 1 ล้าน | 1 ล้าน | 1 ล้าน | 1 ล้าน |
4 ก.ค. | 1 ล้าน | 2 ล้าน | |||
18 ก.ค. | 1 ล้าน | 3 ล้าน | |||
25 ก.ค. | 1 ล้าน | 4 ล้าน | 3 ล้าน | 3 ล้าน | 4 ล้าน |
1 ส.ค. | 1 ล้าน | 5 ล้าน | |||
15 ส.ค. | 1 ล้าน | 6 ล้าน | |||
22 ส.ค. | 2 ล้าน | 8 ล้าน | |||
29 ส.ค. | 2 ล้าน | 10 ล้าน | 6 ล้าน | 5 ล้าน | 9 ล้าน |
ก.ย. | 2 ล้าน | 11 ล้าน | 2 ล้าน |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนคน | จำนวนโดส | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
องค์กรนิติบุคคล | 2,264,957 | 4,529,914 | เริ่มฉีด 25 มิ.ย. |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | 1,965,944 | 3,931,888 | เริ่มฉีด 28 ก.ค. |
บุคคลธรรมดา | 57,034 | 114,068 | เริ่มฉีด 28 ก.ค. |
ประชาชนผู้เปราะบาง และผู้ด้อยโอกาส |
175,523 | 351,047 | |
รวมเป็นวัคซีนที่จัดสรรแล้ว | 8.9 ล้าน | ||
คงเหลือการจัดสรรอีก | 1.1 ล้าน |
ประเทศไทย
[แก้]สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉินแล้ว[33][34] ในวันเดียวกัน เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แจ้งว่า ราชวิทยาลัยจะเป็นผู้นำเข้าวัคซีนนี้ผ่านบริษัทไบโอจีนีเทค โดยเบื้องต้นจะนำเข้า 1 ล้านโดสในเดือนมิถุนายน มีราคาน่าจะไม่เกิน 1,000 บาทต่อโดส (ต้องฉีดสองโดส) ซึ่งรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วและเป็นราคาไม่หวังกำไร เป็นวัคซีนทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายและไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชนฟรี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถซื้อต่อจากราชวิทยาลัยไปฉีดให้บุคคลเป้าหมายต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยได้เลือกวัคซีนนี้เหตุผลหนึ่งก็เพราะได้การรับรองจากองค์การอนามัยโลก จึงทำให้ อย. พิจารณาได้ง่าย[35][36]
ในวันที่ 14 มิถุนายน ราชวิทยาลัยได้เปิดให้องค์กร/หน่วยงานลงทะเบียนจองวัคซีน โดยมีราคาเข็มละ 888 บาท และรวมค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา กับการประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว[37] ต่อมาวันที่ 18 ราชวิทยาลัยจึงสรุปยอดว่ามีองค์กรทั้งหมด 17,071 องค์กรและรายชื่อผู้ฉีดวัคซีน 4,873,659 ราย โดยจะจัดสรรวัคซีนให้แก่ 5,199 องค์กร รวม 476,682 ราย ต่อมาวันที่ 23 ราชวิทยาลัยได้จัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมให้แก่ 1,238 องค์กร รวม 302,618 ราย แล้วต่อมาวันที่ 25 จึงเริ่มฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ[38]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม ราชวิทยาลัยได้เปิดให้แพทย์ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโควิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนฟรี[90] ต่อมาวันที่ 18 ราชวิทยาลัยจึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบแรกจำนวน 40,000 รายโดยมีค่าใช้จ่าย 1,554 บาทสำหรับ 2 โดสโดยรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วแต่ไม่รวมค่าบริการของ รพ. ที่ฉีดให้[39][38] และได้เริ่มฉีดให้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมทั่วประเทศ[40]
ในวันที่ 1 สิงหาคม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เปิดเผยไทม์ไลน์การนำเข้าวัคซีน 10 ล้านโดสและแผนการจัดสรรและกระจายวัคซีน โดยมีใจความสำคัญรวมทั้ง[40]
- สถาบันชีววัตถุแห่งกรุงปักกิ่ง (BIBP) เป็นผู้ผลิตวัคซีนซิโนฟาร์มที่ใช้ในประเทศไทย
- ในการจัดสรร ราชวิทยาลัยพิจารณาความเร่งด่วนตามตามประเภทธุรกิจที่มีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ ระดับโอกาสความเสี่ยงในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงพื้นที่ของสถานประกอบการและที่พักอาศัย โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
- กลุ่มนิติบุคคล ซึ่งองค์กรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้บุคคลต่าง ๆ ได้รับวัคซีนนี้ฟรี
- กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการ ซึ่งองค์กรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ประชากรในพื้นที่ได้รับวัคซีนฟรี
- กลุ่มบุคคลธรรมดา
- กลุ่มประชาชนเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งวัคซีนส่วนหนึ่งมาจากองค์กรที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนระยะที่ 1 โดยร่วมบริจาคให้อย่างน้อย 10% ของจำนวนวัคซีนที่ได้ บวกกับที่ราชวิทยาลัยร่วมสมทบ “ครึ่งโดส” ต่อ 1 สิทธิ์การจองวัคซีนของบุคคลธรรมดา มีบุคคลที่จะได้วัคซีน 5 กลุ่มโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายคือ
- ผู้พิการ
- ผู้ด้อยโอกาส/ชุมชนแออัด
- ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง
- พระ/นักบวช
- กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบนัดของวัคซีนหลักได้และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ
- วัคซีนได้จัดสรรไปแล้ว 8.9 ล้านโดส คงเหลือการจัดสรรอีก 1.1 ล้านโดส
- ราชวิทยาลัยมีแผนขยายฉีดวัคซีนให้แก่เด็กและวัยรุ่นอายุ 3-17 ปี โดยที่รัฐบาลจีนได้อนุมัติสำหรับเด็กกลุ่มนี้ไปแล้ว
- เมื่อวัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือกของประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 ราชวิทยาลัยจะลดการนำเข้าและจัดสรรวัคซีนนี้ลง
- สำหรับการจัดสรรวัคซีนที่เหลือ 1.1 ล้านโดส ในเดือนสิงหาคม ราชวิทยาลัยจะเปิดให้บุคคลธรรมดาจองวัคซีนเพิ่มเติม และเปิดให้องค์กรนิติบุคคลลงทะเบียนเพื่อการจัดสรรวัคซีนระยะที่ 2 "โดยมีข้อกำหนดให้สำหรับองค์กรที่มีการยื่นขอเพื่อรับจัดสรรให้แก่พนักงานตั้งแต่ 100-2,000 คน"
ในวันที่ 4 สิงหาคม ราชวิทยาลัยได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 2 จำนวน 75,000 ราย ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนสองโดสอยู่ที่ 1,554 บาทต่อคน (โดสละ 777 บาท) โดยราชวิทยาลัยจะบริจาคสมทบครึ่งโดสให้กับผู้ด้อยโอกาส[41] ในวันที่ 11 ต่อมา จึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 3 จำนวน 100,000 รายโดยมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน[91] ในวันที่ 27 ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จะได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มปีนี้ทั้งหมด 11 ล้านโดส โดย 9 ล้านโดสจะส่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และอีก 2 ล้านโดสจะมาในเดือนต่อไป[42][43]
สังคมและวัฒนธรรม
[แก้]เศรษฐกิจ
[แก้]จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทได้จัดส่งวัคซีนประมาณ 200 ล้านโดสแล้ว[29] ในเดือนกรกฎาคม กาวีได้สั่งจองให้ส่งวัคซีนแก่โครงการโคแวกซ์ 60 ล้านโดสในไตรมาสที่ 3 และอาจให้ส่งมากถึง 170 ล้านโดสในครึ่งแรกของปี 2022[92][32]
เอเชีย
[แก้]ในต้นเดือนมิถุนายน อัฟกานิสถานได้รับวัคซีนบริจาค 700,000 โดสจากจีน[93]
ในเดือนกรกฎาคม อาร์มีเนียได้อนุมัติให้สั่งซื้อวัคซีน[94]
ในเดือนพฤษภาคม 2021 เพราะความเป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพ บาห์เรนมีแผนฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สามแก่กลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม[95]
ในเดือนเมษายน บังกลาเทศได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[96] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีนแล้ว 5.6 ล้านโดส จากที่จองซื้อ 15 ล้านโดสทั้งหมด[97]
ในเดือนกุมภาพันธ์ บรูไนได้รับวัคซีนที่จีนบริจาคให้เป็นล็อตแรก[98] ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[99]
ในเดือนกุมภาพันธ์ กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[100] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในวันที่ 10 กุมภาพันธ์[101] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีน 5.2 ล้านโดสแล้ว[102]
จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020 คนเกือบล้านคนในประเทศจีนก็ได้รับวัคซีนผ่านโปรแกรมให้ใช้เป็นการฉุกเฉินของจีน[7]
ในเดือนเมษายน อินโดนีเซียขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[103] ในเดือนพฤษภาคม จึงได้รับวัคซีนบริจาค 500,000 โดสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[104] ในเดือนกรกฎาคม วัคซีน 7.5 ล้านโดสจากที่สั่งซื้อ 15 ล้านโดสได้มาถึงประเทศโดยจะใช้เป็นวัคซีนทางเลือก ที่บริษัทเอกชนสามารถซื้อวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่พนักงานของบริษัทโดยไม่มีค่าใช้จ่าย[105]
ในเดือนกุมภาพันธ์ อิหร่านขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[106] ในกลางเดือนเมษายน ก็ได้รับวัคซีน 650,000 แล้วโดส โดย 400,000 โดสเป็นวัคซีนบริจาคจากสภากาชาดจีน[107]
ในเดือนมกราคม อิรักขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[108] ในต้นเดือนมีนาคม ก็ได้รับล็อตแรกเป็นวัคซีนบริจาคจากจีน โดยกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าจะสั่งซื้ออีก 2 ล้านโดส[109]
ในเดือนมกราคม 2021 จอร์แดนได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[110] จนถึงเดือนกรกฎาคม ประชาชน 1.37 ล้านคนได้รับวัคซีนโดสแรกและ 833,000 คนได้รับวัคซีนโดสที่สองแล้ว[111]
ในเดือนเมษายน 2021 คาซัคสถานได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[112] โดยได้สั่งจองวัคซีน 1 ล้านโดส[113]
ในเดือนมีนาคม 2021 ประเทศคีร์กีซสถานได้รับวัคซีนบริจาค 150,000 โดสจากจีน[114] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในปลายเดือน[115]
ในเดือนมกราคม 2021 ลาวได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในกรุงเวียงจันทน์[116] แล้วได้รับวัคซีนอีก 300,000 โดสต้นเดือนกุมภาพันธ์[117]
ในเดือนเมษายน เลบานอนได้รับวัคซีนบริจาค 90,000 โดสจากจีน[118][119] หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อต้นเดือนมีนาคม[120]
ในเดือนกุมภาพันธ์ มาเก๊าได้รับวัคซีน 100,000 โดสแรกจากที่สั่งไว้ 400,000 โดส[121]
ในเดือนมีนาคม มัลดีฟส์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[122] และปลายเดือนมีนาคม ก็ได้รับวัคซีน 100,000 โดสจากที่ได้รับบริจาคทั้งหมด 200,000 โดสจากจีน[123]
จนถึงเดือนพฤษภาคม มองโกเลียได้รับวัคซีนแล้ว 4 ล้านโดส[124] โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมแล้ว[125]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เนปาลได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[126] ในวันที่ 12 กรกฎาคม สำนักข่าวเอพีรายงานว่า จีนได้บริจาควัคซีนให้แล้ว 1.8 ล้านโดสและจะขายให้อีก 4 ล้านโดส[127]
ในเดือนมกราคม 2021 ปากีสถานขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[128] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนกุมภาพันธ์[129] ประเทศได้ซื้อวัคซีนแล้วโดยอาจมากถึง 23 ล้านโดส[130] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับแล้ว 6 ล้านโดสโดย 1 ล้านโดสเป็นวัคซีนบริจาคจากจีน[131]
ในเดือนมีนาคม 2021 ปาเลสไตน์ได้รับวัคซีน 100,000 โดสที่จีนบริจาคให้[132]
ในเดือนเมษายน 2021 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้รับวัคซีนหลังจากที่องค์กรควบคุมอาหารและยาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นความกรุณา (compassionate use) จำนวน 10,000 โดสแก่ผู้รักษาความปลอดภัยของเขา[133]
ในเดือนกรกฎาคม 2021 สิงคโปร์เริ่มนำเข้าวัคซีนโดยเป็นวัคซีนทางเลือก (Special Access Route)[134]
ในเดือนเมษายน ซีเรียได้รับวัคซีน 150,000 โดสที่จีนบริจาคให้[135]
ในเดือนมีนาคม ศรีลังกาขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[136] ประเทศได้สั่งวัคซีน 14 ล้านโดสนอกเหนือจากที่ได้รับบริจาคจากจีนแล้ว 1.1 ล้านโดส[137]
ในเดือนเมษายน 2021 เติร์กเมนิสถานได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ครูและบุคลากรทางการแพทย์[138]
ในกลางเดือนกันยายน 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ด้านหน้าหลังจากได้ผลในระหว่างของการทดลองระยะที่ 3[68] หลังจากวิเคราะห์ผลการทดลองในระหว่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม[52] ในวันที่ 14 ธันวาคม เมืองหลวงคืออาบูดาบีก็เริ่มให้วัคซีนนี้เป็นจำนวนมากแก่ประชาชนโดยให้สมัครใจเอง[139][140] ในเดือนมีนาคม 2021 คนจำนวนน้อยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สาม[141] ในเดือนพฤษภาคม เพราะความเป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุญาตให้แก่ประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สามถ้าได้ฉีดวัคซีนครบเกิน 6 เดือนแล้ว[95]
ในเดือนมิถุนายน เวียดนามได้รับวัคซีนบริจาค 500,000 โดสจากจีน[142] แล้วต่อมาอนุมัติให้นำวัคซีนเข้า 5 ล้านโดส[143]
แอฟริกา
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ แอลจีเรียได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[144]
ในเดือนมีนาคม แองโกลาได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[145]
ในเดือนเมษายน แคเมอรูนได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[146][147]
ในวันที่ 10 ธันวาคม วัคซีน BBIBP-CorV 50,000 โดสแรกได้ส่งมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติไคโรตามรัฐมนตรีสาธารณสุข (Ministry of Health and Population) ของอียิปต์ บุคลากรทางการแพทย์ผู้ทำการใน รพ. ที่กักตัวคนไข้และคนไข้ที่มีปัญหาทางไต หัวใจ และโรคเรื้อรังเป็นบุคคลแรก ๆ ผู้จะได้วัคซีน[148] ภายในปลายเดือนธันวาคม อียิปต์จะได้วัคซีนทั้งหมด 500,000 โดส[149] ในเดือนมกราคม อียิปต์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[150] แล้วสั่งจองวัคซีน 20 ล้านโดส โดย 1.5 ล้านโดสจะมาถึงภายในเดือนเมษายน[151] ประธานาธิบดีอียิปต์ประกาศว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเริ่มที่ปลายเดือนมกราคม[19]
ในเดือนมีนาคม เอธิโอเปียได้รับวัคซีนบริจาค 300,000 โดสจากจีน[152]
ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ อิเควทอเรียลกินีได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกลางเดือน[153]
ในเดือนมีนาคม กาบองได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนโดยเป็นวัคซีนชนิดที่สองได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในประเทศ[154]
โมร็อกโกได้สั่งซื้อวัคซีน 40.5 ล้านโดส โดย 8.5 ล้านโดสได้ส่งแล้วภายในเดือนพฤษภาคม[155] และประเทศได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อปลายเดือนมกราคม[156]
ในเดือนมีนาคม มอริเตเนียได้รับวัคซีนบริจาค 50,000 โดสจากจีน[157] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในปลายเดือน[158]
ในเดือนเมษายน มอริเชียสได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนแล้วสั่งเพิ่มอีก 500,000 โดส[159][160]
ในเดือนกุมภาพันธ์ โมซัมบิกได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[161] โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนมีนาคม[162]
ในเดือนมีนาคม นามิเบียได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนแล้วประกาศการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเริ่มในเขตภูมิภาคบางเขตก่อน[163][164]
ในเดือนมีนาคม ไนเจอร์ได้รับวัคซีนบริจาค 400,000 โดสจากจีนแล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในปลายเดือนมีนาคม[165]
ในเดือนกุมภาพันธ์ เซเนกัลได้รับวัคซีน 200,000 โดสที่ได้ซื้อ[166] แล้วเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในปลายเดือน[167]
ในเดือนกุมภาพันธ์ เซียร์ราลีโอนได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[168] แล้วได้ขึ้นทะเบียนเป็นการฉุกเฉินและฉีดให้แก่ประชาชนในกลางเดือนมีนาคม[169]
ในเดือนมกราคม เซเชลส์เริ่มฉีดวัคซีน 50,000 โดสที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[170][171]
ในเดือนเมษายน โซมาเลียได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[172] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน[173][174]
ในเดือนมีนาคม ซูดานได้รับวัคซีนบริจาค 250,000 โดสจากจีน[175][176]
ในเดือนมีนาคม สาธารณรัฐคองโกได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน ซึ่งจะจัดลำดับฉีดให้แก่ผู้เสี่ยงทางสุขภาพและผู้มีอายุเกิน 50 ปีก่อน[177]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ซิมบับเวสั่งซื้อวัคซีน 600,000 โดสนอกเหนือจากที่ได้รับบริจาคจากจีน 200,000 โดส[178] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในกลางเดือนกุมภาพันธ์[21] ต่อมาจึงสั่งเพิ่มขึ้นอีก 1.2 ล้านโดส[179]
ยุโรป
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ เบลารุสได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน[180] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในกลางเดือนมีนาคม[27]
ในเดือนกรกฎาคม ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้สั่งวัคซีน 500,000 โดส[181]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศจอร์เจียได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชน[182] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีนแล้ว 1 ล้านโดส[183]
ในเดือนมกราคม ฮังการีก็เป็นประเทศสมาชิกแรกในสหภาพยุโรปที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้นี้ โดยสั่งจองวัคซีน 5 ล้านโดส[184] และนายกรัฐมนตรีฮังการีก็ได้เป็นผู้รับวัคซีนเป็นคนแรกเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์[185] 5.2 million doses were delivered to Hungary by May, fulfilling the contract.[186]
ในเดือนมีนาคม มอลโดวาได้รับวัคซีนบริจาค 2,000 โดสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[187] ซึ่งจะใช้ฉีดให้แก่แพทย์เริ่มในปลายเดือน[188]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศมอนเตเนโกรได้รับวัคซีน 200,000 โดสซึ่งได้เริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในต้นเดือน[189]
ในเดือนเมษายน ประเทศนอร์ทมาซิโดเนียได้รับวัคซีน 200,000 โดสแรกจากที่สั่งไว้ 800,000 โดส[190] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนพฤษภาคม[191]
ในวันที่ 19 มกราคม เซอร์เบียได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้ จนถึงเดือนเมษายน ก็ได้รับวัคซีน 2.5 ล้านโดสแล้ว[192]
อเมริกาเหนือ
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ สาธารณรัฐโดมินิกันได้สั่งซื้อวัคซีน 768,000 โดส[193]
ในเดือนมีนาคม ประเทศดอมินีกาได้รับวัคซีนบริจาค 20,000 โดสจากจีนแล้วก็เริ่มฉีดให้แก่ประชาชนตั้งแต่ต้นเดือน[194][195]
ในเดือนมีนาคม เม็กซิโกประกาศว่า จะสั่งวัคซีน 12 ล้านโดสหลังจากที่องค์กรของรัฐได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[196]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศตรินิแดดและโตเบโกได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน ในเดือนกรกฎาคม จึงได้รับอีก 1 ล้านโดสที่สั่งซื้อ จึงรวมกันเป็น 1.1 ล้านโดส[197]
ในเดือนเมษายน ประเทศบาร์เบโดสประกาศว่า จะได้รับวัคซีนบริจาค 30,000 โดสจากจีน[198]
โอเชียเนีย
[แก้]ในเดือนเมษายน หมู่เกาะโซโลมอนได้รับวัคซีนบริจาค 50,000 โดสจากจีน[199]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศปาปัวนิวกินีได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้[200] ในต้นเดือนกรกฎาคม วัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีนก็ได้มาถึงประเทศ[201]
อเมริกาใต้
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ อาร์เจนตินาขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[202] แล้วขยายให้ใช้ในผู้มีอายุเกิน 60 ปีในปลายเดือนมีนาคม[22] จนถึงเดือนมิถุนายน วัคซีนได้มาถึงประเทศแล้ว 4 ล้านโดน โดยยังมีการสั่งเพิ่มอีก 6 ล้านโดส[203]
ในเดือนกุมภาพันธ์ โบลิเวียได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชน[24] ในเดือนมิถุนายน ก็ได้สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 6 ล้านโดสนอกเหนือจาก 2.7 ล้านโดสที่ได้รับแล้ว[204]
ในเดือนมีนาคม กายอานาได้รับวัคซีนบริจาค 20,000 โดสจากจีน[205] แล้วต่อมาจึงสั่งซื้อเพิ่มอีก 100,000 โดส โดยได้เริ่มฉีดให้แก่ผู้สูงอายุและบุคลากรทางการแพทย์[206]
ในเดือนมกราคม เปรูสั่งซื้อวัคซีน 38 ล้านโดส[207] ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในปลายเดือน[208] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์[23]
ในเดือนมีนาคม เวเนซุเอลาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[209] แล้วได้รับวัคซีนบริจาคจากจีนเป็นจำนวน 500,000 โดสในวันที่ 2 เดือนเดียวกัน[210]
ประเด็นขัดแย้ง
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มีการเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีคนก่อนของเปรูและนักการเมืองอาวุโสอื่น ๆ ได้รับวัคซีนในเดือนพฤศจิกายน 2020 ก่อนที่วัคซีนจะให้ฉีดแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป เป็นวัคซีนเหลือจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในกรุงลิมากับอาสาสมัคร 12,000 คน[211][212]
ในเดือนพฤษภาคม 2021 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดรีโก ดูแตร์เตขอโทษประชาชนเพราะได้รับวัคซีนนี้ในขณะที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ต่อมาเขาจึงระบุว่า จีนควรจะส่งแต่วัคซีนของซิโนแวค ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้นอุมัติแล้ว เขาระบุว่าเขาได้วัคซีนโดยอาศัยมาตราย่อยให้ใช้เพื่อความการุณย์ตามกฎหมาย โดยแพทย์เป็นผู้แนะนำให้ฉีด[213] ต่อมาในเดือนมิถุนายน ประเทศจึงได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[70]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ การศึกษาแบบ test-negative design หมายถึงงานศึกษาที่จัดอาสาสมัครผู้มีอาการติดโรคเช่นเดียวกันเข้าในกลุ่มติดโรค (case) และกลุ่มควบคุม (control) โดยใช้ผลตรวจจากแหล็บ (ว่าได้ติดโรคจริง ๆ หรือไม่) เป็นเกณฑ์การจัดเข้ากลุ่ม ตัวอย่างคือ การรับอาสาสมัครคนไข้ที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ แล้วซักประวัติคนไข้และประวัติการฉีดวัคซีน เก็บตัวอย่างจากคนไข้เพื่อไปตรวจ แล้วจึงประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยเปรียบเทียบการฉีดวัคซีนของคนไข้ที่ตรวจพบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ (ได้ผลบวก) หรือตรวจไม่พบ (ได้ผลลบ) ดังนั้น การรับอาสาสมัครเข้าเป็นกลุ่มควบคุมจึงต่างกับงานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control study) ธรรมดา[45]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Covax Facility" (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Federal government of Brazil. Brazilian Health Regulatory Agency. 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "The Sinopharm COVID-19 vaccine: What you need to know". World Health Organization. 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ Nguyen, Sen (2021-06-05). "Coronavirus: Vietnam approves Sinopharm's vaccine, but will people take it?". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ Lahiri, Tripti; Li, Jane (2021-06-16). "What we now know about the efficacy of China's Covid-19 vaccines". Quartz. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ 7.0 7.1 Reuters Staff (2020-11-19). "China Sinopharm's coronavirus vaccine taken by about a million people in emergency use". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 8.0 8.1 Corum, Jonathan; Zimmer, Carl (2021-04-26). "How the Sinopharm Vaccine Works". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations". World Health Organization. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
The Sinopharm product is an inactivated vaccine called SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Chen, W; Al Kaabi, N (2020-07-18). "A Phase III clinical trial for inactivated novel coronavirus pneumonia (COVID-19) vaccine (Vero cells)". Chinese Clinical Trial Registry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ Yang, Y. "A Study to Evaluate The Efficacy, Safety and Immunogenicity of Inactivated SARS-CoV-2 Vaccines (Vero Cell) in Healthy Population Aged 18 Years Old and Above". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ "Sinovac's Coronavac™, SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell), Inactivated, Announces Approval for Phase I/II Clinical Trial in Adolescents and Children" (Press release). Beijing: Bloomberg. Business Wire. 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ "A Multi-center, Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase II/III Clinical Trial to Evaluate the Safety and Immunogenicity of a SARS-CoV-2 Inactivated (Vero Cell) Vaccine in the Elderly 60-80 Years of Age, Coronovac ENCOV19 Study". registry.healthresearch.ph. Philippine Health Research Registry. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ 14.0 14.1 Kaabi, Nawal Al; Zhang, Yuntao; Xia, Shengli; และคณะ (2021-05-26). "Effect of 2 Inactivated SARS-CoV-2 Vaccines on Symptomatic COVID-19 Infection in Adults: A Randomized Clinical Trial". JAMA (ภาษาอังกฤษ). 326 (1): 35–45. doi:10.1001/jama.2021.8565. PMC 8156175. PMID 34037666.
- ↑ "UAE: Ministry of Health announces 86 per cent vaccine efficacy". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
- ↑ "China State-Backed Covid Vaccine Has 86% Efficacy, UAE Says". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 17.0 17.1 Liu, R (2020-12-31). "China gives its first COVID-19 vaccine approval to Sinopharm". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Turak, Natasha (2021-01-18). "The UAE is on track to have half its population vaccinated by the end of March". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ 19.0 19.1 Reuters Staff (2021-01-24). "Sisi says Egypt to begin COVID-19 vaccinations on Sunday". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
- ↑ Dumpis, Toms (2021-01-27). "Morocco Receives Half a Million Doses of Chinese Sinopharm Vaccine". Morocco World News. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
- ↑ 21.0 21.1 "Zimbabwe starts administering China's Sinopharm vaccines". thestar.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-20.
- ↑ 22.0 22.1 "Argentina autoriza la vacuna china Sinopharm para mayores de 60 años". El Comercio. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
- ↑ 23.0 23.1 Aquino, Marco (2021-02-10). "'The best shield': Peru launches inoculation drive with Sinopharm vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ 24.0 24.1 "Bolivia begins inoculation with Sinopharm jabs | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ "Serbia Becomes First European Nation To Use China's Sinopharm Vaccine". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ "Hungary first EU nation to use China's Sinopharm vaccine against COVID". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ 27.0 27.1 "Belarus begins COVID-19 vaccinations with Chinese shots". eng.belta.by (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "Which companies will likely produce the most COVID-19 vaccine in 2021?". Pharmaceutical Processing World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ 29.0 29.1 "WHO approves Sinopharm vaccine in potential boost to COVAX pipeline". Reuters. 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
- ↑ 30.0 30.1 "WHO lists additional COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations" (Press release). World Health Organization (WHO). 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ 31.0 31.1 Taylor, Adam (2021-05-07). "WHO grants emergency use authorization for Chinese-made Sinopharm coronavirus vaccine". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ 32.0 32.1 "Chinese drugmakers agree to supply more than half a billion vaccines to COVAX". Reuters. 2021-07-12. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ 33.0 33.1 "อย. อนุมัติทะเบียนวัคซีน COVILO (BIBP) ของ Sinopharm ที่นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด แล้ววันนี้ โดยวัคซีนนี้เป็นแบบชนิดเชื้อตาย กำหนดให้ใช้ 2 เข็มห่างกัน 21-28 วัน". สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2021-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ 34.0 34.1 "อย. อนุมัติขึ้นทะเบียน "วัคซีนซิโนฟาร์ม" ใช้ในภาวะฉุกเฉิน แล้ว". สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2021-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- ↑ 35.0 35.1 "สรุปข้อสงสัย วัคซีนซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มาเมื่อไร - คาดราคาไม่เกิน 1 พัน". kapook. 2021-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ 36.0 36.1 "#วัคซีน #ซิโนฟาร์ม เบื้องต้นราคาเข็มละไม่เกิน 1,000 บาท รวมประกันและขนส่ง". tnamcot. 2021-05-28.
- ↑ 37.0 37.1 "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดลงทะเบียนจองวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" วันแรก!". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-06-14.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 38.3 "โควิด-19 : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เริ่มฉีด "วัคซีนพระราชทาน" พร้อมเปิดวิธีลงทะเบียนจองซิโนฟาร์ม". BBC News ไทย. 2021-06-25.
- ↑ 39.0 39.1 "ลงทะเบียนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม รอบประชาชนทั่วไป เริ่ม 18 ก.ค." ประชาชาติธุรกิจ. 2021-07-18.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 "เปิดไทม์ไลน์ "วัคซีนซิโนฟาร์ม" 10 ล้านโดสนำเข้าไทย และแผนการจัดสรรและกระจายวัคซีนซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์". โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 2021-08-01.
- ↑ 41.0 41.1 "ลงทะเบียนจองฉีดซิโนฟาร์ม บุคคลธรรมดา วันนี้ (4 ส.ค.) ใครมีสิทธิ์บ้าง ?". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-08-04.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 "เปิดแผนจัดหาวัคซีน 140 ล้านโดสภายในสิ้นปี ยี่ห้อไหน ส่งมอบเมื่อไหร่". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-08-27.
- ↑ 43.0 43.1 "โควิด-19 : สธ. เปิดกลยุทธ์ 5 เดือน สู่การ "ใช้ชีวิตแนวใหม่อย่างปลอดภัย" เผยจัดหาวัคซีนได้ 124 ล้านโดสในสิ้นปีนี้". BBC News ไทย. 2021-08-28.
- ↑ Interim recommendations for use of the inactivated COVID-19 vaccine BIBP developed by China National Biotec Group (CNBG), Sinopharm (Guidance). World Health Organization. 2021-05-07. WHO/2019-nCoV/vaccines/SAGE_recommendation/BIBP/2021.1.
- ↑ Chua, Huiying; Feng, Shuo; Lewnard, Joseph A.; Sullivan, Sheena G.; Blyth, Christopher C.; Lipsitch, Marc; Cowling, Benjamin J. (2020). "The Use of Test-negative Controls to Monitor Vaccine Effectiveness". Epidemiology. 31 (1): 43–64. doi:10.1097/EDE.0000000000001116. ISSN 1044-3983.
- ↑ 46.0 46.1 Evidence Assessment: Sinopharm/BBIBP COVID-19 vaccine (PDF) (Presentation). World Health Organization. 2021-04-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
- ↑ Nebehay, Stephanie (2021-05-05). "WHO experts voice "very low confidence" in some Sinopharm COVID-19 vaccine data". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
- ↑ "Coronavirus: Sinopharm vaccine more than 90 per cent effective at preventing hospitalisation, Abu Dhabi study says". The National (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "Ministros de Salud de todo el país consensuaron redoblar esfuerzos para completar los esquemas de vacunación en mayores de 40 años" [Health ministers from all over the country agreed to redouble their efforts to complete vaccination schedules in people over 40 years of age] (ภาษาสเปน). Government of Argentina. Ministry of Health (Argentina). 2021-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
- ↑ Acosta, Sebastián (2021-07-22). "INS: Vacuna de Sinopharm tiene efectividad de hasta 94% para reducir muerte por COVID-19". RPP (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
- ↑ Ferenci, Tamás; Sarkadi, Balázs (2021-07-29). "Virus neutralizing antibody responses after two doses of BBIBP-CorV (Sinopharm, Beijing CNBG) vaccine". medRxiv (Preprint). doi:10.1101/2021.07.15.21260362. ISSN 2126-0362.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 Reuters Staff (2020-12-09). "UAE says Sinopharm vaccine has 86% efficacy against COVID-19". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 53.0 53.1 Liu, Roxanne (2021-02-03). "Sinopharm's COVID-19 vaccine remained active against S.Africa variant, effect reduced - lab study". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Huang, Baoying; Dai, Lianpan; Wang, Hui; Hu, Zhongyu; Yang, Xiaoming; Tan, Wenjie; Gao, George F. (2021-02-02). "Neutralization of SARS-CoV-2 VOC 501Y.V2 by human antisera elicited by both inactivated BBIBP-CorV and recombinant dimeric RBD ZF2001 vaccines". bioRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2021.02.01.429069. doi:10.1101/2021.02.01.429069. S2CID 231834094.
- ↑
"Tests in Sri Lanka find Sinopharm vaccine very effective". Colombo Gazette (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Jeewandara, Chandima; Aberathna, Inoka Sepali; Pushpakumara, Pradeep Dharshana; Kamaladasa, Achala; Guruge, Dinuka; Jayathilaka, Deshni; Gunesekara, Banuri; Tanussiya, Shyrar; Kuruppu, Heshan; Ranasinghe, Thushali; Dayarathne, Shashika (2021-07-19). "Antibody and T cell responses to Sinopharm/BBIBP-CorV in naive and previously infected individuals in Sri Lanka". medRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2021.07.15.21260621. doi:10.1101/2021.07.15.21260621. ISSN 2126-0621.
- ↑ "Sinopharm vaccine effective against coronavirus Delta variant, study finds". The National. 2021-07-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26.
- ↑ Wang, H; Zhang, Y; Huang, B; Deng, W; Quan, Y; Wang, W; และคณะ (2020-08-06). "Development of an Inactivated Vaccine Candidate, BBIBP-CorV, with Potent Protection against SARS-CoV-2". Cell. 182 (3): 713–721. doi:10.1016/j.cell.2020.06.008. ISSN 0092-8674. PMC 7275151. PMID 32778225.
We therefore chose the HB02 strain for the further development of the inactivated SARS-CoV-2 vaccine (BBIBP-CorV).
- ↑ Liu, R (2020-10-20). "Sinopharm says may be able to make over one billion coronavirus vaccine doses in 2021". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ "Chinese COVID-19 vaccine effective: Egypt's MoH". EgyptToday. 2020-12-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "Sinopharm Covid-19 shot dubbed Hayat Vax for local rollout after UAE-China deal". Arabian Business.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Serbia to produce 24 mln doses of China's Sinopharm vaccine annually - deputy PM". seenews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
- ↑ "Bangladesh OKs local production of Chinese, Russian vaccines". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ "Morocco's Sothema to produce China's Sinopharm vaccine". Reuters. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.
- ↑ 65.0 65.1 Xia, S; Zhang, Y; Wang, Y; Wang, H; Yang, Y; Gao, GF; และคณะ (October 2020). "Safety and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine, BBIBP-CorV: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 trial". The Lancet. Infectious Diseases. doi:10.1016/s1473-3099(20)30831-8. PMID 33069281.
- ↑ 66.0 66.1 Xia, S; Duan, K; Zhang, Y; Zhao, D; Zhang, H; Xie, Z; และคณะ (September 2020). "Effect of an Inactivated Vaccine Against SARS-CoV-2 on Safety and Immunogenicity Outcomes: Interim Analysis of 2 Randomized Clinical Trials". Jama. 324 (10): 951–960. doi:10.1001/jama.2020.15543. PMID 32789505.
- ↑ 67.0 67.1 "China State-Backed Covid Vaccine Has 86% Efficacy, UAE Says". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ 68.0 68.1 Maxwell, C. "Coronavirus: UAE authorises emergency use of vaccine for frontline workers" (ภาษาอังกฤษ). The National. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
- ↑ "Coronavirus: 15,000 register as volunteers for Covid-19 vaccine trial in UAE". The National (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
- ↑ 70.0 70.1 70.2 Aguilar, Krissy (2021-06-07). "PH approves Sinopharm COVID-19 vaccine for emergency use". Philippine Daily Inquirer.
- ↑ "Immuno-bridging Study of Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine in Healthy Population Aged 3-17 vs Aged 18 Years Old and Above (COVID-19)". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
{{cite journal}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Morocco orders R-Pharm Covid-19 vaccine | The North Africa Post". northafricapost.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ "Chinese Clinical Trial Register (ChiCTR) - The world health organization international clinical trials registered organization registered platform". www.chictr.org.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ "Egypt to start receiving volunteers for COVID-19 vaccine trials". Egypt Independent (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
- ↑ "Bahrain starts Phase III trial of Sinopharm's Covid-19 vaccine". Clinical Trials Arena. 2020-08-24.
- ↑ Manama, TD. "Vaccine trial continues | THE DAILY TRIBUNE | KINGDOM OF BAHRAIN". DT News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
- ↑ 77.0 77.1 Barrington, L (2020-11-03). "Bahrain allows Sinopharm COVID-19 vaccine candidate use in frontline workers". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
- ↑ Liu, R (2020-09-05). "China's CNBG, Sinovac find more countries to test coronavirus vaccines". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
- ↑ "Jordan starts phase 3 trial of China's COVID-19 vaccine". Jordan Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
- ↑ 80.0 80.1 "Coronavirus vaccine should be available in Pakistan 'within 6-8 weeks'". www.geo.tv (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-14.
- ↑ "China to supply potential coronavirus vaccine to Pakistan: WSJ report". Dawn (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
- ↑ "Third Phase of Human Trials for Coronavirus Vaccine Underway in Peru | Voice of America - English". www.voanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
- ↑ "6,000 additional volunteers required for trials of Sinopharm's COVID-19 vaccine" (ภาษาสเปน). Andina. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
- ↑ "Peru says China's Sinopharm may resume coronavirus vaccine trial after volunteer's illness". Reuters. 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ Aquino, Marco (2021-01-27). "Peru volunteer in Sinopharm vaccine trial dies of COVID-19 pneumonia, university says". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ "Clinical Trial to Evaluate the Efficacy, Immunogenicity and Safety of the Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine (COVID-19) - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
- ↑ "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process". World Health Organization (WHO).
- ↑ "Sinovac's coronavirus vaccine candidate approved for emergency use in China - source". Reuters. 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
- ↑ "Bahrain approves Chinese COVID-19 vaccine for use". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
- ↑ "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดทางหมอลงทะเบียนฉีดซิโนฟาร์มฟรี". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-07-09.
- ↑ "เช็กด่วน! เงื่อนไขการจอง "ซิโนฟาร์ม" รอบที่ 3 วันพุธ 11 ส.ค.นี้". sanook. 2021-08-09.
- ↑ "Gavi signs agreements with Sinopharm and Sinovac for immediate supply to COVAX". www.gavi.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ "Afghanistan gets 700,000 doses of a Chinese vaccine amid a Covid surge overwhelming Kabul". The New York Times. 2021-06-10.
- ↑ "Armenia to buy Sinopharm and Pfizer Covid-19 vaccines". arka.am. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.
- ↑ 95.0 95.1 Nair, Adveith (2021-05-18). "UAE, Bahrain Plan Sinopharm Booster Shots Amid Efficacy Concerns". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ Paul, Ruma (2021-04-29). "Bangladesh approves China's Sinopharm vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ "3 million more doses of Sinopharm Covid-19 vaccine to arrive on Thursday". Dhaka Tribune. 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.
- ↑ "Vaccine donation from China arrives | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
- ↑ "COVID-19: Brunei to begin mass vaccination on April 3". The Scoop (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ "Health Ministry grants Emergency Use Authorization to China's Sinopharm vaccine". Khmer Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "Lt Gen Manet first to be inoculated today with the Sinopharm vaccine". Khmer Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "Cambodia calls for 21-day interval between first and second doses for Sinopharm and Sinovac Covid-19 vaccines - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
- ↑ "Indonesia approves Sinopharm vaccine for private COVID-19 inoculation scheme". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ "INDONESIA RECEIVES GIFT OF 500.000 DOSES OF COVID-19 VACCINES FROM THE UNITED ARAB EMIRATES". Ministry of Foreign Affairs Republic of Indonesia. 2021-05-01.
- ↑ antaranews.com. "1.5 million doses of Sinopharm vaccine arrive in Indonesia". Antara News. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
- ↑ "Iran Launches Phase Two of Mass Inoculation Campaign". Financial Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "400k doses of Sinopharm COVID-19 vaccine arrives in Iran: Official". IRNA English (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
- ↑ Jangiz, Khazan. "Iraq approves the emergency use of two more COVID-19 vaccines". www.rudaw.net. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Iraq receives first Covid vaccines, gift from China". France 24. 2021-03-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Jordan approves China's Sinopharm Covid vaccine". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
- ↑ "Sinopharm is most used vaccine in Jordan, Pfizer most coveted: study". en.royanews.tv (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.
- ↑ Satubaldina, Assel (2021-04-30). "Three Vaccines to Become Available to Kazakh Citizens". The Astana Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Kazakhstan rolls out its own COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ KHARIZOV, Ruslan (2021-03-19). "150,000 doses of Sinopharm coronavirus vaccine delivered to Kyrgyzstan". 24.kg (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
- ↑ "Kyrgyz health minister is vaccinated as rollout begins". Информационное Агентство Кабар (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Thanabouasy, Phayboune (2021-01-27). "Laos Begins Vaccinations for Over 600 Medical Workers". Laotian Times. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Laos receives 300,000 vaccine doses from China". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "90,000 Sinopharm vaccines will join a trend in inoculations distributed outside the national vaccination plan". L'Orient Today. 2021-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
- ↑ "UAE sends Syria aid to help it fight spread of coronavirus". The Independent. 2021-07-08.
- ↑ Naharnet Newsdesk (2021-03-02). "Lebanon Authorizes Use of Chinese Vaccine Sinopharm". Naharnet. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
- ↑ "First Sinopharm Covid-19 vaccines to arrive today". Macau Business (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-07.
- ↑ "MFDA approves Pfizer, Sinopharm Covid-19 vaccines for emergency use". raajje.mv (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
- ↑ "Maldives receives shipment of 100,000 Chinese Sinopharm doses". raajje.mv (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ Stevenson, Alexandra (2021-05-20). "Countries Are Scrambling for Vaccines. Mongolia Has Plenty". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ "Deputy PM and City Governor get the first dose of Sinopharm vaccine". MONTSAME News Agency (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
- ↑ "China's Shinopharm vaccine gets emergency use authorisation in Nepal". kathmandupost.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ "US doses arrive as Nepal struggles to vaccinate population". AP News. 2021-07-12.
- ↑ Shahzad, Asif (2021-01-19). "Pakistan approves Chinese Sinopharm COVID-19 vaccine for emergency use". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ Dawn.com (2021-02-02). "PM Imran kicks off Pakistan's Covid-19 vaccination drive". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
- ↑ "Pakistan to receive 5m doses of Sinovac on July 5". Daily Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Over 20 million doses of Covid-19 vaccines transported from China to Pakistan". Daily Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
- ↑ "Palestinians receive 100,000 Sinopharm COVID-19 vaccines donated by China". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
- ↑ hermesauto (2021-05-03). "Philippines' Duterte receives first Sinopharm dose to encourage vaccine take-up". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-03.
- ↑ "11 Singapore private healthcare providers allowed to bring in Sinopharm COVID-19 vaccine". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
- ↑ Reuters Staff (2021-04-24). "Syria gets donation of 150,000 COVID shots from China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.
- ↑ "NMRA approves sinopharm vaccine for emergency use". Colombo Gazette (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "The Latest: Sri Lanka gets 2nd vaccine donation from China". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "В Туркменистане от COVID бесплатно прививают китайской вакциной, российский "Спутник" можно купить". Радио Азатлык (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "Abu Dhabi starts COVID-19 vaccinations". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ Kumar, A (2020-12-12). "UAE Covid-19 vaccine: Private hospitals start giving the jab". Khaleej Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ Sircar, Nandini. "UAE Covid vaccine: Third dose to help those with weak immunity". Khaleej Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Vietnam receives 500,000 Sinopharm COVID-19 vaccine doses donation from China". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-20. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑ "Vietnam licenses firm to import 5 mln doses of Sinopharm vaccine". Reuters. 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
- ↑ Presse, AFP-Agence France. "Algeria Receives 200,000 Coronavirus Jabs From China". www.barrons.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ "Angola recebeu doação chinesa de 200 mil doses de vacinas Sinopharm". Notícias ao Minuto (ภาษาโปรตุเกส). 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
- ↑ Kouagheu, Josiane (2021-04-11). "Cameroon receives 200,000 doses of Sinopharm COVID-19 vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ "Cameroon receives 200,000 doses of COVID-19 vaccines from China". Milken Institute. 2021-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
- ↑ "Egypt Receives First 50,000 Batch of Chinese COVID-19 Vaccine". Egyptian Streets (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.
- ↑ "Egypt to obtain 0.5 M COVID-19 doses by end of December: Cabinet Spox". EgyptToday. 2020-12-17. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ "Egypt approves Chinese COVID vaccine, roll-out likely this month". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
- ↑ "Egypt to purchase 20 million doses of Sinopharm vaccine". Egypt Independent (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "Ethiopia gets 300,000 virus vaccine doses from China". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ "Equatorial Guinea President receives 1st dose of Chinese COVID-19 vaccine". dailynewsegypt.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Gabon receives 100,000 doses of Sinopharm's vaccine from China". Gabon 24 (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "COVID-19: Morocco receives new batch of over 2 million Sinopharm doses | The North Africa Post". northafricapost.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ "Moroccan health ministry grants emergency approval to Sinopharm's Covid-19 vaccine". wam. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ "Mauritania receives first Covid-19 vaccines from China". Africanews (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Mauritania begins COVID-19 vaccination campaign". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
- ↑ "Mauritius receives 100,000 doses of Chinese vaccine". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
- ↑ "Mauritius Receives 100 000 Doses of Sinopharm Vaccine". allAfrica. 2021-04-14.
- ↑ "China, Africa and the Vaccine Donations". Modern Ghana (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
- ↑ Mucari, Manuel (2021-03-06). "Mozambique expects to vaccinate 16 million against coronavirus by 2022". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Charmaine Ngatjiheue; Shelleygan Petersen (2021-03-16). "Khomas, Erongo first to get vaccinated". The Namibian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ "Zimbabwe gets another 400,000 doses of China's Covid-19 vaccine". The EastAfrican. 2021-03-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "Covid-19 : Le Niger réceptionne 400.000 doses de vaccin SINOPHARM, un don de la Chine". Agence Nigérienne de Presse. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
- ↑ Reuters Staff (2021-02-18). "Senegal takes delivery of China's Sinopharm vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ AfricaNews (2021-02-23). "Senegal begins covid-19 vaccination with doses from China's Sinopharm". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
- ↑ AFP. "Sierra Leone to receive 200,000 virus vaccine doses". ewn.co.za (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ Thomas, Abdul Rashid (2021-03-15). "Sierra Leone's President Bio leads the way in taking COVID-19 Vaccine". SIERRA LEONE TELEGRAPH (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
- ↑ "Seychelles to start vaccinations with Chinese-made Sinopharm". AP NEWS. 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-08.
- ↑ Reuters Staff (2021-01-11). "Seychelles rolls out COVID-19 vaccination using China's Sinopharm, says president's office". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ "Somalia receives vaccines from China". BusinessGhana. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
- ↑
"Somalia rolls out Sinopharm vaccines to boost fight against COVID-19". News Ghana (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Somalia Rolls Out Sinopharm Vaccines (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-04-15
- ↑ "China To Provide Sudan With 250,000 Doses Of Sinopharm Vaccine On Friday - Ambassador". UrduPoint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
- ↑
"China-donated Sinopharm COVID-19 vaccines arrive in Sudan". dailynewsegypt.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Covid-19: le Congo-Brazzaville reçoit des milliers de doses du vaccin chinois Sinopharm". RFI (ภาษาฝรั่งเศส). 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
- ↑ Banya, Nelson (2021-02-11). "Zimbabwe purchases 600,000 Sinopharm COVID-19 vaccinations -information minister". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Reuters Staff (2021-02-24). "Zimbabwe to buy 1.2 million more COVID-19 vaccine doses from China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ "China sends 100,000 coronavirus vaccines to Belarus". eng.belta.by (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ "Finalized Contract for the Procurement of half a Million Doses of Sinopharm Vaccine". Sarajevo Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-02. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Georgia Starts COVID-19 Vaccination with Sinopharm". Civil.ge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "One mln doses of Sinopharm, Sinovac now in Georgia - mass vaccination to start on July 5". Agenda.ge. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Hungary signs deal for Chinese Sinopharm's COVID-19 vaccine, first in EU". nationalpost. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ "Hungary's PM Viktor Orbán vaccinated against COVID with Chinese Sinopharm vaccine". euronews. 2021-02-28.
- ↑ "Hungary takes last delivery of Sinopharm vaccine - BBJ". BBJ.hu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
- ↑ "Emiratele Arabe Unite au donat Republicii Moldova un lot de vaccin împotriva COVID-19". TV8 (ภาษาโรมาเนีย). 2021-03-13.
- ↑ Cristina (2021-03-19). "O mie de studenți și medici-rezidenți din cadrul USMF vor fi imunizați anti-COVID cu vaccinul BBIBP-CorV, produs de către Sinopharm Beijing Institute of Biological Products". Ziarul de Gardă (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ Trkanjec, Zeljko (2021-05-06). "1.5% of Montenegrin population vaccinated in one day". www.euractiv.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "North Macedonia looks to Chinese vaccine to revive program". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "North Macedonia speeds up vaccinations as EU aid arrives". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Serbia receives further 500,000 doses of China's COVID-19 vaccine". seenews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
- ↑ Lopez, Ezequiel Abiu (2021-02-16). "Dominican Republic launches COVID-19 vaccination campaign". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"Dominica: Melissa Skerrit receives the Sinopharm COVID-19 vaccine". WIC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "CITIZENS ENCOURAGED TO GET VACCINATED". Government Information Service, Government of the Commonwealth of Dominica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
- ↑ Jorgic, Drazen (2021-03-10). "Mexico leans on China after Biden rules out vaccines sharing in short term". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "[UPDATED] 800,000 vaccines arrive in Trinidad and Tobago". Trinidad & Tobago Newsday (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Barbados to get 30,000 doses of Chinese Sinopharm vaccine - PM Mottley". Barbados Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "China's Sinopharm Vaccine Arrives". Solomon Times Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ "Pacific: PNG and Solomon Islands to use China's Sinopharm vaccine". ABC Radio Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ "Chinese COVID-19 vaccine is in PNG". National Control Center for COVID-19. 2021-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
- ↑ Biannchi, Walter (2021-02-21). "Argentina approves Sinopharm COVID-19 vaccine for emergency use". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "The Government signed a new contract with Sinopharm and ensures that 2 million doses will arrive in June". Market Research Telecast (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
- ↑ "Bolivia se apoya en China para vacunas contra el COVID-19". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "China-donated Sinopharm vaccine received". Guyana Chronicle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-03.
- ↑ "Gov't purchases 100,000 Sinopharm vaccines". Stabroek News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
- ↑ Reuters Staff (2021-01-06). "Peru inks deals with Sinopharm, AstraZeneca for coronavirus vaccines -president". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- ↑ Aquino, Marco (2021-01-27). "Peru grants 'exceptional' approval for Sinopharm COVID-19 vaccine - government sources". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Sequera, Vivian (2021-03-01). "Venezuela approves use of China's Sinopharm coronavirus vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Sequera, Vivian (2021-03-02). "Venezuela receives donated coronavirus vaccine from China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
Long, Gideon. "Peru's political elite ensnared in 'Vacuna-gate' scandal". www.ft.com. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "6,000 additional volunteers required for trials of Sinopharm's COVID-19 vaccine" (ภาษาสเปน). Andina. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
- ↑ "Philippines' Duterte apologises for taking unapproved China jab". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Corum, Jonathan; Zimmer, Carl (30 December 2020). "How the Sinopharm Vaccine Works". The New York Times.