[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557
16 มีนาคม ค.ศ. 2014 (2014-03-16)

Map of the Crimean peninsula with its political subdivisions
เขตการปกครองไครเมียลงสีตามผลจากประชามติ
ระบบการลงคะแนนการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย[a][ต้องการอ้างอิง]
เข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย
  
96.77%
ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญฉบับ 1992
  
2.51%
บัตรเสีย
  
0.72%
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง: 83.1%
เซวัสโตปอล[1]
เข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย
  
95.60%
ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญฉบับ 1992
  
3.37%
บัตรเสีย
  
1.03%
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง: 89.5%
แบบลงประชามติ

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 โดยสภานิติบัญญัติไครเมีย ตลอดจนรัฐบาลท้องถิ่นเซวัสโตปอล ซึ่งทั้งสองเป็นเขตการปกครองหนึ่งของประเทศยูเครน การลงประชามตินี้ถามประชาชนของทั้งสองเขตว่า คุณจะรวมไครเมียกับรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย หรือคุณต้องการฟื้นฟูรัฐธรรมนูญยูเครนปี 2535 และสถานภาพของไครเมียโดยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน ตัวเลือกที่มีอยู่นั้นไม่รวมการรักษาสถานะเดิมของไครเมียและเซวัสโตปอลขณะที่จัดการลงประชามติ นักวิจารณ์หลายคนแย้งว่า ทั้งสองตัวเลือกล้วนส่งผลให้เกิดเอกราชโดยพฤตินัย[2][3][4]

หลังการลงมติ ทางการชี้ว่า ผู้ออกเสียงกว่า 96% สนับสนุนตัวเลือกเข้าร่วมกับประเทศรัสเซีย[5] โดยมีผู้มาใช้สิทธิกว่า 80%[6][7][8] มีรายงานว่า บุคคลสามารถออกเสียงลงคะแนนได้หลายครั้งและบุคคลออกเสียงลงคะแนนได้แม้บุคคลนั้นไม่ได้เป็นชาวไครเมีย โดยมีผู้มาใช้สิทธิเกิน 100% ในบางพื้นที่[9][10]

วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียและนครเซวัสโตปอลออกคำประกาศอิสรภาพไครเมียและเซวัสโตปอล แสดงความตั้งใจเข้าร่วมกับประเทศรัสเซียในระหว่างผลสนับสนุนในการลงประชามติ[11][12]

โลกตะวันตกประณามการลงประชามตินี้อย่างกว้างขวางในเรื่องความชอบธรรมและเหตุการณ์แวดล้อม สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและอีกหลายชาติประณามการตัดสินใจจัดการลงประชามติ มาฮ์จิสชาวตาตาร์ไครเมีย สมาคมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการของชาวตาตาร์ไครเมีย เรียกร้องการคว่ำบาตรการลงประชามตินี้[13][14] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถผ่านข้อมติในการประกาศให้การลงประชามตินี้ไม่สมบูรณ์ เพราะประเทศรัสเซียใช้สิทธิยับยั้งในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีฯ สมาชิกสิบสามประเทศลงมติเห็นชอบข้อมติ และหนึ่งประเทศงดออกเสียง[15][16]

สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครนในวันรุ่งขึ้น โดยเริ่มแสวงการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ และร้องขอเข้าร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย[17] ในวันเดียวกัน ประเทศรัสเซียรับรองว่าไครเมียเป็นรัฐเอกราช[18][19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. На сессии городского Совета утверждены результаты общекрымского референдума 16 марта 2014 года [Session of the City Council approved the results of the general referendum on March 16, 2014] (ภาษารัสเซีย). Official site of the Sevastopol City Council. March 17, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2014.
  2. SAIDEMAN, STEPHEN (12 March 2014). "In Crimea's sham referendum, all questions lead to 'yes'". Globe and Mail. ...voters in Crimea next Sunday will be asked whether they support the union of Crimea with Russia (an act of irredentism) or whether Crimea should be independent (secession). There is no alternative – one cannot vote for the status quo ante of remaining within Ukraine.
  3. http://www.nytimes.com/2014/03/15/world/europe/crimea-vote-does-not-offer-choice-of-status-quo.html
  4. http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/europe/ukraine/10701676/Crimeans-vote-peacefully-in-referendum-but-have-little-choice.html
  5. http://www.bbc.com/news/world-europe-26621726
  6. "BBC News - Crimea exit poll: About 93% back Russia union". Bbc.com. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
  7. "Current Events: Russia media say Crimea votes 93 pct to quit Ukraine". Vision.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-16. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
  8. "Crimea votes to leave Ukraine in secession referendum and join Russia - World - CBC News". Cbc.ca. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-18. สืบค้นเมื่อ 2014-03-18.
  10. http://www.pravda.com.ua/news/2014/03/17/7019270/
  11. http://rt.com/news/crimea-parliament-independence-ukraine-086/
  12. Balmforth, Richard (Mar 11, 2014). "No room for 'Nyet' in Ukraine's Crimea vote to join Russia". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.
  13. 16:35. "Mejlis to boycott Crimean referendum| Ukrinform". Ukrinform.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-15.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  14. "Tatar leader: referendum's results 'predetermined' | World | DW.DE | 16.03.2014". DW.DE. 2012-08-15. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
  15. "Security Council Fails to Adopt Text Urging Member States Not to Recognize Planned 16 March Referendum in Ukraine's Crimea Region". Un.org. 2013-01-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
  16. "Russia Vetoes U.N. Security Council Resolution On Crimea". NPR. 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
  17. Crimean parliament formally applies to join Russia, BBC, March 17, 2014
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-23. สืบค้นเมื่อ 2014-03-18.
  19. Putin Recognizes Crimea Secession, Defying the West,New York Times, March 17, 2014


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน