[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

เดมิส แฮสซาบิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์

เดมิส แฮสซาบิส

แฮสซาบิสที่ราชสมาคมเมื่อปี 2018
เกิด (1976-07-27) 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 (48 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
สัญชาติบริเตน
การศึกษา
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์Neural processes underpinning episodic memory (2009)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเอเลนอร์ แม็กกวายร์

เซอร์ เดมิส แฮสซาบิส (อังกฤษ: Sir Demis Hassabis; เกิด 27 กรกฎาคม 1976) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ชาวอังกฤษ อดีตนักออกแบบและโปรแกรมเมอร์เอไอสำหรับวิดีโอเกม และนักหมากรุกอาชีพ[3][4] เขาเป็นซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งดีปไมนด์ของกูเกิล[5] และ ไอโซมอร์ฟิกแล็บส์[6][7][8] ในปี 2020 เขาได้รับมอบหมายเป็นที่ปรึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ประจำรัฐบาลของสหราชอาณาจักร[9]

เขาเป็นเฟลโลว์ราชสมารม และได้รับรางวัลมากมายจากผลงานการพัฒนาอัลฟาโฟลด์ เช่น รางวัลเบรกทรู, รางวัลแคนาดา แกร์ดเนอร์ และรางวัลลาสเกอร์ ในปี 2017 เขาได้รับเครื่องราช CBE และเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของไทม์ และในปี 2024 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินแห่งสหราชอาณาจักรจากผลงานในสาขาปัญญาประดิษฐ์[10]

แฮนนาบิสและ จอห์น เอ็ม จัมเปอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมในปี 2024 จากผลงานในสาขาการพยากรณ์การพับโปรตีน[11][12]

สมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทางมหาวิทยาลัยให้เขาปีพักเรียนเนื่องจากว่าเขาอายุน้อยเกินไป[13] ระหว่างช่วงปีนี้ เขาทำงานเป็นนักพัฒนาวิดีโอเกมที่บูลฟร็อกพรอดักชันส์ โดยมีผลงานออกแบบด่านเป็นครั้งแรกใน ซินดิเคต และเมื่ออายุได้ 17 เขาเป็นหัวหน้าทีมโปรแกรมเมอร์สำหรับเกม ทีมพาร์ก ที่ปล่อยในปี 1994 ร่วมกับพีเทอร์ มอลีโน[14] วิดีโอเกมเสมือนดังกล่าวมียอดขายหลายล้านฉบับทั่วโลก และเป็นเกมแรก ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาวิดีโอเกมเสมือนกลุ่มแซนด์บ็อกซ์ในเวลาต่อมา โดยที่รายได้จากช่วงปีพีกเรียนของเขาเพียงพอสำหรับส่งตัวเองเรียนมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Greater Gatsby". Gatsby Computational Neuroscience Unit (ภาษาอังกฤษ). 5 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2024.
  2. "Demis Hassabis chess games - 365Chess.com". www.365chess.com. สืบค้นเมื่อ 22 September 2024.
  3. แม่แบบ:Fide
  4. "Demis Hassabis: the secretive computer boffin with the £400 million brain". The Daily Telegraph. 28 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
  5. Anon (2017). "Demis HASSABIS". companieshouse.gov.uk. London: Companies House. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2017. สืบค้นเมื่อ 26 April 2017.
  6. Crist, Ry (2021-11-04). "Alphabet launches Isomorphic Labs, an AI-driven drug discovery startup". CNET (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  7. Coldeway, Devin (2021-11-04). "Isomorphic Labs is Alphabet's play in AI drug discovery". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2022. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  8. Bonifacic, Igor (2021-11-04). "Alphabet's Isomorphic Labs is a new company focused on AI-driven drug discovery". www.msn.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  9. "World-leading expert Demis Hassabis to advise new Government Office for Artificial Intelligence". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2020. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
  10. "Leading AI figures awarded honours". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 28 March 2024.
  11. "The Nobel Prize in Chemistry 2024". Nobel Media AB. สืบค้นเมื่อ 9 October 2024.
  12. "Press release: The Nobel Prize in Chemistry 2024". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 9, 2024.
  13. 13.0 13.1 Hassabis, Demis (5 December 2020). "BBC Radio 4 Profiles, 7pm 5 December 2020". BBC Podcast. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2020. สืบค้นเมื่อ 5 December 2020.
  14. "Time 100 AI 2023 - Demis Hassabis". TIME. Time. สืบค้นเมื่อ September 7, 2023.