[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

จิตติ ติงศภัทิย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตติ ติงศภัทิย์
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม พ.ศ. 2527 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ก่อนหน้าพันเอก นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)
ถัดไปพลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มีนาคม พ.ศ. 2451
อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 2538 (86 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงตลับ ติงศภัทิย์

ศาสตราจารย์พิเศษ จิตติ ติงศภัทิย์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักกฎหมายชาวไทย ดำรงตำแหน่งองคมนตรีตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2538 และถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง

จิตติประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายมาเป็นเวลานานจนได้รับยกย่องเป็นปรมาจารย์แห่งวงการกฎหมายไทย และได้รับการกล่าวขานว่า ตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ยุติธรรม[1]

ประวัติ

[แก้]

จิตติเกิดที่อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร บิดาชื่อ ทองจีน ติงศภัทิย์ มารดาชื่อละม้าย ติงศภัทิย์ มีน้องสาวชื่อ สำเนียง

บิดาของจิตติเสียชีวิตไปตั้งแต่จิตติอายุได้เพียง 4 ขวบ มารดาได้เริ่มสอนหนังสือให้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน จากนั้น ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนครูเชย

การศึกษา

[แก้]
  • พ.ศ. 2467 สอบไล่ได้มัธยมบริบูรณ์ (มัธยม 8) จากโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
  • พ.ศ. 2470 สำเร็จเนติบัณฑิตชั้นที่ 2 จากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2485 สำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
  • พ.ศ. 2500 ท่านได้สำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต LL.M. (Magna Cum Laude) และกฎหมายเปรียบเทียบ MC.L. จากมหาวิทยาลัย Southern Methodist University, Dallas, Texas ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้รับเกียรตินิยมและเกียรติประวัติ ว่าทำคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของห้องและเป็นคะแนนที่สูงสุดนับแต่เปิดหลักสูตรนี้มา

ชีวิตครอบครัว

[แก้]

สมรสกับ คุณหญิงตลับ (โล่ห์สุวรรณ) ติงศภัทิย์ เภสัชศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรีนายร้อยเอกหลวงมลายบรจักร (บุญมี โล่ห์สุวรรณ) และนางจรูญ มลายบรจักร (จรูญ โล่ห์สุวรรณ) เมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2489 มีบุตร-ธิดา เป็น ชาย 1 หญิง 5 คือ

  1. จินตลา วิเศษกุล สมรสกับ มยูร วิเศษกุล มีบุตร 2 คน คือ ฟ้าใส วิเศษกุล และไปรยา วิเศษกุล
  2. จาริต ติงศภัทิย์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์กัลยา จิตรพงศ์ มีบุตร 1 คน คือ รมณียา ติงศภัทิย์
  3. จิตริยา ปิ่นทอง สมรสกับ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง มีบุตร 1 คน คือ จารีย์ ปิ่นทอง
  4. จาตุรี ติงศภัทิย์
  5. จีรติ เมลกา สมรสกับ นายมาร์ค เมลกา
  6. พิรุณา ติงศภัทิย์

การทำงาน

[แก้]

รับราชการเป็นพนักงานอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 และได้โอนย้ายมารับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ต่อมาใน พ.ศ. 2512 จึงลาออกจากราชการเพราะรับราชการนาน ในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (ปัจจุบันคือฝ่ายกฎหมาย) ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุราชการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ดังนี้

  • 2514–2517 คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]
  • 2517 ประธานวุฒิสภา
  • 2520 ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (ชุดแรก)
  • 2527 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2527[3] จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538

หน้าที่ราชการพิเศษ

[แก้]
หนังสือจิตติ ติงศภัทิย์ แบบอย่างแห่งสามัญชน
  1. ประธานคณะกรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 6 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  2. ประธานคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ กองที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  3. กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
  4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
  5. กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  6. กรรมการส่งเสริมพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคม
  7. กรรมการพิเศษพิจารณาสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ
  8. กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์
  9. ประธานคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
  10. กรรมการประจำคณะ และกรรมการปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  11. อาจารย์พิเศษที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และวิชากฎหมายอาญาที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  12. ที่ปรึกษากฎหมาย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  13. กรรมการในคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists) โดยเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ฯ

นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการประกาศให้เป็น “นักกฎหมายดีเด่น” โดยสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2526 และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2533 กลุ่มสาขานิติศาสตร์

ผลงานทางวิชาการ

[แก้]
  • ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน
  • ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบัญชีเดินสะพัด และตั๋วเงิน
  • ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล
  • ตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 354-452
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 395-405, มาตรา 406-419 เรื่องจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 241-452 ร่วมกับ ยล ธีรกุล
  • รวมหมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกา กฎหมายลักษณะครอบครัวรวบรวมโดยไพโรจน์ กัมพูสิริ
  • หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้ แต่งโดย จี๊ด เศรษฐบุตร แก้ไขเพิ่มเติมโดยจิตติ ติงศภัทิย์ และดาราพร ถิระวัฒน์
  • ความรู้เบื้องต้นแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ แก้ไขเพิ่มเติมโดยจิตติ ติงศภัทิย์
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 1
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และภาค 3
  • แนวคำบรรยายอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ร่วมกับไชยเจริญ สันติศิริ
  • หลักวิชาชีพนักกฎหมาย
  • Credit and Security in Thailand : the Legal Problems of Development Finance, St.Lucia, New York. University of Queensland Press, 1974

ตำรากฎหมายดังกล่าวของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ยังคงใช้เป็นตำรามาตรฐานทางด้านกฎหมาย และได้รับการอ้างอิงเรื่อยมาในปัจจุบัน[4] โดยเฉพาะตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์[5]และคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ทั้งสามภาค[6]

ทัศนคติในเชิงคุณธรรม

[แก้]

ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้เคยกล่าววลีอมตะไว้ว่า “ นักกฎหมายต้องมีความบริสุทธิ์ และมี ความยุติธรรมเป็นเป้าหมาย” ท่านเป็นผู้ริเริ่มการเรียนการสอนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในเรื่องการใช้หลักรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ในการปกครองบ้านเมืองและตัดสินคดีนั้น โดยท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า “ก่อนที่จะออกกฎหมายผู้ตรากฎหมายต้องดูข้อ เท็จจริงแวดล้อมของสังคมซึ่งก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ในการพิจารณาเพื่อให้ กฎหมายเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ แต่เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วการวินิจฉัยตัดสินคดีก็ต้องใช้กฎหมายคือ ใช้หลักนิติศาสตร์เป็น justice under law จะมาใช้หลักรัฐศาสตร์ในการตัดสินคดีไม่ได้”[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิติสโมสร
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายจิตติ ติงศภัทิย์ หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช)
  4. "เกียรติคุณประกาศ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-31. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
  5. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เก็บถาวร 2007-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "เนติบัณฑิตยสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
  7. "สำนักพิมพ์วิญญูชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่ผู้วายชนม์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๗๐๐, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๒, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๓๒๘, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จิตติ ติงศภัทิย์ ถัดไป
นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)

ประธานวุฒิสภา
(7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล