พรรคพลังสังคมใหม่
พรรคพลังสังคมใหม่ (อังกฤษ: PLUNG SUNGKOM MAI) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นครั้งแรก
พรรคพลังสังคมใหม่ | |
---|---|
หัวหน้า | ว่าง |
รองหัวหน้า |
|
เลขาธิการ | อภิภู พีรภูรินท์ |
รองเลขาธิการ |
|
เหรัญญิก | วิชัย รักบิดา |
นายทะเบียนสมาชิก | วรพล เตชะธิ |
โฆษก | พลอยชมพู สุริยันต์ |
ผู้ช่วยนายทะเบียนสมาชิก | ประเวศน์ คำน้อง |
ก่อตั้ง | 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 |
ที่ทำการ | 405 หมู่ 3 ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 |
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 13,410 คน [1] |
อุดมการณ์ | พัฒนาประเทศไทย ใส่ใจประชาชาติ สานศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาสังคมไทย |
กลุ่มระดับชาติ | ประเทศไทย |
สี | สีแดง |
สภาผู้แทนราษฎร | 0 / 495
|
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคพลังสังคมใหม่ ได้มีการประชุมใหญ่จัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมน้ำทองแกรนด์ โรงแรมน้ำทองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน[2] และได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ เป็นผู้ก่อตั้งพรรคและเป็นหัวหน้าพรรค และมีนายจารุพงษ์สกุล จิณะโชฒิกุล เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
ต่อมานายเชาวฤทธิ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุมใหญ่สามัญของพรรคเมื่อวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2564 ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ จากนั้นจึงได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 17 คนพร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายเชาวฤทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 2 ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคตกเป็นของนายสุโท สร้างคำ ส่วนนายจารุพงษ์สกุล อดีตเลขาธิการพรรคขยับขึ้นไปเป็นรองหัวหน้าพรรคลำดับที่ 1[3]
จากนั้นในวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 นายสุโทได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค พร้อมกับนายอนุมัติ ศาสนูปถัมภ์ รองหัวหน้าพรรค[4] ในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 นายวัชรินทร์ ชัยภัทร์ชนก ลาออกจากตำแหน่งโฆษกพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ 8 คนต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเพราะเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามข้อบังคับพรรค[5]
ในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2565 พรรคพลังสังคมใหม่ได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2565 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 17 คน ซึ่งที่ประชุมก็มีมติเลือกนายเชาวฤทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 3 ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคตกเป็นของนายลำโขง ธารธนศักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรค[6] ต่อมานายลำโขงได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อเสาร์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[7] และได้มีการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง 4 คนและเลือกตั้งกรรมการบริหารเพิ่มเติม 1 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายอังกูร ไผ่แก้ว อดีตรองหัวหน้าพรรคและอดีตเลขาธิการพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (พรรคที่เป็นรากฐานของพรรคก้าวไกล) เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[8]
การเลือกตั้ง
แก้พรรคพลังสังคมใหม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกคือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 โดยส่งนายพลพงศ์ พงษ์สุพัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ปรากฎว่าไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคพลังสังคมใหม่ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง
พรรคพลังสังคมใหม่ได้ตอบรับให้การสนับสนนการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล[9] แต่ท้ายที่สุดพรรคก้าวไกลไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ จึงได้เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย[10]
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ สส.บัญชีรายชื่อ ถูกขับออกจากพรรค และในวันถัดมา ได้เข้าสมัครสมาชิกพรรคกล้าธรรม เนื่องจากพรรคเดิมไม่สามารถนำนโยบายพรรคมาปฏิบัติต่อประชาชนได้ มีอุปสรรคในการแก้ปัญหา ส่วนเหตุผลที่เลือกพรรคกล้าธรรม เพราะเป็นพรรคที่ว่างอยู่ และได้พิจารณาแนวทาง นโยบายแล้วเชื่อว่าแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ โดยการเลือกตั้ง สส.รอบหน้า จะส่งผู้สมัครที่ จังหวัดน่าน เขต 1 ด้วย[11]
บุคลากร
แก้รายชื่อหัวหน้าพรรค
แก้ลำดับ | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ | 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (3 ปี 203 วัน) |
พรรคมีมติขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรค |
รายชื่อเลขาธิการพรรค
แก้ลำดับ | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | จารุพงษ์สกุล จิณะโชฒิกุล | 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | |
2 | สุโท สร้างคำ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | [12][13] |
3 | ลำโขง ธารธนศักดิ์ | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | [14] |
4 | อังกูร ไผ่แก้ว | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | "อยู่ในวาระ" | [15] |
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้ผลการเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2566 | 1 / 500
|
175,764 | - | - | ร่วมรัฐบาล | เชาว์ฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ |
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
แก้การเลือกตั้ง | ผู้สมัคร | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2565 | ไกรเดช บุนนาค | 636 | 0.02% | พ่ายแพ้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 (จำนวน 88 พรรคการเมือง)
- ↑ น่านจัดตั้งพรรคพลังสังคมใหม่ เปิดตัวแถลงนโยบายของพรรค ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมให้เป็นธรรม
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ "พลังสังคมใหม่" ตอบรับร่วมรัฐบาล "ก้าวไกล" หวังผลักดันแก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตร
- ↑ พลังสังคมใหม่ ตอบรับร่วมรัฐบาลเพื่อไทย ไม่กังวล “เศรษฐา” ชี้ คุณสมบัติครบ
- ↑ "'2สส.ใหม่' พรรคกล้าธรรม รับให้พรรคเดิมขับออก ก่อนซบ 'กล้าธรรม' แค่วันเดียว". bangkokbiznews. 2024-10-10.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังสังคมใหม่
- ↑ พรรคพลังสังคมใหม่