[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

คริสตอฟเฟอร์ ดยุกแห่งลอลันด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสตอฟเฟอร์แห่งเดนมาร์ก
ดยุกแห่งลอลันด์
เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก
พระรูปจำลองของเจ้าชายคริสตอฟเฟอร์บนซากหลุมฝังพระศพของพระองค์ที่มหาวิหารรอสคิลด์
ประสูติค.ศ. 1341
ทีคืบ, เฮลซิงเงือร์, เดนมาร์ก
สวรรคต11 มิถุนายน ค.ศ. 1363 (22 ปี)
โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
ฝังพระศพมหาวิหารรอสคิลด์, เกาะเชลลันด์, เดนมาร์ก
พระนามเต็ม
คริสตอฟเฟอร์ วัลเดมาร์เซน แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน
พระราชบิดาพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาเฮลวิกแห่งชเลสวิช
ศาสนาโรมันคาทอลิก

เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์แห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Christoffer Valdemarsen; ค.ศ. 1341 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1363) ดยุกแห่งลอลันด์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับเฮลวิกแห่งชเลสวิช เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นดยุกในค.ศ. 1359 และยังทรงได้รับเลือกให้เตรียมสืบราชบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์

เจ้าชายทรงถูกกล่าวถึงครั้งแรกในค.ศ. 1354 - 1355 และในค.ศ. 1358 เมื่อพระราชบิดาทรงส่งพระองค์ไปที่นูบอร์กเพื่อเจรจากับตัวแทนชาวจูตซึ่งก่อกบฏ พระองค์ทรงเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมือง และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นดยุกแห่งลอลันด์ พระองค์ทรงอ้างสิทธิว่าทรงเป็น ทายาทที่แท้จริงของชาวเดนส์และชาวสลาฟ เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสงครามยึดครองแคว้นสคาเนียคืน ซึ่งพระราชบิดาของพระองค์เป็นผู้ริเริ่มแผนการ เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์ทรงได้รับบาดเจ็บในยุทธการเฮลซิงบอรย์ ในค.ศ. 1362 ตามพงศาวดารเยอรมันกล่าวถึงอาวุธที่ทรงต้องทำให้พระองค์บาดเจ็บนั้นไม่ชัดเจนนัก แต่ตามพงศาวดารฉบับเฮนริก สมิธ ชาวสวีเดน ซึ่งเขียนในต้นศตวรรษที่ 16 ระบุว่า เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์ทรงถูกก้อนหินกระแทกขณะทรงต่อสู้บนทะเล ตามพงศาวดารนอร์ดิสก์ ฟามิลเยบ็อค เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์ทรงถูกปาก้อนหินเข้าที่พระเศียรและทรงทุกข์ทรมานกับอาการความผิดปกติทางจิต[1]

เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการประชวรในปีถัดมาที่โคเปนเฮเกน[2] แม้ว่าการสิ้นพระชนม์ของพระองค์มาจากอาการบาดเจ็บจากสงคราม แต่ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการบาดเจ็บจากสงครามส่งผลให้พระองค์ประชวรเรื้อรังอย่างไร

แทนที่พระศพจะได้รับการฝังที่โบสถ์ซอรือ พร้อมพระบรมศพของพระราชบิดาและพระราชมารดา แต่พระศพของพระองค์ได้รับการฝังที่มหาวิหารรอสคิลด์ พร้อมพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาของพระองค์ โลงพระศพของของพระองค์จัดทำมาจากแถบยุโรปกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรูปจำลองเศวตศิลาของอัศวินหนุ่มในชุดเกราะเต็มยศประดับด้วยอัญมณี ล้อมรอบด้วยโล่มุทรตราของเดนมาร์ก ฮัลลันด์และลอลันด์ โลงพระศพว่างเปล่าเนื่องจากพระศพของเจ้าชายอาจถูกฝังอยู่ใต้ดิน โลงพระศพเศวตศิลาในปัจจุบันได้รับการบูรณะในค.ศ. 1879 โดยประติมากร วิลเฮล์ม บิสเซน ซึ่งบูรณะจากชิ้นส่วนที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลังถูกทำลายจากการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์[3]

พงศาวลี

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. มาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จอห์นที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
9. อักเนสแห่งบรันเดินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. จัตตาแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. บาร์นิมที่ 1 ดยุกอห่งพอเมอเรเนีย
 
 
 
 
 
 
 
10. บอกิสเลาส์ที่ 4 ดยุกอห่งพอเมอเรเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรียนาแห่งสวีเดน?
 
 
 
 
 
 
 
5. ยูเฟเมียแห่งพอเมอเรเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. วิสเลาว์ที่ 2 เจ้าชายแห่งรือเก็น
 
 
 
 
 
 
 
11. มาร์กาเร็ตแห่งรือเก็น (ตาย 1320)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แอ็กเนสแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าชายคริสตอฟเฟอร์ ดยุกแห่งลอลันด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. อีริคที่ 1 ดยุกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
12. วัลเดมาร์ที่ 4 ดยุกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. มาร์กาเร็ตแห่งรือเก็น (ตาย 1272)
 
 
 
 
 
 
 
6. อีริคที่ 2 ดยุกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. จอห์นที่ 1 ดยุกแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
13. เอลิซาเบธแห่งซัคเซิน-เลาบวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อิงเงบอร์ก เบอร์เกอร์สด็อทเทอร์แห่งบีเจลโบ
 
 
 
 
 
 
 
3. เฮลวิกแห่งชเลสวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เกอร์ฮาร์ดที่ 1 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-อิตเซโฮ
 
 
 
 
 
 
 
14. เฮนรีที่ 1 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-เรนส์บวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เอลิซาเบธแห่งเมคเลินบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
7. อเดลไฮด์แห่งฮ็อลชไตน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. วิเลเลียม เคานท์แห่งบร็อนก์โฮลร์ท-เร็คเฮล์ม
 
 
 
 
 
 
 
15. ไฮวิก ฟอน บร็อนก์โฮลร์ท
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เออร์เมนการ์ดแห่งรันเดอโรด
 
 
 
 
 
 

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "1453–1454 (Nordisk familjebok / Uggleupplagan. 14. Kikarsikte – Kroman)". Runeberg.org. 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  2. "Christoffer | Gyldendal – Den Store Danske" (ภาษาเดนมาร์ก). Denstoredanske.dk. 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  3. "Christoffer Valdemarssøn". roskildehistorie.dk.

อ้างอิง

[แก้]
  • Jörgensen Ellen: Valdemar Atterdag. Utvalg af kilder. Copenhagen 1911.
  • Gottfrid Carlsson (1945). Medeltidens nordiska unionstanke. Stockholm: Gebers. pp. 33–34.
  • Nordisk familjebok (1911), band 14, s. 1453–1454 (länk)