การหมุน (สเกตลีลา)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
การหมุน คือท่าการแสดงท่าหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นท่าบังคับสำหรับการแข่งขันสเกตลีลา (ฟิกเกอร์สเกต) โดยมีการจำกัดความหมายถึง การที่นักกีฬาสร้างรอบการหมุนตัวบนพื้นน้ำแข็งหลาย ๆ รอบเพียงจุดใดจุดหนึ่ง (จุดหมุน) ซึ่งจุดสัมผัสของจุดหมุนนี้จะเกิดโดยบริเวณของใบมีดบริเวณส่วนถัดจากโทพิก (toe pick) ค่อนมาทางด้านฝ่าเท้าเล็กน้อย จะไม่มีการหมุนโดยใช้โทพิกในการหมุนอย่างเด็ดขาดตามที่มักมีการเข้าใจผิดกันอย่างเสมอมา โดยจะมีการค้างท่าดังกล่าวไว้ในระยะเวลาหนึ่งเพื่อสร้างรอบการหมุน ซึ่งจะนักกีฬาสามารถเปลี่ยนแปลงท่าระหว่างการทำการหมุนตัวในคราวเดียวกัน หรือจะไม่เปลี่ยนแปลงท่าเลยจนเสร็จสิ้นการหมุนก็ได้ เรียกการหมุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงท่าเลยนี้ว่า "ซิงเกิลสปิน" (single spin) และเรียกการหมุนตัวโดยมีการเปลียนแปลงท่า หรือมีการเปลี่ยนเท้าระหว่างการหมุนในคราวเดียวกันว่า "คอมบิเนชันสปิน" (combination spin)โดยมักกำนดให้การหมุนแต่ละคราวนั้นควรมีรอบการหมุนไม่น้อยกว่า 6 รอบในคราวเดียวกัน เช่นตามข้อกำหนดของสมาคมฟิกเกอร์และสปีดเกตติงแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ชนิดของการหมุน
[แก้]มีการจำแนกชนิดของการหมุนหลายแบบ เช่นการจำแนกโดยเท้าที่เป็นจุดหมุน การจำแนกโดยการเริ่มต้นเข้าจุดหมุน หรือแม้แต่ท่าทางการแสดงออกของท่าโดยแขน, ขา, หรือลำตัว เป็นต้น ตามกติกาสากล ผู้เล่นสเกตลีลาจำเป็นต้องหมุนโดยกำหนดทิศทางที่ตนเองถนัดเท่านั้นในการแข่งขัน เช่น เป็นผู้หมุนแบบทิศทวนเข็มนาฬิกา หรือหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา เช่นเดียวกับกระโดด ซึ่งโดยมากแล้ว นักสเกตลีลานิยมหมุนในทิศทาง ทวนเข็มนาฬิกาเสียมากกว่า ดังนั้นหากเป็นนักสเกตทีทำการหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาแล้ว หากหมุนโดยเท้าซ้ายเรียกว่าฟอร์วาร์ดสปิน (forward spin) แต่หากทำการหมุนโดยเท้าขวาเรียกว่า "แบ็กสปิน" (back spin) สำหรับนักสเกตชาวไทยแล้ว การหมุนฟอร์วาร์ดสปิน หรือการหมุนบนเท้าซ้ายนั้น (สำหรับผู้หมุนทวนเข็มนาฬิกา) จะไม่นิยมเรียก "ฟอร์วาร์ดสปิน" เช่นการหมุนท่า "ฟอร์เวิร์ดซิตสปิน" จะเรียก "ซิตสปิน" เท่านั้น หากแต่การหมุนโดยเท้าขวา หรือ "แบ็กสปิน" จะเรียกนำหน้าท่าการหมุนเพื่อให้เข้าใจว่ากำลังหมุนโดยเท้าขวามิใช่เท้าซ้าย ตัวอย่างเช่น หากหมุนท่า "ซิตสปิน" ด้วยเท้าขวา จะเรียก "แบ็กซิตสปิน" หรือทำการหมุนท่า "คาเมลสปิน" ก็จะเรียกว่า "แบ็กคาเมลสปิน"
นอกจากการจำแนกชนิดของการหมุนด้วยเท้าที่เป็นจุดหมุนแล้ว การเรียกชื่อท่าทางของการหมุนนั้นจะจำแนกโดยตำแหน่ง หรือการแสดงออกของขา, แขน หรือลำตัว ได้ดังนี้
การหมุนแบบอัปไรต์
[แก้]การหมุนแบบ อัปไรต์สปิน (upright spin) เป็นการหมุนโดยให้ขาข้างที่เป็นจุดหมุน อยู่ในลักษณะที่ตั้งฉากกับพื้นน้ำแข็ง --note 19:41, 2 มิถุนายน 2552 (ICT) การหมุนแบบนี้ สามารถแยกย่อยออกเป็นท่าต่าง ๆ ได้อีก ซึ่งแต่ละท่าจะมีความยากง่ายต่างกัน โดยจะขอจำแนกโดยอ้างอิงข้อมูลเพียงท่าการแสดงที่มีการกำหนดไว้ในกติกานานาชาติของ สหพันธ์สเกตน้ำแข็งนานาชาติ เป็นหลัก
- ท่าหมุนสองเท้า หรือ ทูฟุตสปิน (two-foot spin) เป็นท่าหมุนท่าแรกที่นักสเกตฝึกหัดมักฝึกฝน มีความแตกต่างเฉพาะตัวต่างจากท่าอื่น ๆ ก็คือ เป็นท่าเพียงท่าเดียวที่ใช้เท้าทั้งสองสัมผัสน้ำแข็ง ดังนั้นนักสเกตจะหมุนอยู่บนจุดหมุนที่เกิดจากใบมีดของทั้งสองเท้าพร้อม ๆ กัน โดยที่ลำตัวและขาทั้งสองข้างต้องตั้งตรง
- ท่าหมุนเท้าเดียว หรือ วันฟุตสปิน (one-foot spin) เป็นท่าหมุนที่ง่ายที่สุดสำหรับการหมุน หากไม่นับการหมุนแบบ "ทูฟุต" (ท่าหมุนแบบทูฟุต ไม่นิยมใช้ในนักสเกตอาชีพ) เป็นการหมุนโดยมีจุดหมุนอยู่บนเท้าข้างเดียว โดยที่เท้าอีกข้างจะไม่สัมผัสน้ำแข็ง เรียกเท้าที่ไม่สัมผัสนัแข็งนี้ว่า "ฟรีเล็ก" (free leg) หรือ "เท้าอิสระ" การแสดงท่านี้ลำตัว และขาที่สัมผัสน้ำแข็งควรตั้งตรงที่สุด
- ท่าหมุนเท้าเดียวแบบเก็บเกลียว (scratch spin) คือลักษณะการหมุนแบบ "วันฟุซิตสปิน" ที่มีการเก็บเกลียวของขา กล่าวคือ มีการเก็บ "เท้าอิสระ" หรือ "ฟรีเล็ก" ให้เป็นเกลียวแน่นทางด้านหน้ากับเท้าที่เป็นจุดหมุน ในขณะที่มีการเก็บแขนทั้งสองข้างประสานกันชิดลำตัวให้แน่น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ความเร็วของการหมุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก บางครั้งแขนทั้งสองข้างอาจประสานกัน แล้วชูขึ้นเหนือศีรษะ หรือดึงลงให้ต่ำที่สุดโดยที่ลำตัวตั้งตรงอยู่ก็ได้
- แบ็กสปิน (back scratch spin) การการหมุนบนเท้าข้างตรงข้ามกับ "การหมุนเท้าเดียว" หรือการหมุนบนเท้าขวาของนักสเกตที่หมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา การหมุนแบบนี้จะนิยมหมุนแบบเก็บเกลียวอย่างเดียวเท่านั้น ลักษณะการเก็บเกลียวจึงทำลักษณะเดียวกับการหมุนแบบ "ฟอร์วาร์ดสปิน" เพียงแต่สลับเท้าที่เป็นจุดหมุน และเท้าอิสระเท่านั้น เรามักเห็นการหมุนชนิดนี้ในท่าจบการแข่งขันของนักสเกตระดับอาชีพ
- ครอสฟุซิตสปิน (crossfoot spin) คือการหมุนแบบ "แบ็กสปิน" แต่เปลี่ยนเท้าอิสระที่ปกติจะเข้าเกลียวที่ด้านหน้า มาเข้าเกลียวที่ด้านหลังของขาที่เป็นจุดหมุน
- เลย์แบคสปิน (layback spin) หรือ การหมุนแอ่นหลัง (ไม่นิยมเรียก) คือ นิยมแสดงท่านี้โดยนักสเกตหญิง ลักษณะคือเท้าอิสระ จะอยู่ในท่า "แอตทิจูด" (attitude) ของการเต้นบัลเลต์ คือหัวเข่างอประมาณ 90 องศา และปลายเท้าชี้ไปด้านหลัง ในขณะที่หลัง และศีรษะจะแอ่นไปด้านหลัง ท่านี้เป็นหนึ่งในท่าบังคับในการแข่งขันแบบหญิงเดี่ยว จึงทำให้มีการคิดท่านี้ให้หลากหลาย และยากขึ้น จึงทำให้เกิดท่าใหม่ ๆ ขึ้นหลายท่า (หากแต่ในการให้คะแนนถือว่าเป็นท่าการแสดงเดียวกับท่าเลย์แบ็ก หากแต่คะแนนจะสูงขึ้นตามระดับความยากง่ายของการแสดง) เช่น ท่าบีลล์มันน์ (Biellmann spin) เป็นต้น
นอกจากนี้ การหมุนแบบอัปไรต์ ยังมีท่าปลีกย่อยอีกหลายท่าที่แตกแขนงออกมาเพื่อเพิ่มระดับคะแนนความยากขึ้นอีกหลายท่าตัวอย่างเช่น "ไอสปิน" ("I" spin) ที่จะมีลักษณะคือเท้าที่เป็นเท้าอิสระจะถูกยกขึ้นมาแนบลำตัวด้านหน้า ทำให้ลักษณะของเท้าและลำตัวอยู่ชิดกันทำให้ลำตัวผู้เล่นเหมือนรูปตัว "I" ในภาษาอังกฤษ , "วายสปิน" ("Y" spin) ลักษณะคล้าย "ไอสปิน" หากแต่ต่างกันที่เท้าอิสระจะถูกยกขึ้นจากด้านข้างลำตัว ทำให้ลักษณะของเท้าและลำตัวเหมือนรูปตัว "Y" ในภาษาอังกฤษ รวมถึงท่า "บีลล์มันน์" เองก็ยังถือว่าเป็นท่าที่แตกแขนงออกมาจากท่า "เลย์แบ็กสปิน" ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในท่าของการหมุนแบบ "อัปไรต์" อีกด้วย
รวมภาพการหมุนแบบอัปไรต์
[แก้]-
Scratch spin
(Karel Zelenka) -
Corkscrew or crossover spin
(Amber Corwin) -
Layback spin
(Angela Nikodinov) -
Catch foot layback spin
(Elena Glebova) -
Haircutter spin
(Angela Maxwell) -
Biellmann spin
(Becky Bereswill) -
Half-Biellmann spin
(Jamal Othman) -
One-handed Biellmann spin
(Mao Asada) -
I spin - ankle hold
(Sasha Cohen) -
I spin - skate hold
(Kim Yu-Na) -
Y spin - ankle hold
(Alissa Czisny) -
Y spin - skate hold
(Shawn Sawyer) -
Shotgun spin
(Tristan Thode) -
An "A" spin
(Jeffrey Buttle)
การหมุนแบบซิตหรือท่านั่งหมุน (ไม่นิยมเรียก)
[แก้]ซิตสปิน หรือ ท่านั่งหมุน คือ การหมุนที่บั้นท้ายของผู้เล่นจะต้องอยู่ไม่สูงกว่า หรือเท่ากับระดับของเข่าของผู้เล่นในขาข้างที่เป็นจุดหมุน ในลักษณะของท่านั่ง โดยขาข้างที่เป็นจุดหมุนจะต้องอยู่ในลักษณะงอพับเพื่อให้เกิดลักษณะของท่านั่ง ท่าซิตสปินนี้จะมีลักษณะการแสดงออกปลีกย่อยได้อีกหลายท่าตามที่บัญญัติไว้ในกติการแข่งขันของสมาพันธ์สเกตน้ำแข็งนานาชาติ (ISU) ได้ดังนี้
- ซิตสปิน แบบพื้นฐาน คือการหมุนในขณะที่ร่างกายอยู่ในท่าชูตเดอะดั๊ก (shoot the duck) คือลักษณะที่ขาอิสระจะเหยียดตึงไปด้านหน้า และขาที่เป็นจุดหมุนงอเข่าในท่านั่งยอง หรือาจกล่าวอีกอย่างว่าเป็นลักษณะของการนั่งยองเข่าข้างเดียว ส่วนขาอีกข้างหยียดตึงไปด้านหน้า สำหรับผู้เล่นที่หมุนแบบทวนเข็มนาฬิกาหากเข้าจุดหมุนด้วยเท้าซ้ายเรียก "ฟอร์วาร์ด ซิตสปิน" หากเข้าจุดหมุนทางเท้าขวาเรียก "แบ็กเวิร์ดซิตสปิน" ซึ่งการเข้าทาง "แบ็กเวิร์ดซิตสปิน" จะทำให้ระดับความยากสูงกว่าแบบ "ฟอร์เวิร์ดซิตสปิน" ตามกติกาของ ISU
- ฟลายอิงซิตสปิน คือ การหมุนท่าซิตสปินที่เข้าจุดหมุนจากการกระโดด ซึ่งการจะหมุนท่านี้ได้ ผู้เล่นควรจะต้องเข้าจุดหมุนในขณะที่ยังลอยตัวอยู่กลางอากาศ ในบางครั้งหากเข้าจุดหมุนโดยเท้าซ้ายสำหรับผู้หมุนแบบทวนเข็มนาฬิกา จะเป็นการหมุนแบบ "ฟลายอิงซิตสปิน" แบบธรรมดา แต่หากเข้าจุดหมุนในลักษณะคล้ายท่าโดดแบบ "แอกเซล" (Axel Jump) เรียก "ฟลายอิงแบ็กซิต" (flying back sit spin) บางครั้งนิยมเรียกว่า "เดทดรอป" (death drop)
นอกจากการหมุนแบบซิตสปิน ชนิดท่าหลักที่ได้บัญญัติไว้ในกติกาแล้ว ผู้เล่นอาจมีการแสดงท่านอกเหนือจากนี้ได้ เพื่อเพิ่มระดับความยากแก่การหมุน เช่น "การหมุนแบบแคนนอนบอล" (cannonball spin) หรือแ "ท่าหมุนแบบแพนเค้ก" (pancake spin) เป็นต้น
รวมภาพ ซิตสปิน
[แก้]-
Sit spin
(Kimmie Meissner) -
Flying sit spin
(Jennifer Don) -
Sit spin with twist variation
(Alban Preaubert) -
Death drop jump take off
(Ryan Jahnke) -
Death drop jump in the air
(Brian Joubert) -
Pancake spin
(Kevin Van Der Perren)