[go: nahoru, domu]

รัฐสภาไทย

สภานิติบัญญัติแห่งประเทศไทย

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นองค์กรสำคัญในระบบประชาธิปไตย ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญของประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2564[1] บัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการปกครองโดยใช้ระบบสองสภา โดยทั้งสองสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันแล้วแต่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย
ชุดที่ 26
ตรารัฐสภาไทย
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบวุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหาร
วันมูหะมัดนอร์ มะทา, ประชาชาติ
ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
รองประธานรัฐสภา
(ประธานวุฒิสภา)
มงคล สุระสัจจะ
ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
แพทองธาร ชินวัตร, เพื่อไทย
ตั้งแต่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ, ประชาชน
ตั้งแต่ รอพระบรมราชโองการฯ
โครงสร้าง
สมาชิก700
Senate of Thailand (2024).svg
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
  อิสระ (200)
กลุ่มการเมืองใน
สภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายค้าน
อื่นๆ
  •   ไม่สังกัดพรรค(1)
  •   ว่าง (6)
การเลือกตั้ง
การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียงทางอ้อมด้วยการการเสนอชื่อตนเอง
ระบบคู่ขนาน
แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (400)
แบบบัญชีรายชื่อ (100)
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุด
26 มิถุนายน พ.ศ. 2567
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ที่ประชุม
สัปปายะสภาสถาน
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์
parliament.go.th

สำหรับสถานที่ประชุมนั้นเริ่มจากพระที่นั่งอนันตสมาคม ก่อนย้ายมายังอาคารรัฐสภาไทย (ถนนอู่ทองใน) และสัปปายะสภาสถานตามลำดับ

ในบางช่วงเวลา (โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร) อาจมีการยกเลิกรัฐสภาแล้วให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแทน

องค์ประกอบ

แก้

สภาผู้แทนราษฎร

แก้

สภาผู้แทนราษฎรไทย เป็นสภาล่างของประเทศไทย ประกอบด้วยสมาชิกโดยตรงทั้งหมด 500 คน ได้มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง จำนวน 100 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2564[1] ทั้งนี้ อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

วุฒิสภา

แก้

วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เป็นสภาสูงของรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 วุฒิสภาในวาระเริ่มแรกประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ถวายคำแนะนำ วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี ใช้ห้องประชุมใหญ่พระจันทรา ณ สัปปายะสภาสถาน เป็นที่ประชุม

การเลือกตั้ง

แก้

การเลือกตั้งของประเทศไทย เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศไทย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย วุฒิสภาไทย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา และผู้บริหารท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเลือกบุคคลที่เห็นสมควร

การเลือกตั้งในประเทศไทยจัดขึ้นภายใต้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (Universal suffrage) ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช ต้องไม่อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่เป็นคนสติฟั่นเฟือน[2]

ประธานรัฐสภา

แก้

ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยถือเป็นประธานรัฐสภาไทยโดยตำแหน่ง เมื่อผู้ใดได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็จะถือเป็นประธานรัฐสภาโดยอัตโนมัติ ส่วนประธานวุฒิสภาไทยถือเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง[3][4] ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาคนปัจจุบัน คือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา จาก พรรคประชาชาติ ส่วนประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา คือ มงคล สุระสัจจะ ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2567[5]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2013-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้น 6-7-2554.
  3. Constitution of the Kingdom of Thailand 2007. Chapter 6: National Assembly of Thailand, Part 1: General Provisions
  4. "เลขาสภายืนยัน บัตรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรมีตราเฉพาะปลอมไม่ได้".[ลิงก์เสีย]
  5. "ใบสั่งสีน้ำเงิน "มงคล สุรัจสัจจะ" ประธานวุฒิสภา คนใหม่". Thai PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้