เศรษฐกิจสงคราม
เศรษฐกิจสงคราม (อังกฤษ: war economy) เป็นกลุ่มการสำรองซึ่งรัฐสมัยใหม่ใช้เพื่อระดมเศรษฐกิจสำหรับการผลิตยามสงคราม มาตรการที่ใช้ เช่น การเพิ่มอัตราเทย์เลอร์ (Taylor rate) ตลอดจนการใช้โครงการจัดสรรทรัพยากร แน่นอนว่าทุกประเทศมีการจัดโครงแบบเศรษฐกิจของตนใหม่ต่างวิธีกัน
หลายรัฐเพิ่มรดับการวางแผนเศรษฐกิจระหว่างสงคราม ในหลายกรณีรวมไปถึงการปันส่วน การเกณฑ์ทหารเพื่อการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เช่น กองทัพบกสตรีและเบวินบอยส์ในสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ระหว่างสถานการณ์สงครามเบ็ดเสร็จ คู่สงครามมักถือสิ่งปลูกสร้างและที่ตั้งบางแห่งเป็นเป้าหมายสำคัญ การปิดล้อมของฝ่ายสหภาพ การเดินทัพสู่ทะเลของพลเอกวิลเลียม เชอร์แมนของฝ่ายสหภาพระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา และการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ซึ่งนครและโรงงานฝ่ายข้าศึกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองล้วนเป็นตัวอย่างของสงครามเบ็ดเสร็จ[1]
ว่าด้วยฝ่ายอุปทานรวม มโนทัศน์เศรษฐกิจสงครามถูกเชื่อมโยงกับมโนทัศน์ "ลัทธิเคนส์ทหาร" (military Keynesianism) ซึ่งงบประมาณทางทหารของรัฐบาลรักษาเสถียรภาพของวัฏจักรและความผันผวนทางธุรกิจ หรือใช้เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือทั้งสองอย่าง
ทางฝ่ายอุปสงค์ มีการสังเกตว่าบางครั้งสงครามมีผลเร่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถึงขนาดที่เศรษฐกิจหนึ่งมีความแข็งแรงมากขึ้นหลังสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสามารถหลบเลี่ยงการทำลายล้างอันเกี่ยวข้องกับสงครามได้ ตัวอย่างเช่น สหรัฐในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ทว่านักเศรษฐศาสตร์บางคนแย้งว่าสภาพสิ้นเปลืองของงบประมาณทางทหารสุดท้ายจะส่งผลเสียต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Durham, Robert B. (2015). Supplying the Enemy: The Modern Arms Industry & the Military–Industrial Complex. Lulu.com. p. 192. ISBN 978-1-329-06755-4.