เดอะเฟมมอนสเตอร์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เดอะเฟมมอนสเตอร์ | ||||
---|---|---|---|---|
กาก้าในวิกผมบ็อบสีบลอนด์ สวมโอเวอร์โค้ตสีดำมันวาว โดยมือขวาจับคอเสื้อและนำมาปิดปากของเธอ มีคำว่า "Lady Gaga" และ "The Fame Monster" เขียนกำกับไว้ด้วยสีขาว โดยเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และอักษร T ของคำว่า Monster ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย † | ||||
อีพีโดย | ||||
วางตลาด | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 (ดูหัวข้อประวัติการจำหน่าย | |||
บันทึกเสียง | ค.ศ. 2009 | |||
แนวเพลง | ป็อป อิเล็กโทรป็อป แดนซ์ | |||
ความยาว | 34:09 | |||
ค่ายเพลง | อินเตอร์สโคป เชอร์รีทรี สตรีมไลน์ คอนไลฟ์ | |||
โปรดิวเซอร์ | เลดี้ กาก้า, ดาร์กไชลด์, เฟอร์นานโด แกริเบย์, เรดวัน, รอน แฟร์, สเปซ คาวบอย, เทดดี ริลีย์ | |||
ลำดับอัลบั้มของเลดี้ กาก้า | ||||
| ||||
ลำดับผลงานของเลดี้ กาก้า | ||||
| ||||
ภาพปกเพิ่มเติม | ||||
กาก้า ในวิกผมสีดำปกคลุมรอบ ๆ ใบหน้า ลำตัว และตาขวา อายไลเนอร์ไหลลงมาตามใบหน้าเป็นสองเส้นจากตาซ้าย มีคำว่า "Lady Gaga" และ "The Fame Monster" เขียนกำกับไว้ด้วยสีขาว โดยเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และอักษร T ของคำว่า Monster ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย † | ||||
ซิงเกิลจากThe Fame Monster | ||||
|
การจัดอันดับจากผู้เชี่ยวชาญ | |
---|---|
คะแนนวิจารณ์ | |
แหล่งข้อมูล | การจัดอันดับ |
Allmusic | [1] |
BBC Online | (เป็นที่นิยม) [2] |
Robert Christgau | (A-) [3] |
The Independent | (เป็นที่นิยม) [4] |
Los Angeles Times | [5] |
NME | (8/10) [6] |
The Observer | [7] |
Pitchfork Media | (7.8/10) [8] |
Rolling Stone | [9] |
Slant Magazine | [10] |
เดอะเฟมมอนสเตอร์ (อังกฤษ: The Fame Monster) เป็นอีพีลำดับที่สามของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2009 ในตอนแรก 8 แทร็คจากอัลบั้มนี้ตั้งใจที่จะเป็นเพิ่มลงในอัลบั้มชุดแรก The Fame แต่ต่อมาเธอประกาศว่าเพลงใหม่ทั้งหมดนี้จะถูกวางจำหน่ายแบบอัลบั้มเดี่ยว เนื่องจากการทำเพิ่มเพลงลงอัลบั้มเดิมมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และเนื้อหาในอัลบั้มใหม่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากอัลบั้ม The Fame และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพลงจากอัลบั้มแรกมาสนับสนุน 5 สัปดาห์ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 ได้มีการวางจำหน่ายอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ รุ่นดีลักซ์ที่มี 2 ซีดีจากเดอะเฟมมอนสเตอร์และ The Fame ที่มาในรูปแบบโบนัสดิสก์
เดอะเฟมมอนสเตอร์มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับด้านมืดของความโด่งดังที่เลดี้กาก้าพบเจอจากประสบการณ์จริงระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตปี 2008-2009 ผ่านคำเปรียบเทียบ "Monster-ปีศาจ" และเปรียบเทียบความรู้สึกต่อเดอะเฟมมอนสเตอร์กับ The Fame ว่าต่างกันเหมือนกับหยินหยาง เธอรบเร้าให้ต้นสังกัดอนุญาตให้เธอถ่ายภาพปกอัลบั้มในสไตล์โกธิคที่มืดหม่น โดยมีเฮดิ ซลิมาน เป็นช่างภาพ เพลงในอัลบั้มได้รับอิทธิพลจากเพลงโกธิคและแฟชั่นโชว์ เพลง Bad Romance, Telephone และ Dance in the Dark ต่างเป็นเพลงที่ได้รับคำวิจารณ์ในทางบวก บางประเทศอีพีนี้ขึ้นชาร์ตคู่กับอัลบั้ม The Fame ยกเว้นสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่นที่ขึ้นชาร์ตเป็นอัลบั้มเดี่ยวเท่านั้น เดอะเฟมมอนสเตอร์ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย เยอรมนี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร
Bad Romance ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลแรก และสามารถขึ้นชาร์ตอัลบั้มขายดีที่อันดับหนึ่งในประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ติดชาร์ตอันดับที่ 2 ของออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และสวีเดน ซิงเกิลต่อมาคือ Telephone และ Alejandro ก็สามารถติดชาร์ตหนึ่งในสิบอันดับแรกของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2009 4 วันหลังประกาศจำหน่ายอัลบั้มใหม่ เลดี้กาก้าประกาศทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สองของเธอในชื่อว่า The Monster Ball Tour และจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2011 นี้
เดอะเฟมมอนสเตอร์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่อวอร์ดทั้งสิ้น 6 สาขารางวัล 2 ใน 6 รางวัลที่เข้าชิง ได้แก่รางวัลอัลบั้มแห่งปีและรางวัลอัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม
เบื้องหลังและการพัฒนา
[แก้]กาก้าอธิบายถึงเบื้องหลังของอัลบั้มนี้ว่ามีที่มาจากความหลงใหลในภาพยนตร์ปีศาจสยองขวัญ และเป็นคนที่สนใจความเสื่อมเสียของคนดังและความโด่งดังถือเป็นปีศาจร้ายในสังคม ซึ่งเป็นความลงตัวที่สมบูรณ์แบบระหว่างแนวคิดกับตัวอัลบั้ม
เลดี้กาก้าระบุว่า 8 เพลงในอัลบั้มใหม่ของเธอ จะถูกจำหน่ายพร้อมกับอัลบั้ม The Fame ที่เป็นอัลบั้มเปิดตัว เดอะเฟมมอนสเตอร์[11] กล่าวถึงด้านมืดของความโด่งดังที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้นผ่านประสบการณ์ของเธอเองระหว่างปี 2008-2009 [12] เธออธิบายเพิ่มเติมว่า "ในอัลบั้ม The Fame Monster เธอจะเขียนทุกอย่างที่ไม่ได้เขียนลงไปใน The Fame ช่วงเวลา 2 ปีที่ฉันเดินทางไปทั่วโลกฉันได้พบเจอปีศาจหลายตัว ที่ถูกถ่ายทอดผ่านเพลงในแผ่นบันทึกเสียงนี้ เช่นความหวาดกลัวต่อปีศาจแห่งเซ็กส์, ปีศาจแอลกอฮอล์, ปีศาจแห่งความรัก, ปีศาจแห่งความตาย และปีศาจแห่งความโดดเดี่ยวของฉันเอง "ฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ยุโรปตะวันออกยามค่ำคืน และได้ทดลองดนตรีจังหวะอิสดัสเทรียล, โกธิค, เพลงแด๊นซ์ในยุค 90 ความหลงใหลในลักษณะพิเศษของเพลงป็อบมีลานโคลิก และรันเวย์ ฉันเขียนเพลงขณะที่กำลังชมแฟชั่นโชว์เงียบ และรู้สึกอัดอั้นตันใจที่จะกล่าวว่า เพลงของฉันได้รับความสำเร็จของสิ่งที่กล่าวมา"[12] กาก้าเปรียบเทียบอารมณ์ของอัลบั้ม The Fame กับ The Fame Monster ว่าเป็นสิ่งที่แตกต่างกันราวกับหยินหยาง และรู้สึกแปลกๆ ในตัวเองขณะที่กำลังทำอัลบั้ม [12]
เพลง Speechless เป็นเพลงบัลลาดที่แต่งขึ้นเพื่อโจเซฟ พ่อของเธอที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจและไม่ยอมเข้ารับการรักษา กาก้าได้รับข่าวนี้ขณะที่กำลังทัวร์คอนเสิร์ตและแวะเขียนเพลงนี้ที่สตูดิโอแห่งหนึ่งเพื่ออ้อนวอนต่อพ่อของเธอ เพราะไม่อยากเสียพ่อไป และเหตุการณ์นี้ทำให้เธอพูดอะไรไม่ออก จนกลายเป็นชื่อเพลง Speechless ในท่อนสุดท้ายของเพลง If I promise to you boy/That I’ll never talk again/And I’ll never love again/I’ll never write a song /Won’t even sing along มีความนัยว่าหากว่าพ่อของเธอเป็นอะไรไป เธอจะยุติอาชีพการเป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงทันที [12]
เดอะเฟมมอนสเตอร์ถูกวางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักรในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เว็บไซต์ของกาก้ายืนยันว่าอัลบั้ม The Fame Monster จะวางจำหน่ายในรุ่นดีลักซ์เท่านั้น ซึ่งจะได้โบนัสดิสก์จาก The Fame แต่เนื่องจากปัญหาด้านค่าใช้จ่ายทำให้ต้องเลื่อนการจำหน่ายรุ่นดีลักซ์ออกไป และจำหน่ายเวอร์ชันอัลบั้มเดี่ยวก่อน [13] [14]
ลักษณะการประพันธ์
[แก้]The Independent รู้สึกได้ว่า Bad Romance ถูกครอบงำและได้รับงดงามจากปกอัลบั้มขาวดำ และเครื่องหมายไม้กางเขนบนปกนั้นได้รับอิทธิพลตามแบบโกธิค บทร้องรับใน Bad Romance คล้ายกับเพลงของ โบนี่ย์เอ็ม และอัลบั้ม Black Celebration (1986) ของวงเดเพเช่ส์โมด มีความเป็นซอมบี้ในเพลง Monster ในท่อนร้อง "He ate my heart - เขากินหัวใจของฉัน"[4] [2] เหมือนชาวคอสแซ็คในเพลง Teeth ในเนื้อร้อง "Take a bite of my bad girl-กัดเนื้อนังเด็กสาวชั่วสักหน่อย" และเพลง Dance in the Dark "Silicon, saline, poison inject me - ซิลิโคน น้ำเกลือ ยาพิษ ฉีดใส่ฉันซิ" [15] เนื้อร้องสุดท้ายของเพลงมีชื่อของคนดังที่สิ้นชีวิตอย่างสลดใจปรากฏอยู่หลายชื่ออย่าง มาริลีน มอนโรล (นักแสดงเซ็กส์ซิมโบลยุค 50-60 ที่เสียชีวิตอย่างลึกลับ) , จูดี้ การ์แลนด์ (นักแสดงหญิงระดับตำนานของฮอลลีวู้ดที่เสียชีวิตจากการเสพยาเกินขนาด) , ซิลเวีย พลาธ (นักเขียนและกวีสตรีชาวอเมริกันที่จบลงชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายด้วยเพียง 32 ปี) , ไดอาน่า-เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์จากการหลบหนีช่างภาพในวัย 36 ปี) , ลิเบอราซี (นักเปียโน และศิลปินการแสดงสดชาวเกย์ที่เสียชีวิตอย่างกะทันหัน) และโจน เบเน่ แรมซีย์ (นางงามเด็กชาวอเมริกันปี 2539 ที่ถูกฆาตกรรมอำพราง ขณะอายุได้เพียง 6 ขวบ) เพลง Monster มีเสียงร้องซ้ำๆ กันจากซินธ์และใช้กลองเฮฟวี่เป็นเครื่องดนตรีในเพลง [4] [4][10]
เพลง Speechless ได้รับแรงบันดาลใจจากดนตรีใยยุค 1970 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ก้าวร้าวจากเนื้อเพลง "I can't believe how you slurred at me with your half wired broken jaw - ฉันไม่เชื่อเลยเธอยังจะพูดจาอู้อี้กับในสภาพที่ยับเยินอย่างนั้นได้อีก" เพลงนี้ผสมผสานเสียงร้องประสานและกีตาร์ Pop Matters เปรียบเทียบผลงานนี้กับงานของเฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ และควีน Speechless ได้ รอน แฟร์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ และใช้เครื่องดนตรีจริงๆ บรรเลงเพลงอย่าง กลอง กีตาร์ และเบสส์ ส่วนกาก้าเป็นผู้บรรเลงเปียโนเอง [16]
Dance in the Dark เป็นแทร็กที่ห้าจากอัลบั้ม ที่พรรณาถึงหญิงสาวที่รู้สึกอึดอัดใจเมื่อต้องมีเซ็กส์ กาก้าพูดถึงเพลงนี้ว่า "หล่อนไม่อยากให้ผู้ชายเห็นเธอเปลือยกาย เธอจะเป็นอิสระและปลดปล่อยความเป็นสัตว์ในตัวก็ต่อเมื่อปิดไฟให้มืดเท่านั้น" So happy I could die [17] เป็นเพลงที่นำเสนอความรู้สึกทางเพศผ่านเนื้อร้องท่อนที่ว่า "I love that lavender blonde/the way she moves the way she walks/I touch myself can't get enough -ฉันชอบผมสีบลอนด์สาเวนเดอร์นั่น/การเคลื่อนไหวการเดินของเธอ/ฉันสัมผัสร่างกายตัวเองแต่มันไม่พอดี" เพลงนี้จริงๆ แล้วเป็นเพลงรักและบ่งบอกความเป็นตัวเธอที่เล่าถึงภาพลักษณ์, การดื่ม, เต้นรำ และสัมผัสตัวเอง เสียงร้องเพลงนี้แสดงอารมณ์ท่เยือกเย็น และใช้โปรแกรมออโต้ทูนส์ปรับแต่งเสียง [4] [2] [4][10] เพลง Alejandro ผสมผสานทำนองดนตรีของ ABBA และ Ace of Base [2] เล่าเรื่องราวของกาก้าที่กำลังหลบหนีออกจากฮาเร็มของชายชาวละติน Telephone กล่าวถึงกาก้าที่เลือกเวทีแด้นซ์มากกว่ารับโทรศัพท์จากคนรักของเธอ ท่อน Verse ถูกร้องอย่างรวดเร็วในทำนองดับเบิ้ลบีต กาก้าอธิบายถึงเพลงนี้ว่าเป็นความกลัวต่ออาการหายใจไม่ออกและความกลัวที่เธอไม่สามารถให้ความสุขกับตัวเองได้ เพราะเป็นคนบ้างาน และไม่ได้ออกไปเที่ยวสนุกที่ไหน โทรศัพท์ในเพลงไม่ได้หมายถึงโทรศัพท์ที่เห็นเท่านั้น แต่หมายถึงเสียงในสมองเธอที่สั่งให้เธอให้มุ่งทำงานหนักมากกว่าเดิม [4][10] Teeth เป็นเพลงสุดท้ายจากอัลบั้มได้ทำนองจากเพลงสวดและเนื้อร้องในแบบ S&M พูดถึงการทำทารุณทรมานและกินเนื้อมนุษย์เพื่อจะได้รับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกว่า
การวางจำหน่ายและอาร์ตเวิร์ก
[แก้]แต่เดิมอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์มีแผนจะวางจำหน่ายในรูปแบบใหม่แทนอัลบั้ม The Fame แต่กาก้าให้สัมภาษณ์ผ่าน MTV เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 ว่าอัลบั้มจะขายอัลบั้มเดี่ยวไปก่อนและจะมีรุ่นดีลักซ์และซุเปอร์ดีลักซ์จะวางจำหน่ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 และรุ่นซุเปอร์ดีลักซ์จะมาในรูปแบบกล่องที่บรรจุโปสการ์ด, อัลบั้มภาพ, ผลงานอาร์ตเวิร์กทางทีมงานเฮ้าส์ออฟกาก้า รวมทั้งล็อกเก็ตบรรจุเส้นผมของเลดี้กาก้า [18]
3 พฤษภาคม 2010 เว็บไซต์ของกาก้าประกาศวางจำหน่ายเดอะเฟมมอนสเตอร์รุ่น USB ไดรว์ที่ผลิตจำนวนจำกัด ซึ่งมี 8 แทร็กจากเดอะเฟมมอนสเตอร์ มิวสิกวีดีโอฉบับโจ่งแจ้ง, เพลงรีมิกซ์, ดิจิทัลบุ๊คเล็ต, ปกอัลบั้ม และอัลบั้มภาพ [19]
ภาพปกอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ได้เฮดิ ซลิมานเป็นผู้ถ่ายภาพ ในภาพแรก กาก้าใส่วิกสีบลอนด์พองฟู สวมแจ็กเก็ตสีดำ และอีกภาพใส่วิกผมสีดำที่กระเซอะกระเซิง มีอายไลเนอร์ไหลจากตาข้างซ้าย เพื่อให้หน้าปกของอัลบั้มออกมาน่ากลัวและมืดหม่นกว่าที่เคยทำมาและสอดคล้องกับธีมอัลบั้มนี้ ต้นสังกัดของกาก้ารู้สึกงุนงงต่อปกอัลบั้มขาวดำสไตล์โกธิคนี้ และคิดว่าจะทำให้ความเป็นป็อบลดลง แต่กาก้าให้เหตุผลต่อหน้าปกนี้ว่าต้องการนำเสนอหลักหยินหยาง ไม่ต้องการเห็นตัวเองทำตามแบบสาวบลอนด์คนอื่นๆ และอยากให้แฟนเพลงของเธอรับรู้ถึงความรู้สึกเดียวกับเธอเมื่อเห็นภาพนี้ [12]
การขึ้นลำดับชาร์ต
[แก้]ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้มเดี่ยว เดอะเฟมมอนสเตอร์ ขึ้นชาร์ตที่อันดับ 5 ด้วยยอดขาย 174,000 ก๊อปปี้ ส่วนอัลบั้มดีลักซ์ที่รวม The Fame กับเดอะเฟมมอนสเตอร์ ข่นชาร์ตที่อันดับ 6 กับยอดขาย 151,000 ก๊อปปี้ และสามารถติดชาร์ตดิจิทัลดาวน์โหลดขายดีที่ 65,000 ดาวน์โหลด [20] 7 ใน 8 เพลงจากอัลบั้มนี้ยังติดชาร์ตเพลงดิจิทัลยอดนิยม และยังขึ้นชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์แทนที่อัลบั้ม The Fame [21] เดือนมกรคม 2010 The Fame Monster ได้รับการรับรองยอดขายจากสมาคมผู้บันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) สำหรับยอดขาย 1 ล้านแผ่น จากการสำรวจของศูนย์วิจัยนีลสันในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม The Fame Monster พบว่ามียอดขายกว่า 1.349 ล้านก๊อปปี้ [22] [23] ที่แคนาดาอัลบัมนี้เปิดตัวสูงสุดที่อันดับ 6 [24]
อัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ ขึ้นชาร์ตคู่กับ The Fame ในออสเตรเลียแต่ต่อมาถูกพิจารณาให้เป็นอัลบั้มเดี่ยว นับตั้งแต่วันวางจำหน่ายที่ออสเตรเลียอัลบั้มใช้เวลา 18 สัปดาห์ก็สามารถครองชาร์ตอันดับหนึ่ฃซิงเกิลขายดี และได้รับการรับรองยอดขายจากสมาคมผู้บันทึกเสียงแห่งออสเตรเลีย ในระดับทองคำขาว x2 สำหรับยอดขาย 140,000 ก๊อปปี้ [25] [26] The Fame Monster ขึ้นชาร์ตคู่กับ The Fame ในหลายประเทศเช่น เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, เยอรมนี และสามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งสองประเทศหลัง อัลบั้มขึ้นชาร์ตโอไรคอนของญี่ปุ่นที่อันดับสอง [27] [28] ส่วนในสหราชอาณาจักร มีการจำหน่ายอัลบั้ม The Fame Monster ในรุ่นดีลักซ์เท่านั้น จึงขึ้นชาร์ตควบคู่กับ The Fame 3 มกราคม 2010 อัลบั้มนี้ไต่ชาร์ตขึ้นไปแตะอันดับที่สอง ทุกเพลงจาก The Fame Monster สามารถติดชาร์ตซิงเกิล 110 ยอดนิยมในสหราชอาณาจักร รวมทั้งซิงเกิลที่ยังไม่ได้เปิดตัว Telephone ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ตนี้ที่อันดับ 30 [29]
สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2010 เดอะเฟมมอนสเตอร์-The Fame ก็สามารถครองชาร์ตอันดับหนึ่งยาวนาน 4 สัปดาห์ แต่แล้วในวันที่ 21 มีนาคม 2010 อัลบั้มกลับมาครองแชมป์อย่างไม่คาดคิดอีกครั้ง [29] The album has reached thirteen on the European Top 100 Albums chart.[30] แทนที่อัลบั้ม Glee Cast ที่ถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้ครองแชมป์อันดับหนึ่งในเวลานั้น เดอะเฟมมอนสเตอร์ติดชาร์ตอัลบั้มท็อป 100 แห่งยุโรปที่อันดับ 13 และได้รับการรับรองจาก IFIP สำหรับยอดขาย 2 ล้านก๊อปปี้ทั่วยุโรป [31]
ซิงเกิล
[แก้]อัลบั้มเปิดตัวด้วยเพลง Bad Romance เธอแสดงเพลงนี้ครั้งแรกในรายการ Saturday Night Live เมื่อ 3 ตุลาคม 2009 3 วันต่อมาเพลง Bad Romance ได้ใช้เปิดเป็นเพลงประกอบในโชว์ชุดฟินาเล่คอลเลคชั่นสปริง/ซัมเมอร์ 2010 ของอเล็กซานเดอร์ แม็กควีนที่งานปารีสแฟชั่นวีค ซิงเกิลถูกวางจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 [32] [33] [34]
Bad Romance ติดท็อปชาร์ตแคนาดาฮ็อต 100, ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร, ชาร์ตยุโรปฮ็อต 100, ชาร์ตซิงเกิลเยอรมัน, บัลกาเรีย, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, ฮังการี, ไอร์แลนด์, อิตาลี, นอร์เวย์, โรมานเนีย, สโลวาเกีย, สเปน และสวีเดน ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ตสูงสุดที่ลำดับสองในประเทศสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2010 Bad Romance ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในสาขาเพลงป็อบหญิงยอดเยี่ยม และมิวสิกวีดีโอเพลงนี้ก็ได้เข้าชิงรางวัลสาขา [35] มิวสิกวีดีโอขนาดสั้นยอดเยี่ยม [36] [37] [38]
เพลงที่สอง Telephone ซึ่งกาก้าได้ร่วมงานกับนักร้องอาร์แอนด์บี บียอนเซ่ โนวลส์ กาก้าร้องเพลง Telephone ครั้งแรกในงานบริทอวอร์ด 2010 ในเวอร์ชันเปียโน และเพลง Dance in the Dark เพื่อไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของอเล็กซานเดอร์ แม็กควีน [39] มิวสิกวีดีโอเพลง Telephone ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในรายการ E!News เมื่อ 11 มีนาคม 2010 1 วันก่อนการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ กาก้ากล่าวว่ามิวสิกวีดีโอนี้เป็นภาคต่อจาก Paparazzi ในรูปแบบภาพยนตร์สั้นเหมือนกัน Telephone ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ว่าเป็นแทร็กที่ดีที่สุดในอัลบั้มนี้ และยังสามารถขึ้นชาร์ตซิงเกิลในหลายประเทศก่อนหน้าที่จะมีการปล่อยเพลงนี้เมื่อ 22 มีนาคม 2010 ซิงเกิล Telephone ครองชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่สองจากอัลบั้มนี้ที่ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งได้ รวมทั้งหมดเป็นครั้งที่ 4 กับอัลบั้มเดิม ซิงเกิลสามารถติดชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 แห่งสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 3 กลายเป็นเพลงที่ 6 ของเลดี้กาก้าที่สามารถขึ้นชาร์ตท็อปเท็นได้ [40] และเป็นเพลงที่ถูกเปิดในรายการวิทยุในอเมริกามากครั้งที่สุดนับตั้งแต่ปีก่อตั้ง 1992 ของนีลสันบีเอสบี ทำลายสถิติของมารายห์ แครีย์และบียอนเซ่ Telephone ยังได้รับเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในสาขาเพลงป็อบ Collaboration ยอดเยี่ยม.[41]
Alejandro ถูกปล่อยเพลงที่สามและเพลงสุดท้าย [42] ในตอนแรก Dance in the Dark ถูกเลือกไว้ให้เป็นเพลงที่จะปล่อยต่อจาก Telephone แต่กาก้ากลับเลือกที่จะปล่อยเพลง Alejandro โดยไม่ปรึกษากับบริษัทต้นสังกัดและเกิดความขัดแย้งระหว่างกาก้ากับต้นสังกัดที่จะปล่อย Alejandro เป็นเพลงสุดท้ายจากอัลบั้มนี้ [43] [44] กาก้าอธิบายสาเหตุที่เลือก Alejandro เพราะเพลงนี้ได้ออกอากาศบนวิทยุแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2010 ในอเมริกา Alejandro ติดชาร์ตซิงเกิลในออสเตรเลีย, แคนาดา 1 ใน 5 ลำดับแรก และติด 10 อันดับแรกในชาร์ตซิงเกิลหลายประเทศ ที่สหรัฐอเมริกา เพลงนี้ขึ้นชาร์ตสูงสุดที่อันดับ 5 และกลายเป็นเพลงที่ 7 แล้วที่สามารถติดชาร์ต 10 อันดับแรกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 [45] [46]
รายชื่อเพลง
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Bad Romance" | RedOne, Lady Gaga | เรดวัน | 4:55 |
2. | "Alejandro" | เรดวัน, เลดี้ กาก้า | เรดวัน | 4:34 |
3. | "Monster" | RedOne, เลดี้ กาก้า, Space Cowboy | RedOne | 4:09 |
4. | "Speechless" | เลดี้ กาก้า | Ron Fair | 4:31 |
5. | "Dance in the Dark" | เลดี้ กาก้า, Fernando Garibay | Garibay | 4:49 |
6. | "Telephone" (featuring Beyoncé) | เลดี้ กาก้า, Rodney Jerkins, LaShawn Daniels, ลาโซเนต แฟรงคลิน, บียอนเซ่ โนวส์ | Jerkins | 3:41 |
7. | "So Happy I Could Die" | เลดี้ กาก้า, เรดวัน, สเปซ คาวบอย | RedOne, เลดี้ กาก้า, สเปซ คาวบอย | 3:55 |
8. | "Teeth" | เลดี้ กาก้า, ทาจา ไรลีย์ | Teddy Riley | 3:41 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
9. | "Bad Romance" (Starsmith Remix) | RedOne, Lady Gaga | Starsmith | 4:56 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
9. | "Bad Romance" (Starsmith Remix) | RedOne, Lady Gaga | Starsmith | 4:56 |
10. | "Telephone" (Passion Pit Remix) (featuring Beyoncé)) | Lady Gaga, Jerkins, Daniels, Franklin, Beyoncé | Passion Pit | 5:13 |
11. | "Paparazzi" (Demolition Crew Remix) (radio edit)) | Lady Gaga, Rob Fusari | Demolition Crew | 3:54 |
12. | "Just Dance" (Deewaan Remix (featuring Ashking, Wedis, Lush and Young Thoro)) | Lady Gaga, RedOne, Aliaune Thiam | Deewaan | 4:17 |
13. | "LoveGame" (Robots to Mars Remix) | Lady Gaga, RedOne | Robots to Mars | 3:14 |
14. | "Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)" (Frankmusik Remix) | Lady Gaga, มาร์ติน เคียร์เซนบาอัม | Frankmusik | 3:48 |
15. | "Poker Face" (live at The Cherrytree House (เวอร์ชันเปียโนและเสียร้อง)) | Lady Gaga, RedOne | คียร์เซนบาอัม | 3:38 |
16. | "Bad Romance" (Grum Remix) | RedOne, Lady Gaga | Grum | 4:51 |
17. | "Telephone" (Alphabeat Remix (featuring Beyoncé)) | Lady Gaga, Jerkins, Daniels, Franklin, Beyoncé | Alphabeat | 5:13 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "Just Dance" | 4:06 |
2. | "Poker Face" | 3:40 |
3. | "Paparazzi" | 7:43 |
4. | "LoveGame" | 3:43 |
5. | "Eh, Eh (Nothing Else I Can Say)" | 3:03 |
6. | "Bad Romance" | 5:14 |
7. | "Telephone" | 9:27 |
ชาร์ตและการดำเนินการ
[แก้]ประวัติการจำหน่าย
[แก้]ประเทศ | วันวางจำหน่าย | รูปแบบ | สังกัด | รุ่น |
---|---|---|---|---|
ญี่ปุ่น | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[69] | ซีดีและดิจิทัลดาวน์โหลด | Universal Music | เดลักซ์ |
อิตาลี | ||||
ออสเตรเลีย | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[71][72][73] | เดลักซ์และจำกัดจำนวน | ||
ชิลี | ปกติและเดลักซ์ | |||
เยอรมนี | ||||
ไอร์แลนด์ | เดลักซ์ | |||
สหรัฐ | 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[74] | Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree | ||
บริเตนใหญ่ | Polydor | |||
แคนาดา | Universal Music | |||
อาร์เจนตินา | ||||
แคนาดา | 1 ธันวาคม ค.ศ. 2009[76] | ปกติ | ||
โคลอมเบีย | 4 ธันวาคม ค.ศ. 2009[77] | |||
สหรัฐ | 15 ธันวาคม ค.ศ. 2009[78] | บ็อกซ์เซต | Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree | ซูเปอร์เดลักซ์ |
แอลพี | ปกติ | |||
ออสเตรเลีย | 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009[79] | ดิจิทัลดาวน์โหลด | Universal Music | ปกติ (ฉบับโจ่งแจ้ง) |
21 ธันวาคม ค.ศ. 2009[80] | ซีดี | |||
สหรัฐ | 26 มกราคม ค.ศ. 2010[81] | ดิจิทัลดาวน์โหลด | Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree | |
จีน | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010[82] | ซีดี | Universal Music | ปกติ |
ญี่ปุ่น | 16 เมษายน ค.ศ. 2010[83] | ซีดีและดีวีดี | Universal Music | ปกติ (ฉบับโจ่งแจ้ง) |
ทั่วโลก | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2010[84] | ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ | Interscope, Streamline, Kon Live, Cherrytree | จำกัดจำนวน (ฉบับโจ่งแจ้ง) |
อิตาลี | 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010[85] | ซีดี | Universal Music | กล่องสอดจำกัดจำนวน |
เยอรมนี | 22 ตุลาคม ค.ศ. 2010[86][87] | ปกติ (ฉบับโจ่งแจ้ง) | ||
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010[88] | ดิจิทัลดาวน์โหลด |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Erlewine, Stephen Thomas (2009-11-25). "Lady Gaga | The Fame Monster". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ 2009-11-25.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Lester, Paul (2009-11-20). "Lady Gaga The Fame Monster Review". BBC. BBC Online. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
- ↑ Christgau, Robert. "Consumer Guide: The Fame Monster". MSN Music. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02. Archived from the original on 2010-03-26.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Price, Simon (2009-11-22). "Album: Lady Gaga, The Fame Monster (Polydor)". The Independent. UK. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
- ↑ Wood, Mikael (2009-11-23). "Album review: Lady Gaga's 'The Fame Monster'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2009-11-24.
- ↑ Patashnik, Ben (2009-12-03). "Album review: Lady Gaga – 'The Fame Monster' (Polydor)". NME. UK: IPC Media.
{{cite web}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help);|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Empire, Kitty (2009-11-22). "Lady Gaga: The Fame Monster". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
- ↑ Plagenhoef, Scott (2009-01-13). "Album review: Lady Gaga – 'The Fame Monster'". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ 2009-01-14.
- ↑ Dolan, Jon (2010-11-23). "The Fame Monster by Lady GaGa". Rolling Stone. Jann Wenner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-19. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Cinquemani, Sal (2009-11-18). "Lady Gaga: The Fame Monster". Slant Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ November 19, 2009. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "slant" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Harding, Cortney (2009-10-01). "Lady Gaga: First Lady". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Press Release (2009-10-08). "Lady Gaga Returns With 8 New Songs on 'The Fame Monster'". Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.
- ↑ Vena, Jocelyn; Calloway, Sway (2009-11-23). "Lady Gaga Gets 'Dark' On The Fame Monster". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-24.
- ↑ Dinh, James (2009-11-10). "Lady Gaga's Fame Monster: New Songs To Be Released On Single CD". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-10.
- ↑ Ditzian, Eric (2009-12-16). "Lady Gaga Explains Real Meaning Of 'Dance In The Dark'". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2009-12-18.
- ↑ Hiatt, Brian (2009-10-21). "Inside The Monster Ball: Lady Gaga Reveals Plans for Ambitious New Tour". Rolling Stone. Jann Wenner. ISSN 0035-791X. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
- ↑ Ditzian, Eric (2009-12-16). "Lady Gaga Explains Real Meaning Of 'Dance In The Dark'". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2009-12-18.
- ↑ Vena, Jocelyn (2010-02-16). "Lady Gaga Pays Tribute To Alexander McQueen At Brit Awards". MTV (MTV Networks). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
- ↑ Kung, Michelle (2009-11-22). "American Music Awards 2009: Adam Lambert, Lady Gaga Dazzle". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
- ↑ 20.0 20.1 Pietrolungo, Silvio (2009-12-02). "Susan Boyle Sees Dream Soar To No. 1 On Billboard 200". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
- ↑ 21.0 21.1 "Billboard Dance/Electronic Albums". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-12-12. สืบค้นเมื่อ 2009-12-04.
- ↑ Grein, Paul (2010-08-12). "Week Ending Nov. 28, 2010: The King and Queen of Hip Hop". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2010-12-01.
- ↑ "Searchable Database – RIAA – Lady Gaga". Recording Industry Association of America. 2010-01-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
- ↑ 24.0 24.1 "Canadian Albums Chart: Week Ending January 20, 2010". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
- ↑ "Lady Gaga – The Fame Monster (album)". Australian Recording Industry Association australian-charts.com. 2010-04-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-12.
- ↑ "ARIA album Chart week of 05/04/2010". Australian Recording Industry Association. 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ 27.00 27.01 27.02 27.03 27.04 27.05 27.06 27.07 27.08 27.09 27.10 27.11 27.12 27.13 27.14 "Lady Gaga – The Fame Monster (album)". Ultratop 50. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2009-12-01.
- ↑ 28.0 28.1 Reporter, MC. "Lady Gaga an der Spitze der Album-Charts". Media Control Charts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-05.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 "Lady Gaga – The Fame positions". The Official Charts Company. ChartStats.com. 2009-11-30. สืบค้นเมื่อ 2009-12-02.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 Sexton, Paul (2010-02-04). "Lady Gaga, Ke$ha Rule Euro Charts". Billboard. Nielsen Business Media, inc. สืบค้นเมื่อ 2010-02-05.
- ↑ "IFPI Platinum Europe Awards – Q4 2010". International Federation of the Phonographic Industry. July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
- ↑ Reporter, RS (2009-09-29). "Lady Gaga Readies New Single for "SNL," "The Fame" Re-Release". Rolling Stone. Jann Wenner. ISSN 0035-791X.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Reporter, RS (2009-10-05). "Lady Gaga Fights Madonna, Debuts "Bad Romance" on "Saturday Night Live"". Rolling Stone. Jann Wenner. ISSN 0035-791X. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "SHOWstudio presents Alexander McQueen S/S10 Live". SHOWstudio.com. 2009-10-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
- ↑ "Chartifacts – Week Commencing: November 30, 2009 Issue #1031" (PDF). ARIA Charts Pandora.nla.gov.au. 2009-11-30. สืบค้นเมื่อ 2009-12-02.
- ↑ Pietroluongo, Silvio (2009-11-05). "DeRulo Tops Hot 100 But Swift Swoops In". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-11-05.
- ↑ "Canadian Hot 100 – Week of November 14, 2009". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-05.
- ↑ http://www.usatoday.com/life/music/awards/grammys/2010-12-01-grammy-nominations-list_N.htm?loc=interstitialskip
- ↑ Vena, Jocelyn (2010-02-16). "Lady Gaga Pays Tribute To Alexander McQueen At Brit Awards". MTV (MTV Networks). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
- ↑ Pietrolungo, Silvio (2010-03-17). "Rihanna's 'Rude Boy' rules Hot 100". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ Trust, Gary (2010-03-15). "Lady Gaga, Beyonce Match Mariah's Record". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ "Lady Gaga – Gaga Still Releasing Alejandro In U.S." contactmusic. 2010-04-05. สืบค้นเมื่อ 2010-04-06.
- ↑ "Lady GaGa Will Release Alejandro As Next Single". MTV (MTV Networks). 2010-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-16.
- ↑ "Future Releases". FMQB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-22. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
- ↑ "Lady Gaga – Alejandro (Song)". Ultratop 50. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2010-05-31.
- ↑ "Billboard – Lady Gaga – Alejandro". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-05-31.
- ↑ "CAPIF – Argentinian Albums Chart". Argentine Chamber of Phonograms and Videograms Producers. 2010-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
- ↑ "CD – TOP 20 Semanal" (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Associação Brasileira dos Produtores de Discos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
- ↑ "Fame Monster – TOP50 Prodejní". International Federation of the Phonographic Industry. TOP50 Prodejní. 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
- ↑ "Ελληνικό Chart (Week 44/2010)". IFPI Greece. November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ November 18, 2010.
- ↑ "Top 40 album – és válogatáslemez – lista". Mahasz (ภาษาฮังการี). Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ 2010-07-08.
- ↑ "Japanese Oricon Top 30 Albums". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
- ↑ "Lady Gaga - The Fame Monster (Album)". Recording Industry Association of New Zealand. Hung Medien. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
- ↑ "Official Retail Sales Chart – OLiS Poland". OLiS. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
- ↑ "Российский чарт 01-2010". 2M-Online (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
- ↑ "ARIA Charts: Year End: Top 100 Albums 2009". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ 2009-12-30.
- ↑ "Album 2009 – Hitlisten.NU". Tracklisten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
- ↑ "Best of 2009: Irish Albums Chart". Irish Recorded Music Association. สืบค้นเมื่อ 2010-02-02.
- ↑ "Årslista Albums – År 2009". Swedish Recording Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
- ↑ "Jaaroverzichten 2010 (Flanders)" (ภาษาดัตช์). Ultratop. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
- ↑ "Ultratop Belgian Charts". Ultratop. Hung Medien. 2010-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
- ↑ "Charts Year End: Canadian Albums Chart". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-12-11. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
- ↑ "Jaaroverzichten 2010" (ภาษาดัตช์). MegaCharts. Hung Medien. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
- ↑ "Charts Year End: European Top 100 Albums". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2010-12-22. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
- ↑ "Myydyimmät levyt - 2010". IFPI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
- ↑ "アルバム 年間ランキング-ORICON STYLE ランキング" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 2010-12-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-20. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
- ↑ "Best of 2010: Top Billboard 200". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
- ↑ "Best of 2010: Top Dance/Electronic Albums". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
- ↑ "The Monster – Lady Gaga". Universal Music. 2009-10-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-30.
- ↑ "The Monster (Deluxe)". iTunes. 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
- ↑ "The Fame Monster". ladygaga.com.au. สืบค้นเมื่อ March 19, 2010.
- ↑ "The Fame Monster: Limited Edition Dual Album CD". ladygaga.com.au. สืบค้นเมื่อ March 19, 2010.
- ↑ "The Fame Monster – Lady GaGa (Mimix Chile)". Mimix.cl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
- ↑ "The Fame Moster 2 Disc". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
- ↑ "THE FAME MONSTER (2CDS)". Musimundo. 2009-11-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-26.
- ↑ "The Fame Monster". HMV Group. สืบค้นเมื่อ 2009-11-22.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Lady Gaga estrenó 'The Fame Moster'". El Espectador. สืบค้นเมื่อ 2010-10-20.
- ↑ "Lady Gaga Releases Brand New Album on November 23". Interscope Records. 2009-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-15.
- ↑ "The Fame Monster Australia". iTunes. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
- ↑ "Lady Gaga – The Fame Monster (CD, Album, Exp) at Discogs". Discogs. สืบค้นเมื่อ 2010-03-17.
- ↑ "The Fame Monster (Explicit)". iTunes. สืบค้นเมื่อ 2010-02-04.
- ↑ "Lady Gaga: The Fame Monster". Amazon.cn. 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
- ↑ "The Fame Monster (Explicit)". Discogs. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
- ↑ "The Fame Monster Limited Edition USB Drive". LadyGaga.com. 2010-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
- ↑ "Italian release of The Fame Monster". IBS.it. 2010-06-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ "Lady Gaga: The Fame Monster (8-Track)". Amazon.cn. 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ "Lady Gaga: The Fame Monster (8-Track)". bravado.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ "Lady Gaga: The Fame Monster mp3". Amazon.de. 2010-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-11-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Fame Monster จาก Metacritic.com
- The Fame Monster เก็บถาวร 2009-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก Ladygaga.com