[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

หลิว เช่าฉี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิว เช่าฉี
刘少奇
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2502 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2511
(9 ปี 187 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
รองประธานาธิบดีต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง
ผู้นำเหมา เจ๋อตง (ประธานพรรค)
ก่อนหน้าเหมา เจ๋อตง
ถัดไปต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 28 เมษายน พ.ศ. 2502
(4 ปี 225 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปจู เต๋อ
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน พ.ศ. 2499 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509
(2 ปี 212 วัน)
ประธานเหมา เจ๋อตง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปหลิน เปียว
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2511
(14 ปี 36 วัน)
เขตเลือกตั้งปักกิ่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441
หนิงเซียง มณฑลหูหนาน จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (70 ปี)
ไคเฟิง มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
เชื้อชาติจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (2464–2511)
คู่สมรสวัง กวงเหม่ย (2491–2512)
บุตร9 คน
หลิว เช่าฉี
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม劉少奇

หลิว เช่าฉี (จีนตัวย่อ: 刘少奇; จีนตัวเต็ม: 劉少奇; พินอิน: Liú Shàoqí) (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองชาวจีน เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ. 2497– 2502 รองประธานของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระหว่างปี พ.ศ. 2499–2509 และประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี พ.ศ. 2502–2511 เขาถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเหมา เจ๋อตง แต่สุดท้ายก็ถูกขับออกจากพรรคในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

ในช่วงวัยรุ่น หลิวมีส่วนร่วมในขบวนการแรงงาน รวมไปถึงการนัดหยุดงานประท้วงต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือขบวนการ 30 พฤษภาคม หลังจากสงครามกลางเมืองจีนปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2470 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ส่งหลิวไปทำงานที่เซี่ยงไฮ้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จากนั้นในปี พ.ศ. 2475 เขาก็เดินทางไปยังโซเวียตเจียงซี เขาเข้าร่วมการเดินทัพทางไกลและได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคประจำภาคเหนือของจีนในปี พ.ศ. 2479 เพื่อนำการต่อต้านญี่ปุ่นในพื้นที่ดังกล่าว ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลิวได้รับมอบหมายให้ดูแลสำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำที่ราบภาคกลาง (Central Plains Bureau) ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 หลังจากเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่ เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนทางการเมืองของกองทัพ เมื่อหลิวเดินทางกลับเหยียนอันในปี พ.ศ. 2486 เขาก็ได้รับตำแหน่งเลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง

หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 หลิวได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานรัฐบาลประชาชนกลาง ต่อมาหลังจากมีการจัดตั้งสภาประชาชนแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2497 หลิวก็ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาฯ และในปี พ.ศ. 2502 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนสืบต่อจากเหมา เจ๋อตง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หลิวได้ริเริ่มนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง 7,000 คนในปี พ.ศ. 2505 เขาได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อตงในปี พ.ศ. 2504 แต่ทว่าโชคชะตาของหลิวก็พลิกผันหลังจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2509 เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกเหมาขับออกจากพรรคในปี พ.ศ. 2510 เขาถูกจับกุมและคุมขัง ตลอดช่วงเวลานั้นเขาถูกใส่ร้ายว่าเป็น "หัวหน้ากองบัญชาการชนชั้นนายทุนจีน" และเป็น "พวกเดินเส้นทางทุนนิยม" คนสำคัญของจีน รวมถึงเป็นผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ หลิวเสียชีวิตในคุกในปี พ.ศ. 2512 ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หลังการเสียชีวิต หลิวถูกประณามอย่างหนักหน่วงเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูเกียรติยศโดยรัฐบาลของเติ้ง เสี่ยวผิงในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "แก้ไขความผิดพลาด ปรับปรุงสิ่งที่ถูกต้อง" รัฐบาลของเติ้งยังได้จัดรัฐพิธีศพให้กับเขาด้วย

วัยเยาว์

[แก้]
หลิว เช่าฉี ในปี พ.ศ. 2470

หลิ่ว เชาฉี เกิดในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างร่ำรวยที่หมู่บ้านหัวหมิงโหลว[1] อำเภอหนิงเซียง มณฑลหูหนาน[2] บ้านบรรพบุรุษของเขาตั้งอยู่ที่อำเภอจี๋ฉุ่ย มณฑลเจียงซี เขาได้รับการศึกษาสมัยใหม่[3]: 142  โดยเรียนที่โรงเรียนมัธยมปลายหนิงเซียงจู้เชิง และได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนที่เซี่ยงไฮ้เพื่อไปศึกษาต่อที่รัสเซีย ในปี พ.ศ. 2463 เขากับเหริน ปี้ฉือได้เข้าร่วมคณะเยาวชนสังคมนิยม และในปีถัดมาหลิวก็ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรรมกรแห่งตะวันออกของคอมมิวนิสต์สากล ในกรุงมอสโก[1]

เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2464 ปีถัดมาเขากลับมายังจีนในฐานะเลขานุการสหพันธ์แรงงานแห่งชาติจีน เขาได้นำการประท้วงของพนักงานรถไฟหลายครั้งในหุบเขาแยงซีและที่อันหยวน บนชายแดนเจียงซี–หูหนาน[1]

กิจกรรมการปฏิวัติ

[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

การถูกโจมตี เสียชีวิต และการฟื้นฟู

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Dittmer, Lowell, Liu Shao-ch’i and the Chinese Cultural Revolution: The Politics of Mass Criticism, University of California Press (Berkeley), 1974, p. 27
  2. Snow, Edgar, Red Star Over China, Random House (New York), 1938. Citation is from the Grove Press 1973 edition, pp. 482–484
  3. Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 9781736850084.