บริษัทรถไฟคีวชู
สำนักงานใหญ่ ชั้น 7 ใกล้สถานีรถไฟฮากาตะ | |
ประเภท | มหาชน บริษัทร่วมทุน |
---|---|
อุตสาหกรรม | รถไฟ |
ก่อนหน้า | การรถไฟญี่ปุ่น (JNR) |
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2530 (จากการแตกออกเป็นบริษัทย่อยของ JNR) |
สำนักงานใหญ่ | |
พื้นที่ให้บริการ | คีวชู |
ผลิตภัณฑ์ | ซุโงะกะ (บัตรเติมเงิน) |
บริการ | รถไฟขนส่งมวลชน ขนส่งสินค้า รถโดยสาร การบริการอื่นๆ[1] |
เจ้าของ | JRTT (1987-2016) Public float (2016-) |
พนักงาน | 7,647 (ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565) [1] |
เว็บไซต์ | jrkyushu.co.jp |
บริษัทรถไฟคีวชู (ญี่ปุ่น: 九州旅客鉄道株式会社; โรมาจิ: Kyūshū Ryokaku Tetsudō Kabushiki-gaisha) หรือเรียกโดยย่อว่า JR คีวชู (ญี่ปุ่น: JR九州; โรมาจิ: Jeiāru Kyūshū) เป็นหนึ่งในบริษัทของกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น ให้บริการรถไฟระหว่างเมืองภายในเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น และให้บริการเรือเฟอร์รี่ข้ามช่องแคบสึชิมะ ระหว่างฟูกูโอกะและปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังดำเนินการโรงแรม ร้านอาหาร และร้านขายยาทั่วภูมิภาค[2] สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เขตฮากาะตะ, นครฟูกูโอกะ[1]
ประวัติ
[แก้]บริษัทรถไฟคีวชู ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 หลังจากการยุบการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นบริษัทย่อยหลายบริษัทเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเดิม โดยรับผิดชอบในเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นในบริเวณพื้นที่เกาะคีวชู
หลังจากการปรับปรุงกิจการ บริษัทได้กระจายธุรกิจไปสู่กิจการใหม่ ๆ เช่น การเลี้ยงปลาและเห็ด และการขายรถยนต์ กิจการอื่น ๆ เช่น เรือข้ามฟากบีเทิล ที่เริ่มในปี พ.ศ. 2534 และเครือร้านเบเกอรี่ Train d'or ที่เริ่มในปี พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้เปิดบริการรถไฟระดับพรีเมียมโดยการให้บริการรถไฟความเร็วสูง คีวชูชิงกันเซ็ง และรถไฟท่องเที่ยวแบบหรูหรา นานัตสึโบชิอินคีวชู[2]
บริษัทได้เปิดตัว ซุโงะกะ ซึ่งเป็นระบบตั๋วสมาร์ตการ์ด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552
จากการเปิดเผยของบริษัทรถไฟคีวชูในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559[2] การดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางรถไฟคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของยอดขายของบริษัทและเป็นกำไรส่วนใหญ่ของบริษัท
เส้นทางรถไฟ
[แก้]ชิงกันเซ็ง
[แก้]- คีวชูชิงกันเซ็ง (สายคาโงชิมะ)
- นิชิคีวชูชิงกันเซ็ง
สายหลัก
[แก้]- สายหลักคาโงชิมะ
- สายหลักนางาซากิ
- สายหลักคีวได (สายยูฟุโคเง็ง)
- สายหลักโฮฮิ (สายอาโซะโคเง็ง)
- สายหลักนิปโป
- สายหลักชิกูโฮ (แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ สายฮารูดะ สายฟูกูโฮกุ ยูตากะ และสายวากามัตสึ)
สายอื่น ๆ
[แก้]- สายชิกูฮิ
- สายฟูกูโฮกุ ยูตากะ (ชื่อเรียกสายที่เกิดจากบางส่วนของสายหลักคาโงชิมะ, สายหลักชิกูโฮ และทั้งสายของสายซาซากูริ)
- สายโกโตจิ
- สายฮิซัตสึ
- สายฮิตาฮิโกซัง
- สายอิบูสึกิ มากูราซากิ
- สายคาชิอิ
- สายคารัตสึ
- สายคิตโตะ
- สายมิซูมิ
- สายมิยาซากิคูโก
- สายนิจินัน
- สายโอมูระ
- สายซาซากูริ
- สายซาเซโบะ
ลิมิเต็ด เอ็กซเพรส และรถไฟท่องเที่ยว
[แก้]- อาริอาเกะ (ฮากาตะ - คูมาโมโตะ)
- อารุ เรชชะ (โออิตะ - ฮิตะ เมษายนถึงมิถุนายน) (ซาเซโบะ - นางาซากิ กรกฎาคมถึงกันยายน)
- อาโซะ บอย (คูมาโมโตะ - มิยาจิ)
- เอ-เทรน (คูมาโมโตะ - มิซูมิ)
- ฮายาโตะโนะคาเซะ (คาโงชิมะชูโอ - โยชิมัตสึ)
- เฮาส์เทนบอช (ฮากาตะ - เฮาส์เทนบอช)
- อิบูซูกิ โนะ ทามาเตบาโกะ (คาโงชิมะชูโอ - อิบูซูกิ)
- อิซาบูโระ & ชินเป (ฮิโตโยชิ - โยชิมัตสึ)
- ไคโอ (ฮากาตะ - โนงาตะ)
- คาซาซากิ (ฮากาตะ - ฮิเซ็นคาชิมะ)
- คาวาเซมิ ยามาเซมิ (คูมาโมโตะ - ฮิโตโยชิ)
- คิราเมกิ (โมจิโก - ฮากาตะ)
- คิริชิมะ (มิยาซากิ - คาโงชิมะชูโอ)
- คูมากาวะ (คูมาโมโตะ - ฮิโตโยชิ)
- มิโดริ (ฮากาตะ - ซาเซโบะ)
- นิชิริน/นิชิรินซีไกอา (โคกูระ - ท่าอากาศยานมิยาซากิ)
- รีเลย์คาโมเมะ (ฮากาตะ - ทาเกโอะ-ออนเซ็น)
- นานัตสึโบชิอินคีวชู (เส้นทางรอบเกาะคีวชู)
- SL ฮิโตโยชิ (คูมาโมโตะ - ฮิโตโยชิ/คูมาโมโตะ - โทซุ)
- โซนิก (ฮากาตะ - โออิตะ)
- ทรานส์คีวชู ลิมิเต็ด เอ็กซเพรส (ฮิโตโยชิ - โออิตะ)
- อูมิซาชิยามาซาชิ (มิยาซากิ - นังโงะ)
- ยูฟุ/ยูฟุ DX/ยูฟูอินโนะโมริ (ฮากาตะ - โออิตะ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Company summary". JR Kyushu. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Kurimoto, Suguru (2015-03-26). "Japan rail company diversifies its way around disadvantages". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ JR Kyushu
อดีต: การรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น | การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น | บรรษัทรถไฟญี่ปุ่น | ||||||
บริษัทรถไฟขนส่งผู้โดยสาร | JR ฮกไกโด | JR ตะวันออก | JR ตอนกลาง | JR ตะวันตก | JR ชิโกะกุ | JR คีวชู |
สมาร์ตการ์ด | คิตะกะ | ซุยกะ | โทะอิกะ | อิโกะกะ | อิโกะกะ | ซุโงะกะ |
อื่นๆ | JR บรรทุก | วิจัย | JR ระบบ | |||
ดูเพิ่ม | ชิงกันเซ็ง · เรล พาส |