กูเฮง ยาวอหะซัน
กูเฮง ยาวอหะซัน | |
---|---|
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | พันตํารวจเอก ทวี สอดส่อง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2508 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2548-2551) ชาติไทยพัฒนา (2556-2561) ภูมิใจไทย (2561) ประชาชาติ (2561—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | รัตติกร ยาวอหะซัน |
กูเฮง ยาวอหะซัน (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2508) เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส[1] 3 สมัย
ประวัติ
[แก้]กูเฮง ยาวอหะซัน เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เป็นบุตรของนายกูเซ็ง และนางแมเนาะ ยาวอหะซัน[2]และเป็นน้องชายของนายวัชระ ยาวอหะซัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาสมรสกับรัตติกร ยาวอหะซัน และมีบุตร–ธิดา 2 คน
งานการเมือง
[แก้]กูเฮง เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2550 รวม 2 สมัย
พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย
ในปี พ.ศ. 2556 กูเฮงได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา
ใน พ.ศ. 2561 กูเฮงรวมถึงบิดาคือนายกูเซ็งพร้อมกับทีมงานได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคภูมิใจไทย แต่ต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาชาติ[3] และได้รับเลือกตั้ง[4] เป็นสมัยที่ 3
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]กูเฮง ยาวอหะซัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “ส.ส.กูเฮง” เส้นทางเสี่ยง! นักการเมืองชายแดนใต้ กับคำสอนของ”บรรหาร”
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ เบื้องลึก "ยาวอหะซัน" หักดิบภูมิใจไทย
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแว้ง
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- มุสลิมชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.