รายชื่อประเทศเรียงตามการผลิตกาแฟ
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก แหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียง)
รายชื่อแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก
[แก้]- จาเมกา เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก บลู เมาเทน ซึ่งปลูกบนยอดเขาสูง ผลผลิตเกือบทั้งหมดถูกส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และที่เหลืออีกเล็กน้อยถูกส่งไป สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, และเยอรมนี ยี่ห้อที่มีชื่อเสียงคือ ไฮ เมาเทน ซูพรีม (Hign Mountain Supreme) และไพรม์ วอชด์ จาเมกัน (Prime Washed Jamaican)
- บราซิล ผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ของโลก ยี่ห้อมีชื่อคือ บราซิเลี่ยน ซานโตส (Brazillian Santos)
- โคลอมเบีย ผลิตกาแฟเป็นอันดับ 2 ของโลก กาแฟที่มีชื่อคือ ซูเรโม่ (Suremo)
- ฮาวาย กาแฟขึ้นชื่อคือ โคน่า (Kona)
- ประเทศลาว แหล่งปลูกบนที่ราบสูงบ่อละเวน (Bolaven Plateau) เมืองปากซ่อง (Pakxong) แขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งปลูกที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เนื่องจากมีคนเคยนำกาแฟที่ปลูกจากแหล่งนี้ ไปประกวดรสชาติกาแฟในระดับโลก ปรากฏว่ากาแฟที่ส่งเข้าประกวดติด 1 ใน 3 ของกาแฟที่มีรสชาติดีเยี่ยมของโลก โดยเป็นกาแฟสายพันธุ์ อะราบิกา (Arabica) ที่นิยมดื่มกันทั่วโลก
- อินโดนีเซีย
- อินเดีย มีกาแฟรสชาติเฉพาะตัว ชื่อ มอนซูนด์ มาลาบาร์ (Monsooned Malabar)
- เอธิโอเปีย ประชากร 1 ใน 4 ของประเทศมีรายได้จากอุตสาหกรรมกาแฟ กาแฟที่นี่มีลักษณะเฉพาะเนื่องจากมีกาแฟป่าปะปนอยู่ แต่นี่ก็เป็นสาเหตุให้รสชาติมีความไม่แน่นอนสูงด้วยเช่นกัน กาแฟที่มีชื่อเสียงคือ ฮาร์ราร์ลองเบร์รี (Harrar Longberry), ซิดาโม่ (Sidamo) และคาฟฟา (Kaffa)
- เคนยา พิถีพิถันเรื่องคุณภาพมาก กาแฟที่มีคุณภาพที่สุดคือ "เคนยา AA"
- เวียดนาม ส่งออกกาแฟได้เป็นอันดับ 3 ของโลก
การปลูกกาแฟในประเทศไทย
[แก้]สำหรับประเทศไทยปลูกกาแฟโรบัสตาร้อยละ 98 โดยมากปลูกทางภาคใต้ เช่น ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นกาแฟอะแรบิกาซึ่งปลูกมากตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือ กาแฟที่มีชื่อเสียงของไทยได้แก่ กาแฟดอยช้าง ซึ่งปลูกบนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นกาแฟได้จากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับสากล และรสชาติดีเทียบเคียงกับกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก ส่วนแหล่งปลูกอื่นๆ ในภาคเหนือได้แก่ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน, บ้านแม่ตอนหลวง อำเภอดอยสะเก็ด, บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่[1][2][3] และ สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา, บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง, บ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน[4][5][6] เป็นต้น
ผู้ส่งออกหลักเรียงตามประเทศ
[แก้]จากข้อมูลของ World Atlas ผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟหลักในปี 2019 ได้แก่[7]
อันดับ | ประเทศ | ถุง 60 กิโลกรัม | ตัน | ปอนด์ |
---|---|---|---|---|
1 | บราซิล | 44,200,000 | 2,652,000 | 5,714,381,000 |
2 | เวียดนาม | 27,500,000 | 1,650,000 | 3,637,627,000 |
3 | โคลอมเบีย | 13,500,000 | 810,000 | 1,785,744,000 |
4 | อินโดนีเซีย | 11,000,000 | 660,000 | 1,455,050,000 |
5 | เอธิโอเปีย | 6,400,000 | 384,000 | 846,575,000 |
6 | ฮอนดูรัส | 5,800,000 | 348,000 | 767,208,000 |
7 | อินเดีย | 5,800,000 | 348,000 | 767,208,000 |
8 | ยูกันดา | 4,800,000 | 288,000 | 634,931,000 |
9 | เม็กซิโก | 3,900,000 | 234,000 | 515,881,000 |
10 | กัวเตมาลา | 3,400,000 | 204,000 | 449,743,000 |
11 | เปรู | 3,200,000 | 192,000 | 423,287,000 |
12 | นิการากัว | 2,200,000 | 132,000 | 291,010,000 |
13 | จีน(2013–14 est.)[8] | 1,947,000 | 116,820 | 257,544,000 |
14 | โกตดิวัวร์ | 1,800,000 | 108,000 | 238,099,000 |
15 | คอสตาริกา | 1,492,000 | 89,520 | 197,357,000 |
16 | เคนยา | 833,000 | 49,980 | 110,187,000 |
17 | ปาปัวนิวกินี | 800,000 | 48,000 | 105,821,000 |
18 | แทนซาเนีย | 800,000 | 48,000 | 105,821,000 |
19 | เอลซัลวาดอร์ | 762,000 | 45,720 | 100,795,000 |
20 | เอกวาดอร์ | 700,000 | 42,000 | 92,594,000 |
21 | แคเมอรูน | 570,000 | 34,200 | 75,398,000 |
22 | ลาว | 520,000 | 31,200 | 68,784,000 |
23 | มาดากัสการ์ | 520,000 | 31,200 | 68,784,000 |
24 | กาบอง | 500,000 | 30,000 | 66,138,000 |
25 | ไทย | 500,000 | 30,000 | 66,138,000 |
26 | เวเนซุเอลา | 500,000 | 30,000 | 66,138,000 |
27 | สาธารณรัฐโดมินิกัน | 400,000 | 24,000 | 52,910,000 |
28 | เฮติ | 350,000 | 21,000 | 46,297,000 |
29 | สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | 335,000 | 20,100 | 44,312,000 |
30 | รวันดา | 250,000 | 15,000 | 33,069,000 |
31 | บุรุนดี | 200,000 | 12,000 | 26,455,000 |
32 | ฟิลิปปินส์ | 200,000 | 12,000 | 26,455,000 |
33 | โตโก | 200,000 | 12,000 | 26,455,000 |
34 | กินี | 160,000 | 9,600 | 21,164,000 |
35 | เยเมน | 120,000 | 7,200 | 15,873,000 |
36 | คิวบา | 100,000 | 6,000 | 13,227,000 |
37 | ปานามา | 100,000 | 6,000 | 13,227,000 |
38 | โบลิเวีย | 90,000 | 5,400 | 11,904,000 |
39 | ติมอร์-เลสเต | 80,000 | 4,800 | 10,582,000 |
40 | สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | 65,000 | 3,900 | 8,598,000 |
41 | ไนจีเรีย | 40,000 | 2,400 | 5,291,000 |
42 | กานา | 37,000 | 2,220 | 4,894,000 |
43 | เซียร์ราลีโอน | 36,000 | 2,160 | 4,761,000 |
44 | แองโกลา | 35,000 | 2,100 | 4,629,000 |
45 | จาเมกา | 21,000 | 1,260 | 2,777,000 |
46 | ปารากวัย | 20,000 | 1,200 | 2,645,000 |
47 | มาลาวี | 16,000 | 960 | 2,116,000 |
48 | ตรินิแดดและโตเบโก | 12,000 | 720 | 1,587,000 |
49 | ซิมบับเว | 10,000 | 600 | 1,322,000 |
50 | ไลบีเรีย | 6,000 | 360 | 793,000 |
51 | แซมเบีย | 2,000 | 120 | 264,000 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ หอมกลิ่นกาแฟที่บ้านแม่กำปอง
- ↑ "ทุกทิศทั่วไทย : แหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า จ.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
- ↑ "สถานีวิจัยและส่งเสริมกาแฟอราบิก้าแม่หลอด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
- ↑ "กาแฟสวนยาหลวง" ...กาแฟดีที่ท่าวังผา
- ↑ ท่องเที่ยวไทย หยัดยืนบนแผ่นดินผืนนี้ บ้านมณีพฤกษ์
- ↑ กาแฟ (ห้วยโทน) สวมหมวกบนยอดดอย
- ↑ Szenthe, Adriana (May 29, 2019). "Top Coffee Producing Countries". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
- ↑ ICO - Coffee in China