[go: nahoru, domu]

ข้ามไปเนื้อหา

สายการบินเอทิฮัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายการบินเอทิฮัด
IATA ICAO รหัสเรียก
EY ETD ETIHAD
ก่อตั้งกรกฎาคม ค.ศ. 2003 (21 ปี)
เริ่มดำเนินงานพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (20 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติซายิด
สะสมไมล์เอทิฮัดเกสท์
เอทิฮัดวันคลับ
บริษัทลูกแอร์อาระเบีย อาบูดาบี (51%)
ขนาดฝูงบิน97
จุดหมาย77[1]
บริษัทแม่เอทิฮัดเอวิเอชันกรุ๊ป
สำนักงานใหญ่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เคาะลีฟะฮ์ซิตี อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[2]
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์www.etihad.com

สายการบินเอทิฮัด (อาหรับ: شَرِكَة ٱلْاِتِّحَاد لِلطَّيْرَان, อักษรโรมัน: sharikat al-ittiḥād li-ṭ-ṭayarān; อังกฤษ: Etihad Airways) เป็นสายการบินประจำชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เคาะลีฟะฮ์ซิตี และมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติซายิดในอาบูดาบี สายการบินก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 เริ่มดำเนินงานในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003[3]

เอทิฮัดมีเที่ยวบินมากกว่า 1,200 เที่ยวต่อสัปดาห์ จุดหมายปลายทางมากกว่า 70 แห่ง ในเกือบ 50 ประเทศ กับตัวเครื่องแอร์บัสและโบอิง กว่า 60 ลำ[3] ในปี ค.ศ. 2010 สายการบินรองรับผู้โดยสาร 7.1 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้น 13.1% จากปี ค.ศ. 2009[4] ถึงแม้ว่าจะมีรายได้ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2010 แต่สายการบินก็ไม่เคยมีผลกำไร[4]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

สายการบินเอทิฮัดมีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[5]

ฝูงบิน

[แก้]
แอร์บัส เอ320-200 ของเอทิฮัด
แอร์บัส เอ350-1000 ของเอทิฮัด
แอร์บัส เอ380-800 ของเอทิฮัด
โบอิง 777-300อีอาร์ของเอทิฮัด
โบอิง 787-9 ของเอทิฮัดในลวดลายพิเศษ Choose China

ฝูงบินปัจจุบัน

[แก้]

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 สายการบินเอทิฮัดมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[20]

ฝูงบินของสายการบินเอทิฮัด
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
R F B E รวม
แอร์บัส เอ320-200 14[21] 16 120 136
8 150 158
แอร์บัส เอ321-200 9 8 188 196
แอร์บัส เอ321นีโอ 5[20] 25[22] 16 182 198 หกลำโอนย้ายมาจากแบมบูแอร์เวย์ในปี 2024
8 200 208
215 223
แอร์บัส เอ350-1000 5 15[23] 44 327 371
แอร์บัส เอ380-800 7 2 9 70 405 486 ถูกจัดเก็บอยู่สามลำ
โบอิง 777-300อีอาร์ 9 8 40 280 328
330 370
28 374 402
โบอิง 777-8 8 รอประกาศ
โบอิง 777-9 17[24] รอประกาศ
โบอิง 787-9 33 8[25] 8 28 190 226
28 262 290
32 271 303
โบอิง 787-10 10[20] 20[26] 32 295 327
ฝูงบินของเอทิฮัดคาร์โก
แอร์บัส เอ350เอฟ 7[27] สินค้า
โบอิง 777เอฟ 5 สินค้า
รวม 97 100

สายการบินเอทิฮัดมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8.3 ปี

ฝูงบินในอดีต

[แก้]
แอร์บัส เอ330-200 ของเอทิฮัดในอดีต
โบอิง 747-8เอฟของเอทิฮัดคาร์โกในอดีต

สายการบินเอทิฮัดเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบินในอดีตของสายการบินเอทิฮัด
เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ เครื่องบินทดแทน หมายเหตุ
แอร์บัส เอ300-600อาร์ 1 2006 2008 แอร์บัส เอ330-200
แอร์บัส เอ300-600อาร์เอฟ 2 2005 2010 แอร์บัส เอ330-200เอฟ เช่าจากแอร์แอตแลนตาไอซ์แลนดิก
แอร์บัส เอ310-300เอฟ 1 2006 ไม่มี
แอร์บัส เอ319-100 4 2008 2017
แอร์บัส เอ330-200เอฟ 5 2010 2018 โบอิง 777เอฟ
แอร์บัส เอ330-200 31 2003 2019 โบอิง 787-9
โบอิง 787-10
เริ่มให้บริการโดยเช่าจากตัม
แอร์บัส เอ330-300 6 2009
แอร์บัส เอ340-300 1 2004 2009 None
แอร์บัส เอ340-500 4 2006 2017 แอร์บัส เอ350-1000
โบอิง 777-300อีอาร์
โบอิง 787-9
แอร์บัส เอ340-600 7[28] 2007
โบอิง 747-400อีอาร์เอฟ 1 2015 2017 ไม่มี เช่าจากแอตลาสแอร์
โบอิง 747-8เอฟ 1 2013 2016
โบอิง 767-300อีอาร์ 2 2004 2008 ไม่มี
โบอิง 777-200แอลอาร์ 5 2014 2018 โบอิง 787-9
แอร์บัส เอ350-1000
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11เอฟ 2 2008 2013 โบอิง 777เอฟ เช่าจากเวิลด์แอร์เวย์[29]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

[แก้]

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 สายการบินเอทิฮัดไม่เคยประสบอุบัติภัยร้ายแรงจนมีผู้เสียชีวิต

  • 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007: แอร์บัส เอ340-600 ทะเบียน A6-EHG ซึ่งจะส่งมอบให้กับเอทิฮัด ได้รับความเสียหายอย่างหนักหลังอุบัติเหตุระหว่างการทดสอบภาคพื้นที่ท่าอากาศยานตูลูซ–บลาญักในประเทศฝรั่งเศส โดยในระหว่างการทดสอบเครื่องยนต์ ด้วยความละเลยในการรักษาความปลอดภัยระหว่างทดสอบโดยวิศวกรแอร์บัส ส่งผลให้ไม่มีการวางที่ห้ามล้อไว้ เครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 31 นอต (57 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ก่อนที่จะพุ่งชนเข้ากับกำแพงกันแรงดันไอพ่นคอนกรีต ทั้งเก้าคนที่อยู่บนเครื่องบินได้รับบาดเจ็บ โดยสี่คนได้รับบาดเจ็บสาหัส เครื่องบินได้รับความเสียหายในหลายส่วน โดยทั้งส่วนหาง ปีกขวา และเครื่องยนต์ฝั่งซ้ายนั้นติดอยู่บนกำแพงหรือบนพื้น ในขณะที่ส่วนหัวนั้นหักออกจากลำตัวเครื่องไปอีกฝั่งหนึ่งของกำแพงนั้น เครื่องบินลำดังกล่าวนั้นไม่ได้เข้าประจำการกับเอทิฮัด โดยแอร์บัสได้ชดใช้ค่าเสียหายกับสายการบินในเวลาต่อมา[30]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Etihad Airways on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-09.
  2. "Our offices". etihad.com.
  3. 3.0 3.1 "Etihad Airways In Brief" (PDF). Etihad Airways. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011.
  4. 4.0 4.1 "Etihad Airways' focus on break-even for 2011, profit in 2012". CAPA Centre for Aviation. 21 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011.
  5. "Codeshare partner airlines". Etihad Airways.
  6. "Etihad Airways перейдет из "Домодедово" в "Шереметьево"". InterFax. 8 November 2021.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Etihad_CS_S18
  8. "Etihad adds Batik Air Malaysia codeshare from July 2024". aeroroutes.com. 22 July 2024.
  9. "EGYPTAIR and Etihad Airways sign codeshare partnership".
  10. "Archived copy". MSN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 November 2020.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  11. Maslen, Richard (17 March 2013). "Garuda Indonesia Signs Codeshare with Etihad Airways". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  12. "Etihad / Gulf Air begins codeshare partnership in S19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  13. "ITA Airways sigla accordo code-share con Etihad Airways" [ITA Airways signs a code-share agreement with Etihad Airways]. borsaitaliana.it. 2021-12-07.
  14. "Etihad and Lufthansa strike code-share deal". 16 December 2016.
  15. "Etihad Airways and PIA relaunch codeshare partnership". Etihad Airways. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2023. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
  16. "Etihad / Saudia plans codeshare partnership from late-Oct 2018". Routesonline. 9 October 2018.
  17. "Etihad / SAS resumes codeshare partnership fron Jan 2024". aeroroutes.com. 25 December 2023.
  18. "Etihad signs codesharing deal with French railway". Zawya.com. 6 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 November 2015.
  19. "Etihad / TAP Air Portugal resumes codeshare partnership from mid-Dec 2023". AeroRoutes. 18 December 2023.
  20. 20.0 20.1 20.2 "Our fleet". Etihad Airways. สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
  21. "Etihad Airways Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
  22. Airbus (17 November 2013). "Etihad Airways orders 50 A350 XWB, 36 A320neo and one A330-200F". Airbus. สืบค้นเมื่อ 17 November 2013.
  23. aero.de - "Etihad airways cancels all A350-900s" (German) 14 February 2019
  24. "Boeing Orders & Deliveries". Boeing.com (Press release). Boeing Commercial Airplanes. 31 December 2014. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023.
  25. "Etihad Airways celebrates its first delivery of the 787 Dreamliner". Boeing.com (Press release). Boeing Commercial Airplanes. 31 December 2014. สืบค้นเมื่อ 30 November 2016.
  26. Nick Wenzel (3 November 2018). "Etihad Airways becomes second Boeing 787-10 operator". International Flight Network.
  27. "Etihad Airways scales up its cargo operations with Airbus' new generation A350F freighter" (Press release). Airbus. 3 August 2022.
  28. "Etihad Airways Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-22. สืบค้นเมื่อ 2024-05-23.
  29. "Etihad contracts World Airways for MD-11 freighter service". Flightglobal.com. October 9, 2007.
  30. "Other Airbus A340-642X F-WWCJ, Thursday 15 November 2007". asn.flightsafety.org.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]